การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 9 คน รวม 10 คน โดยได้เสนอญัตติเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564[1] และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 16, 17, 18, 19 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 20 กุมภาพันธ์[2] เบื้องหลังการยื่นญัตติขอเปิดการอภิปรายเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แถลงถึงภารกิจหลักของฝ่ายค้านในสมัยประชุมสามัญว่าจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีข้อมูลที่จะอภิปรายคือเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมถึงเรื่องถุงมือยางขององค์การคลังซึ่งเกี่ยวข้องกับนักการเมืองหลายคน[3] จากนั้นในวันที่ 15 ธันวาคม ปีเดียวกัน สุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้เปิดเผยอีกว่า พรรคฝ่ายค้านได้รวบรวมข้อมูลและประเด็นน่าสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล และสรุปหาประเด็นที่เข้าเกณฑ์ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาเพิ่มเติม[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ก็ได้เปิดเผยว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านตกลงยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 27 มกราคม และต้องการให้ฝ่ายค้านได้ใช้เวลาอภิปรายอย่างเต็มที่[5] แต่แล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคม สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 6 พรรค ได้ยื่นญัตติขออภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 10 คน (จากพรรคพลังประชารัฐ 3 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน และอิสระอีก 3 คน) ประกอบด้วย
การเตรียมการวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564 ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และตัวแทนจากคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันถึงแนวทางการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเบื้องต้น โดยให้เปิดอภิปรายระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ และลงมติวันที่ 20 กุมภาพันธ์[6] จากนั้นในวันที่ 29 มกราคม ชวนก็ได้บรรจุญัตติไว้ในระเบียบการประชุม ก่อนจะประสานงานไปยังคณะรัฐมนตรีให้กำหนดวันอภิปราย ซึ่งก็ได้ข้อสรุปให้อภิปรายตามที่สภาสรุปไว้ก่อนหน้า[2] ซึ่งก่อนหน้านี้ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาคนที่ 2 ได้ตรวจสอบญัตติแล้วพบถ้อยคำที่น่าจะทบทวน แต่ฝ่ายค้านตัดสินใจคงญัตติไว้อย่างเดิมทั้งหมด[7] ผู้อภิปรายในการอภิปรายครั้งนี้ วิปฝ่ายค้านได้เปิดเผยสัดส่วนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคต่าง ๆ ออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จะมี ส.ส. อภิปรายทั้งหมด 38 คน แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 15 คน, พรรคก้าวไกล 13 คน และพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่น ๆ พรรคละ 1 คน โดย ส.ส. 1 คน สามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ทุกคน แต่จะอภิปรายรัฐมนตรีให้จบเป็นรายบุคคล[8] ส่วนวิปรัฐบาลก็ได้จัดเตรียมผู้ประท้วงไว้จำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน เนื่องจากในญัตติของฝ่ายค้านมีเนื้อหาบางส่วนที่พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยขู่ว่าจะดำเนินคดีอาญาฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และพรรคพลังประชารัฐได้มอบหมายให้ ส.ส. ค้นหาข้อมูลสนับสนุนผลงานของรัฐบาลในเรื่องที่ถูกอภิปรายด้วย[9] เนื้อหาวิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ออกมาอภิปรายต่อนอกสภาภายหลังจากที่หัวข้อของตนถูกขัดขวางไม่ให้มีการได้พูดขึ้นภายในสภา[10] โดยระบุว่ามีการฝากตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมทั้งเปิดเผย "ตั๋วช้าง" หรือจดหมายฝากตำแหน่งที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติส่งถึงสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ 904 ในปี พ.ศ. 2562[11] ส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงที่แยกราชประสงค์ และการเดินขบวนไปประท้วงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติของกลุ่มราษฎรในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[12] นอกจากนี้พรรคก้าวไกลยังออกมาเปิดโปงปฏิบัติการสงครามสารสนเทศ (IO) ของกองทัพเพิ่มเติม เช่น ระบุว่าบัญชีชื่อ "เฮียตือ สนามเป้า" และ "เสือขาว" เป็นบุคลากรในกองทัพ, เปิดเผยคำสั่งโดยมีข้อความว่า "ให้เหมือนเราไปม็อบ แล้วบอกว่าการ์ดอาชีวะ กินเหล้า ทำพฤติกรรมรุนแรง ไม่เห็นด้วยกับเป้าหมายของม็อบ"[13] ผลการลงมติ[14]
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia