ปลาแมกเคอเรล (อาหาร)![]() ![]()
ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาสำคัญที่บริโภคกันทั่วโลก[1] เพราะมีไขมันสูง ปลาจึงเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ดี[2] เนื้อปลาเสียง่ายโดยเฉพาะในเขตร้อน ซึ่งกินแล้วอาจทำให้อาหารเป็นพิษ (scombroid food poisoning) ดังนั้น จึงควรกินในวันที่จับได้ ยกเว้นแช่เย็นหรือถนอมไว้[3] การถนอมปลาให้สดไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนการอัดปลากระป๋องและการแช่เย็นในคริสต์ทศวรรษที่ 19 การหมักเกลือและการรมควันเป็นวิธีหลักที่ใช้[4] ในประวัติประเทศอังกฤษ ปลาจะไม่ผ่านการถนอมอาหาร แต่จะกินสด ๆ เท่านั้น แต่ปลาเสียก็เป็นเรื่องสามัญ ทำให้มีนักเขียนถึงกับกล่าวไว้ว่า "มีการพูดถึงปลาแมกเคอเรลเหม็นในวรรณกรรมอังกฤษมากกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด"[5] ในประเทศฝรั่งเศส ปลามักจะหมักเกลือ จึงสามารถขายได้ทั่วประเทศ[5] ในประเทศญี่ปุ่น ปลามักจะถนอมด้วยเกลือและน้ำส้มสายชูเพื่อทำซูชิชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซูชิปลาซาบะ เป็นอาหารที่ตามประวัติมาจากจังหวัดเกียวโต เป็นวิธีการแก้ปัญหาขนส่งปลาแมกเคอเรลไปยังเมืองภายในเกาะต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่ถนอมแล้ว จะเป็นปลาไม่สด[6] ถนนที่เชื่อมอ่าวโอบามะกับเกียวโตปัจจุบันเรียกว่า ถนนซาบะ (saba-kaido) ระดับปรอทที่พบในปลาต่างกันมาขึ้อยู่กับสปีชีส์ หรือแม้แต่ในสปีชีส์เดียวกันแต่จับได้ในที่ต่างกัน แต่ก็ดูเหมือนจะสัมพันธ์กับขนาดของปลามากที่สุด เพราะปลาขนาดใหญ่อยู่ในโซ่อาหารระดับสูงกว่า[7] ตามองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) king mackerel (Scomberomorus cavalla) บวกกับปลากระโทงดาบ ฉลาม และปลาในวงศ์ Malacanthidae (tilefish) เป็นปลาที่เด็กและหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีปรอทสูง จึงเสี่ยงภาวะปรอทเป็นพิษ[8][9]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปลาแมกเคอเรล (อาหาร)
|
Portal di Ensiklopedia Dunia