ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
![]() ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 เป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐม โดยต่อขยายจากถนนพรานนกบริเวณจุดตัดกับแแยกไฟฉาย ไปบรรจบถนนพุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถนนพระเทพ", "ถนนจรัญ-กาญจนา" และ "ถนนพรานนกตัดใหม่" ลักษณะถนนถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 6 ช่องจราจร กันพื้นที่เกาะกลางไว้สำหรับระบบขนส่งมวลชนในอนาคต มีเขตทางกว้าง 60 เมตร แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
ประวัติถนนสายนี้มีแนวคิดในการก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พร้อมกับโครงการถนนพุทธมณฑล และเคยมีการเสนอแนวเส้นทางโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)[1] ต่อมามีการตั้งงบประมาณในสมัยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รอ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา แต่ไม่สามารถผลักดันโครงการได้สำเร็จเพราะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จนกระทั่งสมัยผู้ว่าฯ ดร.พิจิตต รัตตกุล จึงมีการตั้งงบประมาณก่อสร้าง 1,800 ล้านบาท และออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2539-2543) แต่มีปัญหางบประมาณเวนคืน ทำให้ต้องขยายอายุพระราชกฤษฎีกาออกไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2544-2548) และเพิ่มงบประมาณเป็น 2,800 ล้านบาท[2] กระทั่งปี พ.ศ. 2547 ในสมัยผู้ว่าฯ นายสมัคร สุนทรเวช การเวนคืนบริเวณสามแยกไฟฉายจึงเกิดขึ้น ตั้งแต่ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 31 (ซอยมารดานุเคราะห์) จนถึงซอยจรัญสนิทวงศ์ 31/1 และภายในซอยจรัญสนิทวงศ์ 31 ฝั่งทิศเหนือ ทำให้ต้องรื้อย้ายอาคารพาณิชย์ไปหลายคูหา แต่แม้จะมีการประกวดราคาไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2546 ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง และเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้เสนอให้ทางกรุงเทพมหานครทบทวนรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยผู้ว่าฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีการต่ออายุพระราชกฤษฎีกาอีกครั้งหนึ่ง (พ.ศ. 2550-2554)[3] เพราะคณะรัฐมนตรีชะลอโครงการเนื่องจากขาดงบประมาณ ซึ่งทางสำนักโยธา กรุงเทพมหานคร ได้ออกแบบและกำหนดราคาก่อสร้างใหม่ โดยแบ่งการก่อสร้างในช่วงแรกออกเป็น 3 ตอน คือ ช่วงจากถนนพรานนก-ถนนพุทธมณฑล สาย 1, ช่วงถนนพุทธมณฑล สาย 1-ถนนกาญจนาภิเษก และช่วงสะพานข้ามถนนกาญจนาภิเษก ค่าก่อสร้างประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 จะแบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ตอน คือจากถนนวงแหวนรอบนอก-พุทธมณฑล สาย 3 และพุทธมณฑล สาย 3-พุทธมณฑล สาย 4 แต่ยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างช่วงนี้ตอนละไม่เกิน 1,000 ล้านบาท รวม 2 ตอนประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือหากรวมทั้งโครงการทั้งค่าเวนคืนและก่อสร้างคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 10,000 ล้านบาท ความคืบหน้าของโครงการหลังจากที่กรุงเทพมหานครถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เข้าตรวจสอบการฮั้วประมูล 16 โครงการมูลค่า 20,000 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทำให้โครงการก่อสร้างถนนและทางแยกหลายโครงการต้องยกเลิกการประมูลไป ขณะที่โครงการถนนพรานนกตัดใหม่นี้ก็ต้องชะลอไปด้วย[4] และยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูง เฉพาะช่วงแรกมีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างทั่วโลกสูงขึ้นเป็นอย่างมาก [5] โดยได้เปิดให้บริการในระยะแรก (ช่วงแยกไฟฉาย-ถนนกาญจนาภิเษก) เมื่อปี พ.ศ. 2559[6] เปิดให้บริการในระยะที่ 2 (ช่วงถนนกาญจนาภิเษก-ถนนพุทธมณฑล สาย 2) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564[7] และอยู่ระหว่างกำลังดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 3 (ช่วงถนนพุทธมณฑล สาย 2-ถนนพุทธมณฑล สาย 3)[8] และระยะที่ 4 (ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑล สาย4[9]) ซึ่งจะมีการเปิดประมูลในช่วงกลางมีนาคม พ.ศ. 2567[10] รายชื่อทางแยก
ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia