บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี (อินโดนีเซีย : Bacharuddin Jusuf Habibie ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เบ. เจ. ฮาบีบี (B. J. Habibie ) เป็นวิศวกรและนักการเมืองชาวอินโดนีเซียที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 3 ใน ค.ศ. 1998 ถึง 1999 หลังเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 7 น้อยกว่า 3 เดือน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1998 เขาจึงเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังซูฮาร์โต ลาออกจากตำแหน่ง หลังดำรงตำแหน่ง 32 ปี การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาถูกมองว่าเป็นจุดสังเกตและการเปลี่ยนผ่านสู่สมัยปฏิรูป ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเปิดเสรีกฎหมายสื่อและพรรคการเมืองของอินโดนีเซีย หยุดยึดครองติมอร์-เลสเต ซึ่งนำไปสู่เอกราช และจัดกการเลือกตั้งล่วงหน้า 3 ปี ซึ่งทำให้เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 517 วัน และรองประธานาธิบดี 71 วัน ถือเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดของประเทศ
สมัยเป็นประธานาธิบดี ฮาบีบีประสบกับปัญหาหลายประการ ได้แก่
การเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของซูฮาร์โตได้
ฮาบีบีไม่มีฐานการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือ พรรคกลการ์ ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน
มีเรื่องทุจริตอื้อฉาวเกิดขึ้นเกี่ยวกับธนาคารบาหลี ซึ่งมีการกล่าวหาว่าลูกชายของเขามีส่วนเกี่ยวข้อง
เขายังมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องบินในประเทศลำแรกของอินโดนีเซีย ทำให้เขาได้รับฉายา "บิดาแห่งเทคโนโลยี"[ 1]
ชีวิตช่วงต้น
ฮาบีบีมาจากปาเรปาเร จังหวัดซูลาเวซีใต้ เขามีเชื้อสายบูกิซ -โก-รนตาโล -ชวา จากกาบีลาในโก-รนตาโล และยกยาการ์ตา [ 2] อัลวี อับดุล จาลิล ฮาบีบี[ 2] [ 3] เกษตรกร เชื้อสายบูกิซ-โก-รนตาโล[ 4] [ 5] กับ อาร์. อา. ตูตี มารีนี ปุซโปวาร์โดโจ[ 6] หญิงสูงศักดิ์ ชวา จากยกยาการ์ตา [ 7] ทั้งคู่พบกันขณะศึกษาที่โบโกร์ [ 8] ครอบครัวฝั่งพ่อของฮาบีบีมาจากกาบีลาที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองโก-รนตาโล ในซูลาเวซีตอนเหนือ ฮาบีบีเป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คน[ 9] พ่อของงฮาบีบีเสียชีวิตตอนเขาอายุ 14 ปี[ 9]
การศึกษา
ฮาบีบีเดินทางไปศึกษาศึกษาการบินและอวกาศที่ Technische Hogeschool Delft (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ) ในเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เขาต้องศึกษาต่อที่ Technische Hochschule Aachen (มหาวิทยาลัยอาเคิน RWTH ) ในอาเคิน ประเทศเยอรมนี ด้วยเหตุผลทางการเมือง (ข้อพิพาทเวสต์นิวกินี ระหว่างเนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซ๊ย)[ 10]
อาชีพวิศวกร
อาชีพทางการเมือง
ประธานาธิบดี (1998–1999)
1999-2019: หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ขบวนแห่ศพฮาบีบีที่สุสานวีรบุรุษกาลีบาตา ในจาการ์ตา, 12 กันยายน ค.ศ. 2019
หลังสละตำแหน่งประธานาธิบดี ฮาบีบีใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่เยอรมนีมากกว่าอินโดนีเซ๊ย แม้ว่าเขายังคงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ในช่วงนี้ เขาจัดตั้งศูนย์ฮาบีบี (Habibie Centre) คณะทำงานระดับมันสมองอิสระ[ 11]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 เขาเผยแพร่หนังสือชื่อ Detik-Detik Yang Menentukan: Jalan Panjang Indonesia Menuju Demokrasi (ช่วงเวลาชี้ขาด: เส้นทางสู่ประชาธิปไตยอันยาวไกลของอินโดนีเซีย) ที่มีเนื้อหารำลึกถึงเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งทำให้เขาได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี ในหนังสือนี้ เขากล่าวหาแบบมีข้อโต้แย้งว่าพลโท ปราโบโว ซูเบียนโต บุตรเขยซูฮาร์โต (ในเวลานั้น) กับผู้บัญชาการกอสตรัด ว่าวางแผนก่อรัฐประหารต่อเขาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998[ 12]
เสียชีวิต
ในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 เขาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทหารกาตต ซูโบรโต ซึ่งเขาอยู่ระหว่างการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ[ 13] [ 14] เช่น cardiomyopathy [ 15] และเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2019[ 16] [ 17] [ 18] [ 19] [ 20] เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ฝังในสุสานวีรบุรุษกาลีบาตา ถัดจากสุสานภรรยา[ 21]
รัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศไว้ทุกข์ในระดับประเทศเป็นเวลา 3 วันนับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน และลดธงครึ่งเสา[ 22]
ครอบครัว
ฮาบีบีและไอนุนในชุดแต่งงานแบบวัฒนธรรมโก-รนตาโล
ฮาบีบีแต่งงานกับแพทย์ ฮัซรี ไอนุน เบอซารี ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 จนกระทั่งเธอเสียชีวิตในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 งานแต่งงานของทั้งสองจัดขึ้นในแบบวัฒนธรรมชวา และโก-รนตาโล[ 23] ทั้งคู่มีลูกชายสองคน คือ อิลฮัม อักบาร์ ฮาบีบี และ ตาเร็ก เกอมัล ฮาบีบี (Thareq Kemal Habibie)
ยูนุซ เอฟเฟนดี ฮาบีบี น้องชายของเบ. เจ. ฮาบีบี เป็นทูตอินโดนีเซียประจำสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์[ 24] [ 25]
อ้างอิง
↑ "Daftar Julukan 6 Presiden RI, Apa Julukan Jokowi? Halaman all" . 18 April 2022.
↑ 2.0 2.1 Salam, S., 1986. BJ Habibie, Mutiara dari Timur . Intermasa.
↑ Elson, R.E., 2009. The idea of Indonesia. Penerbit Serambi.
↑ Habibie, B.J., 2010. Habibie & Ainun. THC Mandiri.
↑ Ginanjar, Dhimas, บ.ก. (9 November 2019). "Mengenang B.J Habibie: Fokus agar Usil Tetap Genius (1)" . Jawa Pos . Jawa Pos. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022 .
↑ Hendrowinoto, N.K.S. ed., 2004. Ibu Indonesia dalam kenangan. Bank Naskah Gramedia bekerja sama dengan Yayasan Biografi Indonesia.
↑ Noer, G.S., 2015. Rudy: Kisah Masa Muda Sang Visioner. Bentang Pustaka.
↑ Makka, A. Makmur (1999). BJH: Bacharuddin Jusuf Habibie, kisah hidup dan kariernya (ภาษาอินโดนีเซีย). Pustaka CIDESINDO. p. 13. ISBN 9789799064080 .
↑ 9.0 9.1 El Brahimy, Muhammad (2012). Biografi Presiden dan Wakil Presiden RI (ภาษาอินโดนีเซีย). PT Balai Pustaka (Persero). p. 5. ISBN 9789796904150 .
↑ de Jong, Anita (28 May 1998). "Habibie: nauwe band met Delft" . www.delta.tudelft.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2023-03-23 .
