ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)
ท้าววรจันทร บรมธรรมิกภักดี นารีวรคณานุรักษา หรือ เจ้าจอมมารดาวาด มีนามเดิมว่า แมว (11 มกราคม พ.ศ. 2384 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483) มีสมญาการแสดงว่า แมวอิเหนา เป็นนางละครและพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ต้นราชสกุลโสณกุล ประวัติท้าววรจันทรมีนามเดิมว่าแมว เป็นบุตรของสมบุญ งามสมบัติ (มหาดเล็กในรัชกาลที่ 3) กับถ้วย งามสมบัติ (ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน)[1] ญาติได้นำเข้าไปถวายตัวในวังหลวงตั้งแต่วัยเด็ก โดยได้รับการเลี้ยงดูและฝึกละครจากเจ้าจอมนาค ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นป้า[2] ต่อมาเจ้าจอมนาคได้ถวายตัวท้าววรจันทรเข้าไปเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในยามว่างก็ทรงให้ฝึกหัดละครและเป็นศิษย์ของเจ้าจอมมารดาแย้ม[3] เคยรับบทเป็นอิเหนา พระเอกเรื่อง อิเหนา[4] เล่นได้ดีเยี่ยมจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "แมวอิเหนา" ต่อมาจึงได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วาด เมื่อรับราชการฝ่ายใน ท้าววรจันทร์ หรือเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติพระโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ต้นราชสกุลโสณกุล ณ อยุธยา ท่านได้เรียนภาษาอังกฤษกับแอนนา เลียวโนเวนส์ พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอทั้งหลาย และยังปรากฏเรื่องราวของท้าววรจันทร์ในนิพนธ์ น้ำแข็ง ของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ความว่า กงสุลไทยในสิงคโปร์นำน้ำแข็งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ก็ตรัสเรียกพระราชโอรส-ธิดาว่า "ลูกจ๋า ๆ ๆ" ทรงหยิบน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ จากขันทองใส่พระโอษฐ์เจ้านายเล็ก ๆ พระองค์ละก้อนแล้วตรัสว่า "กินน้ำแข็งเสีย" ก่อนจะตรัสสั่งให้โขลนตามเจ้าจอมมารดาวาดมาดูน้ำแข็ง โขลนจึงไปเรียนคุณจอมว่า "มีรับสั่งให้ท่านขึ้นไปดูน้ำแข็งเจ้าค่ะ" เจ้าจอมมารดาวาดจึงถาม "เอ็งว่าอะไรนะ" โขลนตอบ "น้ำแข็งเจ้าค่ะ" เจ้าจอมมารดาวาดจึงร้องว่า "เอ็งนี้ปั้นน้ำเป็นตัว" คำนี้จึงกลายเป็นภาษิตมาแต่นั้น[5] ในขณะที่ ความทรงจำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุว่า "อย่าปั้นน้ำเป็นตัว" เป็นสุภาษิตพระร่วง มีความหมายว่า "ห้ามทำอะไรฝืนธรรมชาติ" หรืออีกนัยหนึ่งว่า "แกล้งปลูกเท็จให้เป็นจริง" เป็นสุภาษิตมาแต่โบราณมิใช่เพิ่งเกิด[6] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาวาดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นท้าววรจันทร เป็นตำแหน่งชั้นสูงของข้าราชการฝ่ายใน หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาได้กล่าวถึงท่านว่า[4]
กล่าวกันว่าท้าววรจันทรมีฝีมือในการปรุงอาหารเป็นเลิศ โดยครั้งหนึ่งท้าววรจันทรได้ถวายสำรับอาหารเป็นน้ำยาไก่และหมูหวานแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในฝีมือของท้าววรจันทรมากโดยเฉพาะหมูหวาน ทรงตรัสยกย่องว่ามีรสชาติราวกับหมูหวานที่เคยเสวยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าพระราชทานธูปและเทียนบูชาฝีมือท้าววรจันทร และทรงประกาศว่าหากใครผัดหมูหวานได้รสเช่นนี้ได้อีก ก็จะพระราชทานน้ำตาลจำนวนสามเท่าลูกฟักเป็นรางวัล[7] นอกจากนี้ท้าววรจันทรยังมีความกตัญญูต่ออาจารย์ ด้วยอุปถัมภ์เจ้าจอมมารดาแย้มซึ่งเป็นครูละครให้ไปอยู่ด้วยกันที่วังปากคลองตลาดเพื่อดูแลอาจารย์ในปัจฉิมวัย หลังเจ้าจอมมารดาแย้มถึงแก่กรรม ท้าววรจันทรก็เป็นธุระจัดแจงพิธีปลงศพให้ และจัดการมอบมรดกมอบให้หลานของเจ้าจอมมารดาแย้มด้วย[8][9] ท้าววรจันทรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (แบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2483) สิริอายุ 99 ปี คดีความพ.ศ. 2449 ท้าววรจันทร์ลงโทษอำแดงเนย เพราะหลบหนีงาน โดยให้บ่าวในกำกับของตนจำนวนสามคน ได้แก่ อำแดงนก อำแดงพลอย และอำแดงผ่อง เฆี่ยนตีอำแดงเนยซึ่งกำลังตั้งครรภ์อาการสาหัสและตายทั้งกลมในเวลาต่อมา กรรมการศาลกระทรวงวังพิพากษา ให้จำคุกท้าววรจันทร์ อำแดงนก อำแดงพลอย และอำแดงผ่อง เป็นเวลาสองปี แต่ท้าววรจันทร์เป็นข้าราชการและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้งดโทษท้าววรจันทร์ แต่เปลี่ยนเป็นปรับละเมิดจตุรคูณตามบรรดาศักดิ์ท้าววรจันทร์ ศักดินา 3,000 ไร่ คิดเป็นเงิน 425 บาท 3 สลึง 500 เบี้ย ต่อมาท้าววรจันทร์ทำหนังสือถึงกระทรวงวัง ปฏิเสธความผิดทั้งหมดแต่ไม่ต้องการอุทธรณ์ เพียงแต่ต้องการให้ปล่อยตัวบ่าวสามคนในฐานะที่ทำตามคำสั่งของท่าน[10] ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. 2443 หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี โสณกุล หลานสาวของท้าวรจันทร์ ถูกอำแดงวง ซึ่งเป็นลูกจ้าง ยื่นฟ้องฐานหม่อมเจ้าประวาศสวัสดีเอาหนังแรดเฆี่ยนตี มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าเป็นแต่ลูกจ้าง ซึ่งจะกดขี่เฆี่ยนตีเช่นนี้ไม่ถูก หม่อมเจ้าหญิงประวาศก็หาฟังไม่…ข้าพเจ้ายื่นฟ้องต่อศาลให้ปรับจำเลยเป็นเงิน 300 บาท 56 อัฐ ถานเฆี่ยนตีข้าพเจ้าโดยผิดกฎหมาย คือ ข้าพเจ้ามิได้เป็นทาษลูกหนี้ของจำเลย" สุดท้ายคดีถูกยกฟ้องตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็ให้แล้วกันไป[11] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia