การเตือนคลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น)ประเทศญี่ปุ่นมีระบบเตือนคลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 大津波警報・津波警報・津波注意報) ที่จะให้แจ้งว่าคลื่นสึนามิจะซัดเข้าฝั่งหรือไม่ หลังได้มีการเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้าเพียงไม่กี่นาที[1][2] การเตือนคลื่นสึนามิมักจะประกาศภายใน 3 นาที โดยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 คลื่นสึนามิความสูง 3 เมตรถูกจัดอยู่ในระดับ "สึนามิลูกยักษ์" ซึ่งนับว่าเป็นการจัดระดับคลื่นสึนามิที่มีความรุนแรงที่สุดตั้งแต่การเริ่มใช้ระบบนี้[2][3] และในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการปรับปรุง และพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเพื่อการพยากรณ์คลื่นสึนามิที่ใกล้ซัดเข้าฝั่งได้อย่างแม่นยำ[4][5] ภาพรวมเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จะพยากรณ์ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นสึนามิขึ้น โดยอิงจากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน ถ้าคลื่นที่มีความอันตรายอาจเกิดขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศเตือนคลื่นสึนามิ หรือประกาศเฝ้าระวังคลื่นสึนามิเป็นรายภูมิภาค โดยประเมินจากความสูงของคลื่นสึนามิ อีกทั้งยังให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่จะมาถึง เช่นเวลาซัดเข้าฝั่ง และความสูงโดยประมาณ[6] หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศเตือนคลื่นสึนามิ หรือประกาศเฝ้าระวังคลื่นสึนามิ และข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิว่าจะซัดเข้าฝั่งหรือไม่ การประกาศเตือนคลื่นสึนามิลูกยักษ์เป็นไปตามการแบ่งระดับของประกาศเตือนภัยตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556[7] การจัดระดับคลื่นสึนามิเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีความอันตราย กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศเตือนคลื่นสึนามิลูกยักษ์ เตือนคลื่นสึนามิ และ/หรือ เฝ้าระวังคลื่นสึนามิเป็นรายภูมิภาคไปตามการประมาณการความสูงของคลื่นสึนามิภายใน 3 นาทีหลังการเกิดแผ่นดินไหว (หรือเร็วสุดภายใน 2 นาทีในบางกรณี)[7] ในทันทีที่เกิดแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศถึงตำแหน่ง แมกนิจูด และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากคลื่นสึนามิ แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะรู้ถึงขนาดของแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงตั้งแต่ 8 แมกนิจูดขึ้นไปอาจใช้เวลานานกว่าปกติ และในบางกรณี กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะประกาศเตือนภัยเบื้องต้น โดยอิงจากแมกนิจูดสูงสุดของแผ่นดินไหวเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด[7] โดยส่วนใหญ่แล้ว การประกาศถึงความสูงของคลื่นสึนามิสูงสุดประมาณการจะใช้คำศัพท์เชิงคุณภาพ เช่น "ใหญ่" หรือ "สูง" ในขั้นเบื้องต้น จากนั้นจึงเปลี่ยนไปใช้คำศัพท์เชิงปริมาณหลังจากได้แมกนิจูดที่ชัดเจนแล้ว[7]
การประกาศเตือนทางโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ซึ่งเป็นองค์กรแพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะของรัฐบาลญี่ปุ่น ต้องประกาศข้อมูลเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ตามความที่ออกในมาตรา 15 วรรค 6 แห่งพระราชบัญญัติการให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยา พ.ศ. 2495[8] ตามปกติแล้ว การประกาศเตือนคลื่นสึนามิจะเริ่มขึ้นหลังสิ้นสุดการเตือนแผ่นดินไหว โดยในขั้นเริ่มต้น จะมีการส่งเสียงสัญญาณระบบ EWBS (อังกฤษ: Emergency Warning Broadcasting Service) เพื่อเปิด/ปลุกโทรทัศน์ที่อยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน หรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่ได้เปิดโทรทัศน์[9] หลังจากนั้นจึงมีการแสดงภาพแทนแผนที่ประเทศญี่ปุ่น โดยชายฝั่งที่คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิจะแสดงด้วยเส้นสีต่าง ๆ ได้แก่ เฝ้าระวังคลื่นสึนามิ เตือนคลื่นสึนามิ และ เตือนคลื่นสึนามิลูกยักษ์ (ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 มีการใช้ทั้งเส้นสี พร้อมตัวเลขกำกับความสูงควบคู่กันไป) อีกทั้งยังแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของตารางและ/หรือข้อความแสดงเหนือหน้าจอเช่น พื้นที่ที่ต้องรับมือกับคลื่นสึนามิ เวลาที่คลื่นสึนามิจะขึ้นฝั่ง ความสูง และสายด่วนข้อมูลสาธารณภัย[10] เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกล่องข้อความที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจถึงสถานการณ์ได้มากชัดเจนขึ้นเช่น 津波!避難! (โรมาจิ: つなみ!ひなん, "คลื่นสึนามิ! อพยพ!") EVACUATE! (อพยพ!) หรือ すぐにげて! (หนีเดี๋ยวนี้!) เป็นต้น[11][12] ในขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการหลังได้รับข้อมูลที่มากเพียงพอแล้ว ดูเพิ่มอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia