ชาวอันดามัน เป็นคนพื้นเมือง หลายกลุ่มในหมู่เกาะอันดามัน ที่เป็นส่วนหนึ่งในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ดินแดนสหภาพ ของอินเดีย ในบริเวณอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐธรรมนูญอินเดียกำหนดให้ชาวอันดามันเป็นชนเผ่าที่ได้รับการลงทะเบียน (Scheduled Tribe)[ 7] [ 8]
ชาวอันดามันถูกจัดเป็นเนกริโต เพราะมีผิวคล้ำเข้ม และรูปร่างสันทัด ใช้ชีวิตเป็นนักล่าหาของป่า และคาดว่าคงอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวมาหลายพันปี[ 9] มีการเสนอว่าพวกเขาเข้าสู่หมู่เกาะอันดามันเมื่อกว่า 26,000 ปีก่อน[ 10] [ 11]
ชาวอันดามันแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเปิดรับการติดต่อกับอารยธรรมมากกว่า ในขณะที่อีกกลุ่มค่อนข้างเป็นศัตรูและไม่ติดต่อกับโลกภายนอก[ 12]
ชาวอันดามันประกอบไปด้วยชาวอันดามันใหญ่ และชาวจาราวา บนเกาะอันดามันใหญ่ ชาวจังกิล บนเกาะรัตแลนด์ ชาวเอิงเกอ บนเกาะอันดามันน้อย และชาวเซนทิเนล บนเกาะเซนทิเนลเหนือ [ 13] ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อแรกติดต่อกับชาวต่างชาติครั้งแรก พวกเขามีจำนวนประมาณ 7,000 คน แต่ศตวรรษถัดมาพวกเขาลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจากการตายด้วยโรคภัยจากภายนอกและการสูญเสียพื้นที่ล่าสัตว์ ปัจจุบันชาวอันดามันทั้งหมดหลงเหลืออยู่เพียงกว่า 500 คน ชาวจังกิลสูญพันธุ์ มีเพียงชาวจาราวาและเซนทิเนลเท่านั้นที่ยังอยู่รอดอย่างเหนียวแน่นจากการปฏิเสธการติดต่อกับบุคคลภายนอก
ประวัติ
หมายเหตุ
↑ เนื่องจากการอยู่โดดเดี่ยวโดยสิ้นเชิง จึงแทบไม่มีใครรู้จักภาษาเซนติเนลเลย ซึ่งทำให้ภาษานี้ไม่ได้จำแนกประเภท [ 1] [ 2] [ 3] มีบันทึกว่าภาษาจาราวาไม่สามารถเข้าใจร่วมกันกับภาษาเซนติเนล[ 1] [ 4] โดยมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับขอบเขตการทับซ้อนกับภาษาโอเงอ[ 5] หนังสือคู่มือเกี่ยวกับกลุ่มชนเผ่าที่เปราะบางของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย ใน ค.ศ. 2016 พิจารณาให้ภาษาเหล่านี้ไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้[ 6]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Zide, Norman; Pandya, Vishvajit (1989). "A Bibliographical Introduction to Andamanese Linguistics". Journal of the American Oriental Society . 109 (4): 639–651. doi :10.2307/604090 . JSTOR 604090 .
↑ Moseley, Christopher (2007). Encyclopedia of the World's Endangered Languages (ภาษาอังกฤษ). Routledge . p. 342. ISBN 978-0-7007-1197-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019 .
↑ "Chapter 8: The Tribes" . 5 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 May 2013. สืบค้นเมื่อ 5 December 2018 .
↑ Enumeration of Primitive Tribes in A&N Islands: A Challenge (PDF) (Report). เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2014. The first batch could identify 31 Sentinelese. The second batch could count altogether 39 Sentinelese consisting of male and female adults, children and infants. During both the contacts the enumeration team tried to communicate with them through some Jarawa words and gestures, but, Sentinelese could not understand those verbal words.
↑ There Pandit, T. N. (1990). The Sentinelese . Kolkata: Seagull Books. pp. 21 –22. ISBN 978-81-7046-081-7 . OCLC 24438323 .
↑ "North Sentinel" . The Bay of Bengal Pilot . Admiralty. London: United Kingdom Hydrographic Office . 1887. p. 257. OCLC 557988334 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2019 .
↑ "List of notified Scheduled Tribes" (PDF) . Census India. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 7 November 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
↑ Joseph T (22 December 2018). "Getting to know the Andamanese" . www.livemint.com .
↑ Mondal M, Bergström A, Xue Y, Calafell F, Laayouni H, Casals F, และคณะ (May 2017). "Y-chromosomal sequences of diverse Indian populations and the ancestry of the Andamanese". Human Genetics . 136 (5): 499–510. doi :10.1007/s00439-017-1800-0 . hdl :10230/34399 . PMID 28444560 . S2CID 3725426 .
↑ Chaubey G (2015). "East Asian Ancestry in India" (PDF) . Indian Journal of Physical Anthropology and Human Genetics . 34 (2): 193–199.
↑ Maina, Vinod (1 December 2015). "Antidiabetic Plants Used by the Tribes and Settlers of Andaman & Nicobar Islands, India" . Nelumbo . 57 . doi :10.20324/nelumbo/v57/2015/87100 . ISSN 0976-5069 .
↑ "Sentinel island: When British toyed with idea to unleash Gurkhas on Sentinelese" . The Times of India . 29 November 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น