ดุจดั่งอวตาร![]() ดุจดั่งอวตาร (อังกฤษ: Rendezvous with Rama) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 และได้รับรางวัลเนบิวลา ในปี พ.ศ. 2516 และ รางวัลฮิวโกและรางวัลจูปิเตอร์ ในปี พ.ศ. 2517 Rendezvous with Rama กล่าวถึงยานอวกาศลึกลับ รูปทรงกระบอกขนาดความยาว 30 ไมล์ จากอารยธรรมอื่น ที่เดินทางเข้ามาในระบบสุริยะ และถูกสำรวจโดยทีมนักบินอวกาศชาวโลก ซึ่งตั้งชื่อยานลึกลับลำนี้ว่า ราม (RAMA) นวนิยายกล่าวถึงมุมมองของนักสำรวจ ที่พบกับสิ่งที่ไม่เคยพบเห็น และกล่าวถึง "การติดต่อครั้งแรก" (first contact) ระหว่างสองอารยธรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เหตุการณ์ในเรื่อง เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 22 (ค.ศ. 2130) Rendezvous with Rama เป็นนวนิยายเรื่องแรก จาก 4 เรื่อง ในชุด RAMA ของคลาร์ก ซึ่งประกอบด้วย
ต่อมา เจนทรี ลี ยังได้เขียนนวนิยายภาคต่อมาอีก 2 เรื่อง คือ Bright Messengers (1995) และ Double Full Moon Night (1999) Rendezvous with Rama ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย ธนพงษ์ สิงห์ประเสริฐ เมื่อ พ.ศ. 2524 ตีพิมพ์โดย ออบิท ใช้ชื่อไทยว่า ดุจดั่งอวตาร ชื่อภาษาไทยตั้งโดย "บรรยงก์" [1] ตีพิมพ์ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2546 ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2546 มอร์แกน ฟรีแมน นักแสดงชาวอเมริกัน ได้ประกาศว่าจะสร้างภาพยนตร์จากนวนิยายเรื่องนี้ กำกับโดย เดวิด ฟินเชอร์ ภาพยนตร์มีกำหนดฉายในปี พ.ศ. 2552 [2] ต่อมาเดวิด ฟินเชอร์ได้ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2551 ว่ามีแนวโน้มที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ได้สร้าง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของฟรีแมน [3] ส่วนหน้า IMDb ของโครงการภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกถอดออกไป แนวคิดของ "การติดต่อครั้งแรก" ในภาพยนตร์เรื่อง Alien (1979) และ Star Trek: The Motion Picture (1979) ได้รับอิทธิพลมาจากนวนิยายเรื่องนี้ [4] ในปี พ.ศ. 2564 มีการประกาศสร้างภาพยนตร์จากนวนิยายเรื่องนี้อีกครั้ง โดย เดอนี วิลเนิฟว์ รับหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์ ลิขสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ยังอยู่กับเรเวเลชั่น เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของมอร์แกน ฟรีแมน กับ ลอรี แมคเครียรี ซึ่งจะสร้างหนังร่วมกับ อัลคอน เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จะออกทุนสร้างให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ และเคยร่วมงานกับวิลเนิฟมาตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง Prisoners และ Blade Runner 2049 [5] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia