การเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า![]() การแจ้งเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า (ญี่ปุ่น: 緊急地震速報; โรมาจิ: Kinkyū Jishin Sokuhō; ทับศัพท์: คินคีว จิชิน โซะคุโฮ) เป็นคำเตือนภัยที่ออกมาหลังจากตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น[2] คำเตือนส่วนใหญ่จะประกาศโดย สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และทางหน่วยงานก็จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองต่อการประกาศเตือนภัย[3][4] การแนะนำสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะมีรูปแบบการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าอยู่สองแบบ หนึ่งคือสำหรับผู้ใช้ชั้นสูง และอีกส่วนคือสำหรับประชาชนทั่วไป[8] เมื่อมีการตรวจพบคลื่นปฐมภูมิโดยเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวสองหรือมากกว่านั้นจาก 4,235 เครื่องที่ติดตั้งอยู่ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553) โดย JMA จะวิเคราะห์และคาดการณ์พื้นที่โดยคร่าว ๆ ของจุดที่สำคัญ และเตือนประชาชนในจังหวัดที่ถูกคาดการณ์ว่าจะประสบภัยแผ่นดินไหวผ่านทางสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ[8] การแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า (เตือนภัย) (ญี่ปุ่น: 緊急地震速報(警報)) จะประกาศให้แก่ประชาชนทั่วไปทราบ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อมีขนาดตามมาตราของญี่ปุ่น ขนาด 5-ต่ำ หรือมากกว่านั้น[9] ส่วนการเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า (คาดการณ์) (ญี่ปุ่น: 緊急地震速報(予報)) จะประกาศให้แก่ประชาชนทั่วไปทราบ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อมีขนาดตามมาตราวัดของญี่ปุ่น ขนาด 3 แมกนิจูด 3.5 แมกนิจูด หรือมากกว่า หรือก็คือมากกว่า 100 แกล (gal) ที่ตรวจพบในความกว้างของคลื่นปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ[9] ระยะเวลาของการเตือนภัยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่จะสามารถประกาศได้ หลังจากได้รับการแจ้งเตือนแล้ว ประชาชนทั่วไปอาจมีเวลาเพียงไม่กี่วินาทีหรืออย่างในบางกรณีที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติตน แต่ถ้าจุดศูนย์กลางอยู่ใกล้มาก อาจจะมีการสั่นสะเทือนก่อนการเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า[10] การเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าจะมีการประกาศขึ้นเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหว เช่น การประกาศให้ป้องกันตนเองอยู่ภายในบ้าน หรือ การประกาศให้อพยพจากพื้นที่เสี่ยงก่อนที่แผ่นดินไหวจะมาถึง ผู้ที่ทำงานบนรถไฟอาจใช้คำเตือนนี้เพื่อชะลอความเร็วของรถไฟลง และคนงานในโรงงานอาจใช้คำเตือนนี้เพื่อนหยุดสายการผลิตก่อนเกิดแผ่นดินไหว[2] หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ระบบเตือนภัยล่วงหน้า และระบบเตือนคลื่นสึนามิของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพได้รับการวิเคราะห์โดย ดร. ชัยเลสฮ์ นายาก (Shailesh Nayak) นักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดีย ผู้ที่ช่วยพัฒนาระบบการเตือนภัยของอินเดีย[11] แม้ว่าผลที่ตามมาจากสึนามินั้นจะคร่าชีวิตผู้คนกว่า 10,000 คน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เลขานุการอนุกรรมการโทรคมนาคมชิลี (Chilean Sub Secretary of Telecommunications) จะเปิดเผยการดำเนินงานการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า ซึ่งคล้ายกับระบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นผ่าน ISDB-T[ต้องการอ้างอิง] ระดับการความแม่นยำJMA ประกาศในการเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า (EEW) ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 อัตราความแม่นยำที่กำหนดไว้เป็นตามมาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 震度; โรมาจิ: Shindo; ทับศัพท์: ชินโดะ) จำนวนคำเตือนออกมาทันทีหลังจากพบคลื่นปฐมภูมิ ตรวจพบเป็นการตกหรือตีภายในบวกลบจำนวน 1 แมกนิจูก-ชินโดะ ช่วง 0 ถึง 7 ในสิบส่วนได้จากการวัดจริงเพียงจุดเดียว[12]
