ภาษาเซนทิเนล (อังกฤษ : Sentinelese ) เป็นภาษาที่สันนิษฐานกันว่าเป็นภาษาของชาวเซนทิเนล แห่งเกาะเซนทิเนลเหนือ ในหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากการขาดการติดต่อระหว่างชาวเซนทิเนลกับส่วนที่เหลือของโลกเป็นเวลาอย่างน้อยสามศตวรรษ เราจึงไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาของพวกเขาเลย[ 4] และไม่มีทางที่เราจะทราบสถานะของภาษานี้ เนื่องจากชาวเกาะไม่อนุญาตให้คนภายนอกขึ้นเกาะ โดยแสดงความเป็นปฏิปักษ์อย่างยิ่งต่อผู้ที่พยายามจะเข้าไป[ 5] การโต้ตอบกันอย่างเป็นมิตรมีน้อยมาก[ 6] [ 7]
การจำแนกประเภท
สันนิษฐานกันว่าชาวเซนทิเนลใช้ภาษาเพียงภาษาเดียว และภาษานั้นเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาอันดามัน [ 4] เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่มีไม่มากนักในแง่ความใกล้เคียงด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีรวมทั้งความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับเกาะอื่น ๆ คาดว่าภาษาของพวกเขาน่าจะใกล้ชิดกับภาษากลุ่มเอิงเกอ (Ongan) มากกว่าภาษากลุ่มอันดามันใหญ่ (Great Andamanese)[ 3] ในเอกสารที่บันทึกการพาผู้พูดภาษาเอิงเกอ ไปยังเกาะเซนทิเนลเหนือ เพื่อสื่อสารกับชาวเกาะ ปรากฏว่าพวกเขาไม่สามารถรู้จำภาษาที่ชาวเกาะใช้[ 8] มีการบันทึกว่าภาษาจาราวากับเซนทิเนลไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้[ 9]
สถานะ
ภาษาเซนทิเนลจัดเป็นภาษาใกล้สูญ เนื่องจากมีผู้พูดน้อย แม้ยังไม่ทราบจำนวนผู้พูดที่แน่นอน แต่ประมาณกันว่าอยู่ระหว่าง 100 ถึง 250 คน[ 1] [ 2] รายงานการวิจัยของรัฐบาลอินเดีย ได้ประมาณอย่างคร่าวไว้ว่าผู้พูดภาษานี้มีจำนวน 100 คน[ 10]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Brenzinger, Matthias (2007). Language diversity endangered . Walter de Gruyter. p. 40. doi :10.1515/9783110197129 . ISBN 978-3-11-017049-8 .
↑ 2.0 2.1 Moseley, Christopher (2007). Encyclopedia of the world's endangered languages . Routledge. pp. 289, 342. ISBN 978-0-7007-1197-0 .
↑ 3.0 3.1 ภาษาเซนทิเนล ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)
↑ 4.0 4.1 "The most isolated tribe in the world?" . Survival International . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07 .
↑ Van Driem, G. (2007). "Endangered Languages of South Asia". Handbook of Endangered Languages . Berlin: Mouton de Gruyter. pp. 303–341.
↑ "When the Sentinelese shun bows and arrows to welcome outsiders" . Economic Times . December 3, 2018.
↑ "When the Sentinelese shun bows and arrows to welcome outsiders" . The Times of India . 2018-12-03. ISSN 0971-8257 . สืบค้นเมื่อ 2024-09-07 .
↑ Pandya, Vishvajit (2008). In the Forest: Visual and Material Worlds of Andamanese History (1858–2006) . University Press of America. p. 362. ISBN 978-0-7618-4153-1 .
↑ Enumeration of Primitive Tribes in A&N Islands: A Challenge (PDF) (Report). เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2014. The first batch could identify 31 Sentinelese. The second batch could count altogether 39 Sentinelese consisting of male and female adults, children and infants. During both the contacts the enumeration team tried to communicate with them through some Jarawa words and gestures, but, Sentinelese could not understand those verbal words.
↑ Abbi, Anvita (2006). "Endangered Languages of the Andaman Islands". LINCOM Studies in Asian Linguistics . München: Lincom. 64 .