↑ Movanita, Ambaranie Nadia Kemala (11 September 2019). Galih, Bayu (บ.ก.). "[OBITUARI] BJ Habibie, "Bapak Pesawat" yang Tak Pernah Tertarik Jadi Presiden" . KOMPAS (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Dariyanto, Erwin (31 July 2017). "Prabowo Dipecat atau Diberhentikan? Ini Cerita BJ Habibie" . detikNews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Movanita, Ambaranie Nadia Kemala; Purnamasari, Deti Mega (11 September 2019). Rastika, Icha (บ.ก.). "BJ Habibie Meninggal Dunia di RSPAD" (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Raharjo, Dwi Bowo; Aranditio, Stephanus (2019-09-08). "BJ Habibie Dirawat di Ruang CICU RSPAD Gatot Soebroto" . suara.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2023-03-23 .
↑ Siyahailatua, Sarah Ervina Dara (12 September 2019). Tarigan, Mitra (บ.ก.). "BJ Habibie Punya Riwayat Kesehatan Lemah Jantung, Apa Itu?" . Tempo (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 12 September 2019 .
↑ Alaidrus, Fadiyah (11 September 2019). Primastika, Widia (บ.ก.). "B.J. Habibie Meninggal Dunia, 11 September Petang Ini" . Tirto.id (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Komara, Indra (11 September 2019). "BJ Habibie Meninggal Dunia" . Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Kotarumalos, Ali (11 September 2019). "Former Indonesian President Habibie Dies at Age 83" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ hermesauto (11 September 2019). "Former Indonesian president Habibie, who described Singapore as a 'little red dot', dies aged 83" . The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ "Indonesia's Habibie, president during transition to democracy, dies" . New Straits Times . Media Prima Group. Reuters. 11 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Prasetia, Andhika (11 September 2019). "BJ Habibie Akan Dimakamkan di Samping Makam Ainun" . Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย).
↑ Faisal, Abdu; Haryati, Sri (11 September 2019). Nasution, Rahmad (บ.ก.). "Government declares three-day mourning for Habibie" . Antara News . สืบค้นเมื่อ 11 September 2019 .
↑ Habibie, B.J., 2010. ''Habibie & Ainun''. THC Mandiri.
↑ "Former First Lady Hasri Ainun Habibie Dies At 72" . Jakarta Globe . 23 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 24 May 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010 .
↑ "Brother of Former President BJ Habibie, Fanny Habibie, Dies at 74" . Antara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 14 April 2012. สืบค้นเมื่อ 18 May 2012 .
บรรณานุกรม
Anwar, Dewi Fortuna (2010). "The Habibie presidency: Catapulting towards reform". In Edward Aspinall and Greg Fealy (eds.). Soeharto's New Order and Its Legacy: Essays in Honour of Harold Crouch . pp. 99–117. online
Bohlken, Anjali Thomas (2016). Democratization from Above: The Logic of Local Democracy in the Developing World (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9781107128873 .
Davidson, Jamie S. (2018). Indonesia: Twenty Years of Democracy . Cambridge University Press.
Ford, Michele (2000). "Continuity and change in Indonesian labour relations in the Habibie interregnum". Asian Journal of Social Science . 28(2): 59–88.
Juwono, Vishnu (2020). "One step forward, two steps back: The retrogression of governance reform and anti-corruption measure in Indonesia 1999–2001". Jurnal Politik . 6(1): 123–148. [1]
O'Rourke, Kevin (2002). Reformasi: The Struggle for Power in Post-Soeharto Indonesia (ภาษาอังกฤษ). Allen & Unwin. ISBN 9781865087542 .
Rice, Robert C. (1998). "The Habibie approach to science, technology and national development". ใน Hill, Hal; Thee, Kian Wie (บ.ก.). Indonesia's Technological Challenge (ภาษาอังกฤษ). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies . pp. 185–198. hdl :1885/266207 . ISBN 981-230-013-9 .
ในภาษาอินโดนีเซีย
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ประชาชน อื่น ๆ