ปีงบประมาณ 2550 ถึง 2552 มีการบันทึกสูงสุดที่ 75% ต่อมาในปีงบประมาณ 2553 มีการลดลงไปอยู่ที่ 28% สืบเนื่องจากแผ่นดินไหวตามหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนเกือนสิ้นปีงบประมาณ 2553 โดยวันที่ 11 มีนาคม 2554 ระดับความแม่นยำเพิ่มเป็น 72% จนถึง 10 มีนาคม 2554 ในปีงบประมาณ 2553 ต่อมาระดับความแม่นยำได้ลดลงไปอยู่ที่ 28% จาก 72% เนี่องมาจากแผ่นดินไหวใหญ่เพียงครั้งเดียว จากนั้นได้มีการปรับปรุงให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเว้นต่อแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กเพื่อเพิ่มระดับความแม่นยำให้สูงขึ้น จนในปีงบประมาณ 2554 ระดับความแม่นยำก็ได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 56% JMA มุ่งมั่นที่จะเพิ่มระดับความแม่นยำให้ดีกว่า 85% ในปีงบประมาณ 2558 รูปแบบของการถ่ายทอดโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค และช่องอื่น ๆ ที่ออกอากาศอยู่ในญี่ปุ่น[13][14][15][16] (ทีวีระบบอะนาล็อก และ ISDB-T รวมถึง วันเซ็ก (1seg)) จะประกาศแจ้งเตือนด้วยกรอบข้อมูลบนหน้าจอ จะแสดงศูนย์กลางแผ่นดินไหว และพื้นที่ หรือภูมิภาคที่เสี่ยงภัยจากแรงสั่นสะเทือน ในขณะเดียวกันจะมีชุดเสียงกังวาลดังสองครั้ง จากนั้นจะเป็นเสียงที่อัดไว้ล่วงหน้าในภาษาญี่ปุ่น:
ในกรณีที่คาดการณ์ว่าขนาดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวตั้งแต่ 5 แมกนิจูดขึ้นไป จะมีการแสดงกล่องข้อความปรากฏเหนือหน้าจอ 緊急地震速報 (การประกาศแผ่นดินไหวล่วงหน้าฉุกเฉิน)[17][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] อีกทั้งยังแสดงกรอบข้อมูลแผนภาพจังหวัดที่ได้รับคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งจะแทนด้วย สีเหลือง สำหรับสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค สถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮี และสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียว หรือ สีแดง สำหรับสถานีโทรทัศน์ฟูจิ สถานีโทรทัศน์นิปปอนทีวี และ สถานีโทรทัศน์ทีบีเอส[18] การแจ้งเตือนยังแจ้งให้ผู้รับชมทราบว่า จะมีความเสี่ยงของดินถล่ม หรือคลื่นสึนามิซึ่งเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่ได้รับการแจ้งเตือนภัยอีกด้วยหรือไม่ในระหว่างแผ่นดินไหวกำลังเกิดขึ้น หรือหลังจากแผ่นดินไหวได้สิ้นสุดลงแล้ว สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคจะดึงสัญญาณภาพจากโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในบริเวณของเขตประสบภัยแผ่นดินไหว และถ้าหากไม่มีการประกาศเตือนคลื่นสึนามิก็จะแสดงข้อความปรากฏบนหน้าจอเช่น 津波の心配なし (ไม่มีคลื่นสึนามิที่ต้องกังวล) 潮位変化あっても津波被害の心配なし (แม้ว่าจะมีการผันแปรของระดับน้ำขึ้น-ลง แต่จะไม่เกิดความเสียหายใด ๆ จากคลื่นสึนามิ) หรือ "ญี่ปุ่น: この地震による津波の心配はありません。