ชั่นเหว่ย์
ชั่นเหว่ย์ (จีน: 汕尾) หรือ ซัวบ้วย เป็นนครระดับจังหวัดทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับเจียหยาง ทิศเหนือติดกับเหมย์โจวและเหอยฺเหวียน ทิศตะวันตกติดกับฮุ่ยโจว และทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากเชินเจิ้นไปทางตะวันออกประมาณ 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) คนในท้องถิ่นชั่นเหว่ย์พูดภาษาถิ่นไห่เฟิง ประวัติศาสตร์นครชั่นเหว่ย์ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 ในสมัยก่อนชั่นเหว่ย์ถูกปกครองเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮุ่ยโจว (惠州府) โดยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ชั่นเหว่ย์ได้แยกเป็นจังหวัดออกจากฮุ่ยโจวในช่วงยุคชาตินิยม ชาติพันธุ์เด่นในชั่นเหว่ย์คือ ชาวฮกโล่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามา เป็นผลมาจากการลดลงอย่างมากของประชากรที่เกิดจากการทำสงครามในราชวงศ์ชิงตอนต้นในบริเวณที่ในปัจจุบันคือชั่นเหว่ย์ เขตการปกครองจังหวัดชั่นเหว่ย์แบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอจำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย 1 เขต, 1 นครระดับอำเภอ และ 2 อำเภอ
เขตการปกครองระดับอำเภอแบ่งย่อยออกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลจำนวน 53 แห่ง ประกอบด้วย 40 เมือง, 10 ตำบล และ 3 แขวง การขนส่ง![]() เหตุการณ์ยุคปัจจุบันในคืนวันที่ 6 ธันวาคม 2005 มีการประท้วงเกิดขึ้นผลจากการยึดที่ดินของรัฐบาล เพื่อให้การประท้วงสงบลง จึงได้มีการส่งตำรวจติดอาวุธไปยังหมู่บ้านตงโจว หลังจากที่ชาวบ้านหัวรุนแรงทำการโจมตีตำรวจที่ไม่มีอาวุธ[1][2] มีรายงานจากรัฐบาลจีนว่า มีผู้พบผู้เสียชีวิต 3 รายหลังจากการประท้วง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยโดยสื่อว่าอาจมีผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 20 ถึง 40 ราย[3] ในปี 2011 การประท้วงในหมู่บ้านอูข่าน (ตั้งอยู่ในนครระดับอำเภอลู่เฟิงของชั่นเหว่ย์ ริมอ่าวเจี๋ยฉือ ห่างจากตัวเมืองชั่นเหว่ย์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์)) ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลก ภาษาคนในพื้นที่โดยทั่วไปจะใช้ภาษาถิ่นไห่เฟิง ซึ่งคล้ายกับภาษาถิ่นเฉาโจว และภาษาถิ่นฮกโล่ ซึ่งจัดอยู่ในภาษาหมิ่นใต้ในกลุ่มภาษาจีนหมิ่น โดยพื้นฐานแล้วทั้งอำเภอไห่เฟิง นครลู่เฟิง และเขตในเมืองจะพูดสำเนียงเดียวกัน ส่วนใหญ่ของพื้นที่ชนบทอำเภอลู่เหอซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลู่เฟิง ใช้ภาษาจีนแคะซึ่งจัดอยู่ในภาษาถิ่นย่อยซินฮุ่ยในภาษาถิ่นเยว่ไถ เนื่องจากชั่นเหว่ย์อยู่ใกล้กับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ลและฮ่องกง รวมทั้งผลกระทบของรายการโทรทัศน์จากฮ่องกง และการเคลื่อนย้ายของประชากรในมณฑลกวางตุ้ง ทำให้ผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นหลังมีทักษะการสื่อสารภาษากวางตุ้ง อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ชั่นเหว่ย์
|
Portal di Ensiklopedia Dunia