จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561
จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้จุดปลายระยะทางวงโคจร เมื่อวันที่ 30 มกราคม จึงเรียกได้ว่า "ซูเปอร์มูน" โดยซูเปอร์มูนครั้งก่อน เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[1] นอกจากนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังเรียกว่าบลูมูน ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 นอกจากนั้น ยังได้รับการกล่าวถึงในสื่อมวลชนว่า "ซูเปอร์บลูบลัดมูน" (Super Blue Blood Moon)คำว่า "บลัด (blood)" มีนัยยะสื่อถึงสีแดงดั่งโลหิตของดวงจันทร์ระหว่างปรากฎการณ์จันทรุปราคา[2] ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อวันที 30 ธันวาคม พ.ศ. 2409 สำหรับซีกโลกตะวันออก[a] และก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2409[3][4] ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2580 ในอีกหนึ่งรอบวัฏจักรเมตอน (19 ปี) ภูมิหลังจันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อพระจันทร์เคลื่อนตัวผ่านระหว่างเงาของโลก เริ่มด้วยการที่เงาของโลกทำให้พระจันทร์มีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย ต่อมาเงาเริ่ม "บดบัง" ส่วนของดวงจันทร์ทำให้เกิดสีแดง-น้ำตาล (สีมักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นบรรยากาศ พระจันทร์ดูเหมือนมีสีแดงเพราะการกระเจิงแบบเรเลห์ (Rayleigh scattering) ซึ่งเป็นปรากฏการเดียวกันกับที่ทำให้เกิดสีแดงขณะพระอาทิตย์ตกดิน และการหักเหของแสงนั้นโดยชั้นบรรยากาศโลกไปยังเงา[5] การจำลองต่อไปนี้แสดงถึงลักษณะคร่าว ๆ ของดวงจันทร์ขณะผ่านเงาของโลก ส่วนเหนือของดวงจันทร์ใกล้กับตรงกลางของเงามากที่สุด จึงเป็นจุดที่มีสีเข้มและแดงที่สุด ![]() "ซูเปอร์บลูบลัดมูน"ปรากฎการณ์นี้เป็น "ซูเปอร์มูน" (Super Moon) ด้วยความที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากโลกในวงโคจรทำให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น 7% หรือมีพื้นที่ใหญ่ขึ้น 14% เมื่อเทียบกับขนาดเฉลี่ยของดวงจันทร์ จันทรุปราคาซูเปอร์มูนครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[1] พระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน (ในเขตเวลาส่วนใหญ่) ทำให้เรียกได้ว่าเป็น "บลูมูน" นอกจากนี้ด้วยความที่มีสีส้มหรือสีแดง "เลือด" ระหว่างที่เกิดจันทรุปราคา สื่อจึงมักเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "ซูเปอร์บลูบลัดมูน" ภาพรวมการมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกหันเข้าหาดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคา เอเชียกลางและตะวันออก (รวมถึงส่วนใหญ่ของไซบีเรีย, ฟิลิปินส์, อินโดนีเซีย, นิวซีแลนด์ และส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย มองเห็นดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจนในท้องฟ้ายามค่ำ สำหรับเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก จันทรุปราคาเกิดขึ้นขณะพระจันทร์กำลังขึ้น[6] เวลา![]()
ภาพถ่าย![]() เต็มดวงหรือเกือบเต็มดวง
ภาพ montage
บางส่วน อุปราคาที่เกี่ยวข้องชุดปีจันทรคติ
ชุดซารอสอุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดซารอสที่ 124 ดูเพิ่มเชิงอรรถ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia