ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐเกาหลี |
---|
ตราประจำตำแหน่ง |
ธงประจำตำแหน่ง |
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน ยุน ซ็อก-ย็อล ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567) รักษาการ ชเว ซัง-ม็อก ตั้งแต่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567
|
การเรียกขาน | ท่านประธานาธิบดี (ไม่เป็นทางการ) ฯพณฯ (ทางการ) ท่านผู้นำ (การทูตระหว่างประเทศ) |
---|
จวน | ทำเนียบน้ำเงิน |
---|
วาระ | 5 ปี (วาระเดียว) |
---|
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | อี ซึง-มัน |
---|
สถาปนา | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 |
---|
รอง | นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ |
---|
เว็บไซต์ | english.president.go.kr |
---|
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลี: 대한민국 대통령; ฮันจา: 大韓民國 大統領; อาร์อาร์: Daehanmin-guk daetongnyeong) หรือ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ย่อได้ว่า POTROK หรือ POSK (เกาหลี: 대통령) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียง 5 ปี วาระเดียว
ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้คนปัจจุบันคือ ยุน ซ็อก-ย็อล ได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการเข้ารับตำแหน่งอย่างเรียบง่ายและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีและการเมืองภายในประเทศในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี ยุน ซ็อก-ย็อล ออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้ ฮัน ด็อก-ซู รักษาการแทนประธานาธิบดี แต่ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติถอดถอนรักษาการประธานาธิบดี ฮัน ด็อก-ซู ออกจากตำแหน่งเช่นกัน ส่งผลให้ ชเว ซัง-ม็อก จะรักษาการประธานาธิบดีแทนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดี
ในหมวดที่ 4 ของรัฐธรรมนุญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้กล่าวถึงอำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คือ
- สนับสนุนรัฐธรรมนูญ
- ปกป้องอธิปไตยของชาติธำรงค์ความเป็นเอกราชแห่งมาตุภูมิสาธารณรัฐเกาหลี
- รวมชาติเกาหลีด้วยวิธีสันติเพื่อให้เกิดความสงบสุขบนคาบสมุทรเกาหลี
และประธานาธิบดียังมีอำนาจ
- ประกาศสงคราม
- จัดทำประชามติในเรื่องผลประโยชน์ของชาติ
- ออกคำสั่งในทางบริหาร
- มอบเครื่องอิสริยาภรณ์และเหรียญอิสริยาภรณ์ให้กับผู้ที่ทำประโยชน์กับประเทศชาติ
- การอภัยโทษ
- ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและระงับใช้กฎหมายใด ๆ กับประกาศกฎอัยการศึก
หากสภาแห่งชาติประกาศลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี คำสั่งนั้นถือเป็นโมฆะ
รายนามประธานาธิบดีและผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ไทม์ไลน์ของประธานาธิบดี
หมายเหตุ
- ↑ จากวันที่ 26 เมษายน ถึงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ฮอ จ็อง รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงระหว่างที่ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลงภายหลังจากการลาออกของ อี ซึง-มัน และอยู่ในช่วงระหว่างก่อนที่ประธานาธิบดียุน โบ-ซ็อน จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
- ↑ ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โกห์ คุน รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องมาจากการยื่นถอดถอนประธานาธิบดี โน มู-ฮย็อน โดยโนกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีภายหลังการยื่นถอดถอนถูกยกไปตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
- ↑ จากวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ฮวัง คโย-อัน รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องมาจากการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย โดยฮวังรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งประธานาธิบดีมุน แจ-อิน เข้ารับตำแหน่งภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2017
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
| | |
ตัวเอียง หมายถึงผู้รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี |
ผู้นำรัฐและรัฐบาลของเอเชีย |
---|
ประมุขแห่งรัฐ | รัฐสมาชิกสหประชาชาติ และรัฐผู้สังเกตการณ์ | |
---|
รัฐที่ได้รับการยอมรับ แบบจำกัด | |
---|
|
---|
หัวหน้ารัฐบาล | รัฐสมาชิกสหประชาชาติ และรัฐผู้สังเกตการณ์ | |
---|
รัฐที่ได้รับการยอมรับ แบบจำกัด | |
---|
|
---|
ผู้นำสูงสุด | |
---|
1 พื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ในทวีปเอเชีย ขึ้นอยู่กับการจำแนก |