, "ไม่มีคลื่นสึนามิที่ต้องกังวลจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้""[18][19] ในเกือบทุก ๆ กรณีก็มักจะมีแถลงการณ์จากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือเจ้าหน้าที่จากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อชี้แจงถึงข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น[19] ในสถานการณ์ที่ต้องประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิ ระบบการออกอากาศภัยพิบัติฉุกเฉินจะดึงช่องสัญญาณโดยอัตโนมัติ และจะให้ระบบเตือนภัยทั้งหมดปรับไปที่สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคตลอดเวลาจนกว่าการประกาศเตือนภัยจะสิ้นสุดลง และเพื่อให้ได้รับคำเตือนที่ถูกต้อง จึงมีการออกอากาศคำเตือนในภาษาต่างประเทศอีก 5 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี และภาษาโปรตุเกส (มีประชากรส่วนน้อยของญี่ปุ่นที่พูดภาษานี้)[20] ถึงแม้แผ่นดินไหว และ/หรือคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนั้นผ่านไปนานแล้ว สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคยังคงประกาศข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติอยู่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังย่อขนาดหน้าจอหลักลง และแสดงแถบข้อมูลข่าว โดยแบ่งลักษณะข้อมูลดังนี้ 被害 (ความเสียหาย) 最新情報 (ข้อมูลใหม่) 停電 (ไฟดับ) 生活影響 (ผลกระทบต่อการใช้ชีวิต) และ 交通影響 (ผลกระทบต่อการจราจร) นอกจากนี้ยังมีรหัสคิวอาร์อีกด้วย[19] เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่น เช่น เอ็นทีที โดโคโม เอยู และซอฟต์แบงค์ โมบายล์ ได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับระบบการออกอากาศพร้อมกับ EEW ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550[21][22][23] ซึ่งมีผลบังคับใช้กับโทรศัพท์ระบบ 3G ที่ถูกวางจำหน่ายหลังปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาจะได้รับบริการนี้ ถึงแม้ว่าผู้ให้บริการในต่างประเทศจะไม่รองรับบริการด้านนี้ แต่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ทางบริษัทแอปเปิ้ลได้ประกาศว่า ระบบปฏิบัติการ "ไอโอเอส 5" ของ ไอโฟน จะให้การสนับสนุนการเตือนภัยในด้านนี้[24] เครื่องรับวิทยุจะมีการใช้โทนเสียงเฉพาะ โดยวิทยุที่มีตัวรับสัญญาณ EEW จะรับเสียงมีสัญญาณกังวาลจากสถานีเอฟเอ็ม ซึ่งจะกระตุ้นให้เปิดวิทยุในโหมดหลับโดยอัตโนมัติ เสียงกังวาล และข้อความจะถูกส่งไปเพื่อให้ผู้คนระวังตัวหรือตื่นก่อนคลื่นทุติยภูมิจะมาถึง ไม่นานหลังจากที่วิเคราะห์คลื่นทุติยภูมิสำเร็จ จึงจะแจ้งข้อมูล และละเอียดของแผ่นดินไหว เช่น ขนาดของแผ่นดินไหว และเมืองที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เครื่องมือเตือนภัย
สถานีกับระบบ EEW
เคเบิลทีวีสถานีเคเบิลของญี่ปุ่นให้บริการ EEW ในราคาที่ไม่แพงนัก เช่น เจแปน เคเบิลเน็ต (Japan Cablenet) ให้ผู้ใช้บริการเช่าเครื่องแจ้งแผ่นดินไหวตามมาตราชินโดะโดยมีเวลาประมาณ 0-5 วินาทีในการเตรียมตัว[31][32] สถานีโทรทัศน์ผ่านเคเบิลบางสถานียังออกอากาศ EEW ผ่านวิทยุชุมชน และจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับจังหวัด และเทศบาลได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อินเทอร์เน็ตWeathernews Inc. เริ่มให้บริการโดยคิดค่าใช้จ่ายสำหรับการเตือน EEW สำหรับผู้ใช้ขั้นสูง ซึ่งเตือนภัยได้ใน 10 วินาทีสุดท้ายก่อนแผ่นดินไหวจะมาถึง[33][34][35] สัญลักษณ์ของ EEWในปัจจุบัน สัญลักษณ์การเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จะใช้เป็นปลาดุกที่รู้จักในนาม "นะมะซุ (ญี่ปุ่น: 鯰)" ซึ่งเป็นปลาดุกขนาดยักษ์ใต้ท้องทะเลที่คอยสร้างแรงสั่นสะเทือนที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวตำนานของญี่ปุ่น[36][37] กิจกรรมส่งเสริมการเตรียมความพร้อมป้องกันภัยแผ่นดินไหวหลายแห่งในญี่ปุ่นก็จะใช้ปลาดุกเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ ลิงก์ข้อมูลภายนอก
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia