ประวัติศาสตร์รัสเซีย (ค.ศ. 1991–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์รัสเซียสมัยใหม่ เริ่มต้นขึ้นเมื่อสาธารณรัฐรัสเซียแห่งสหภาพโซเวียตเริ่มได้รับความเป็นอิสระทางการเมืองและเศรษฐกิจมากขึ้นท่ามกลางการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปี 1988–1991 โดยประกาศอำนาจอธิปไตยภายในสหภาพในเดือนมิถุนายน 1990 และได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ บอริส เยลต์ซิน ในช่วงหนึ่งปีหลังจากนั้น โดยสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียเป็นสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพโซเวียต แต่ไม่เคยมีความเป็นอิสระอย่างมีนัยสำคัญมาก่อน โดยเป็นสาธารณรัฐโซเวียตเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นของตนเอง รัสเซียโซเวียตเป็นสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดในหมู่สิบห้าสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต โดยมีส่วนแบ่งมากกว่า 60% ของจีดีพีและมากกว่า 50% ของประชากรของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ชาวรัสเซียยังมีอิทธิพลต่อกองทัพโซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์เป็นอย่างมาก ดังนั้น รัสเซียจึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรัฐผู้สืบทอดของสหภาพโซเวียตในเรื่องกิจการทางการทูตระหว่างประเทศ และได้สืบทอดสมาชิกภาพถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เยลต์ซินได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของรัสเซียโซเวียตในเดือนมิถุนายน 1991 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ซึ่งทำให้เขากลายเป็นผู้นำทางการเมืองของรัสเซียซึ่งรัฐผู้สืบทอดของสหภาพโซเวียต แต่สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง และนำไปสู่ความพยายามรัฐประหารในเดือนสิงหาคม 1991 ที่ทหารของโซเวียตพยายามโค่นล้มมีฮาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการรัฐประหารจะล้มเหลวในที่สุด แต่สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นในสหภาพโซเวียต เมื่อสหภาพโซเวียตใกล้จะล่มสลายในเดือนตุลาคม 1991 เยลต์ซินประกาศว่ารัสเซียจะดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยระดับจีดีพีต่อหัวได้กลับไปถึงระดับในปี 1991 ได้ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 หลังจากการลาออกของเยลต์ซินในปี 1999 การเมืองของรัสเซียได้ถูกครอบงำโดยวลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและดำรงตำแหนงนายกรัฐมนตรี เศรษฐกิจของรัสเซียดีขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่รัสเซียอยู่ภายใต้การนำของปูตินหลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยเยลต์ซิน แต่ปูตินยังถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางเรื่องการทุจริต การเป็นผู้นำแบบเผด็จการ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง หนึ่งปีหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต กองทัพรัสเซียได้อยู่ในสภาพที่เกือบยุ่งเหยิงและระส่ำระสาย โดยความสามารถในด้านการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียที่เสื่อมถอยลงนี้ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนในสงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่งในปี 1994 และในระหว่างนั้นได้ก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญต่อความมั่นคงในระดับโลกและการควบคุมอาวุธโดยรัสเซีย โดยพิธีสารลิสบอน ได้กำหนดเอาไว้ว่าประเทศที่เป็นอดีตสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียตจะต้องทำการปลดอาวุธนิวเคลียร์ทำให้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งโดยเฉพาะคาซัคสถาน เนื่องจากเป็นเจ้าภาพเก็บอาวุธนิวเคลียร์จำนวนมากหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต[17] อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นอดีตสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียตยังคงสามารถรักษาความร่วมมือข้ามชาติในด้านการทหาร เช่น ความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านจรวดและอวกาศ เช่น ไบโครนูร์คอสโมโดรม อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia