การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)![]() ![]() การประสูติของพระเยซู (อังกฤษ: Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาเกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันเกเรตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทเกและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า "แม่พระและพระกุมาร" หรือ "พระนางพรหมจารีและพระกุมาร" แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด "การประสูติของพระเยซู" ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่น ๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ "การประสูติของพระเยซู" มักจะทำเป็น "Creche" หรือ "Presepe" ซึ่งเรียกว่า "ฉากพระเยซูประสูติ" (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง "ฉากพระเยซูประสูติ" อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า "Tableau vivant" ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง "ฉากพระเยซูประสูติ" ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศัย เรื่องการกำเนิดของพระเยซู![]() ตัวเรื่องของการกำเนิดของพระเยซูเกี่ยวเนื่องมาจากประวัติการสืบเชื้อสายบรรพบุรุษของพระเยซูซึ่งกล่าวไว้ในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา เชื้อสาย หรือ "ต้นไม้ครอบครัว" (Family tree) มักจะวาดในรูปที่เรียกว่า "ต้นเจสสี" หรือ "เถาเจสสี" (Tree of Jesse) ซึ่งงอกออกมาจากร่างของเจสสี บิดาของพระเจ้าดาวิดผู้เป็นกษัตริย์องค์ที่สองของอาณาจักรอิสราเอลเมื่อประมาณพันปีก่อนคริสตกาล พระวรสารกล่าวเรื่องเกี่ยวกับพระแม่มารีย์ว่าได้หมั้นหมายไว้กับโยเซฟ แต่ก่อนที่จะแต่งงานกัน กาเบรียลทูตสวรรค์ก็มาปรากฏตัวต่อหน้านางและประกาศว่านางจะมีลูกเป็น "พระบุตรพระเป็นเจ้า" เหตุการณ์นี้เรียกว่า "แม่พระรับสาร" เป็นฉากหนึ่งที่นิยมสร้างกันในศิลปะ พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวต่อไปว่าทูตสวรรค์ปลอบใจโยเซฟเมื่อรู้ข่าวว่ามารีย์ท้องและบอกให้ตั้งชื่อลูกชายว่า เอ็มมานูเอล ซึ่งแปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา เมื่อให้ตั้งชื่อลูกก็เป็นเริ่มความรับผิดชอบต่อเด็กที่จะเกิดของโยเซฟ[1] ฉากนี้ไม่ค่อยนิยมสร้างกันในศิลปะ ในพระวรสารนักบุญลูกาโยเซฟและมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮมซึ่งเป็นบ้านของบรรพบุรุษของโยเซฟเพื่อลงชื่อในสำมะโนประชากรผู้เสียภาษี การเดินทางไปเบธเลเฮมเป็นหัวเรื่องที่ไม่ค่อยนิยมสร้างกันทางตะวันตกแต่มักจะสร้างกันในชุดทางไบแซนไทน์[2] ขณะที่อยู่ที่เบธเลเฮมมารีย์ก็คลอดพระเยซูในโรงนาเพราะหาที่พักในโรงแรมไม่ได้ เมื่อคลอดออกมาก็มีเทวดามาปรากฏต่อหน้าคนเลี้ยงแกะบนเนินบริเวณนั้นและกล่าวว่า "พระผู้ช่วยให้รอด พระคริสต์เจ้าได้มาบังเกิดแล้ว" (Saviour, Christ the Lord was born) คนเลี้ยงแกะก็ไปที่โรงนาไปพบเด็กเกิดใหม่ห่อตัวอยู่ในผ้าในรางหญ้าตามที่เทวดาบรรยาย ตามปฏิทินศาสนาห้าวันหลังจากการกำเนิดของพระเยซูในวันที่ 1 มกราคมพระองค์ก็ได้เข้าทำพิธีสุหนัต ซึ่งมิได้กล่าวถึงโดยตรงในพระวรสารแต่ก็สรุปได้ว่าคงจะเกิดขึ้นตามกฎและประเพณีของชาวยิว และการถวายพระกุมารในพระวิหาร หรือ "Candlemas" ซึ่งฉลองกันในวันที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ตามคำบรรยายของพระวรสารนักบุญลูกา[3] พระวรสารนักบุญมัทธิวกล่าวถึง "โหราจารย์" จากตะวันออกผู้เห็นดาวสว่างบนฟ้าเมื่อพระเยซูเกิด ปราชญ์จึงได้ติดตามดาวมาเพราะเชื่อว่าดาวจะนำไปสู่พระราชาองค์ใหม่ เมื่อมาถึงกรุงเยรูซาเลมก็เข้าไปในวังซึ่งเป็นที่ที่ควรจะพบพระราชา พอไปถึงก็ไปถามพระเจ้าเฮโรดมหาราช ด้วยความที่กลัวจะถูกโค่นอำนาจ จึงส่งโหราจารย์ออกไปค้นหาพระราชาองค์ใหม่ที่ว่า และสั่งว่าเมื่อพบตัวก็ให้รีบมาบอก โหราจารย์ก็ตามดาวไปจนถึงเบธเลเฮม พอพบพระเยซูก็ถวายของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน (frankincense) และมดยอบ (myrrh) แล้วก็เตือนถึงความฝันที่ว่าพระเจ้าเฮโรดจะฆ่าเด็ก ว่าแล้วก็เดินทางกลับประเทศของตนเอง ในพระวรสารมิได้กล่าวถึงจำนวนหรือฐานะของโหราจารย์ ตามประเพณีแล้วก็ขยายความว่าเมื่อเป็นของขวัญสามอย่างก็ควรจะเป็นปราชญ์สามคน และบางที่ก็ให้ตำแหน่งเป็น "ราชา" บางครั้งจึงเรียกว่า "สามกษัตริย์" (Three Kings) ซึ่งจะพบในศิลปะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา[4] หัวเรื่อง "การนมัสการของโหราจารย์" (Adoration of the Magi) ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่นิยมทำกันเช่นกัน
ฉาก "คนเลี้ยงแกะรับสาร" (Annunciation to the Shepherds) จากทูตสวรรค์ หรือ "การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ" (Adoration of the Shepherds) ซึ่งเป็นภาพคนเลี้ยงแกะนมัสการพระกุมาร มักจะรวมกับฉาก "การประสูติของพระเยซู" และ "การนมัสการของโหราจารย์" ตั้งแต่เริ่มทำกันมา ฉากแรกเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระเยซูต่อชาวยิว และฉากหลังในการรวมกับ "การนมัสการของโหราจารย์" เป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระเยซูต่อชนชาติอื่น[5] ![]() เรื่องดำเนินต่อไปว่าพระเจ้าเฮโรดทรงปรึกษาที่ปรึกษาถึงคำทำนายโบราณซึ่งบรรยายของการเกิดเด็กเช่นที่ว่า ที่ปรึกษาก็แนะนำว่าควรจะฆ่าเด็กเกิดใหม่ในเวลานั้นให้หมด พระเจ้าเฮโรดก็ทรงทำตามคำแนะนำโดยสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายอายุต่ำกว่าสองขวบทุกคนในเมืองเบธเลเฮม แต่โยเซฟมีคนมาเตือนในฝันจึงพามารีย์และพระเยซูหนีไปอียิปต์ ฉากการสังหารเด็กอย่างทารุณกลายมาเป็นหัวเรื่องที่นิยมเขียนกันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น และสมัยบาโรกที่เรียกกันว่า "การประหารทารกผู้วิมล" (Massacre of the Innocents) อีกหัวข้อหนึ่งที่นิยมคือ "พระเยซูหนีไปอียิปต์" แสดงเป็นภาพมารีย์อุ้มพระเยซูนั่งบนลาจูงโดยโยเซฟ ซึ่งคล้ายกับไอคอนไบเซนไทน์ฉากที่โยเซฟกับมารีย์เดินทางไปเบธเลเฮ็ม ในศิลปะจากเนเธอแลนด์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาก็มีการนิยมสร้างรูปที่มิได้มาจากพระคัมภีร์โดยตรง เช่น ภาพครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ (Holy Family) พักระหว่างการเดินทาง ที่เรียกว่า "การหยุดพักระหว่างทางไปอียิปต์" (Rest on the Flight to Egypt) โดยจะมีทูตสวรรค์ประกอบ และบางครั้งจะมีเด็กผู้ชายตามไปด้วยที่เข้าใจว่าเป็นลุกของโยเซฟจากการแต่งงานหนแรก[6] ฉากหลังจะเป็นปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีการเขียนภาพภูมิทัศน์หลังฉาก จนกระทั่งมาถูกจำกัดลงจากผลของการสังคายนาแห่งเทรนต์ ฉากปาฏิหาริย์หนึ่งที่ใช้กันคือปาฏิหาริย์ข้าวสาลีซึ่งทหารที่ไล่ตามครอบครัวพระเยซูมาหยุดถามชาวนาว่าครอบครัวพระเยซูผ่านมาหรือไม่ ชาวนาก็ตอบตามความเป็นจริงว่าทรงผ่านเมื่อกำลังหว่านเมล็ดข้าว ว่าแล้วข้าวสาลีก็โตขึ้นเต็มที่ในทันที หรือปาฏิหาริย์รูปต้องห้าม ที่รูปต้องห้ามหล่นลงมาจากแท่นเมื่อพระทารกผ่านไป หรือน้ำพุธรรมชาติพุ่งขึ้นมาจากทะเลทราย หรืออีกตำนานหนึ่งกล่าวว่ากลุ่มโจรเลิกปล้นผู้เดินทาง และต้นปาล์มโน้มลงมาให้เก็บผล[7] อีกเรี่องหนึ่งคือตอนที่พระเยซูพบยอห์นผู้ให้บัพติศมา ลูกพี่ลูกน้องหลังจากที่ยอห์นได้รับการช่วยเหลือจากยูเรียลไม่ให้ถูกฆ่า และเด็กสองคนมาพบกับที่อียิปต์ รูปพระเยซูพบยอห์นผู้ให้บัพติศมาวาดกันมากในสมัยเรอเนซองส์โดยมีเลโอนาร์โด ดา วินชีและต่อมาราฟาเอลเป็นผู้ริเริ่มทำให้แพร่หลาย[8] ประวัติการสร้างศิลปะศาสนาคริสต์ยุคแรก![]() ![]() ช่วงสองสามคริสต์ศตวรรษแรกของศาสนาคริสต์ถือว่าวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ที่โหราจารย์นำของขวัญมามอบให้พระเยซูสำคัญกว่าการฉลองวันประสูติหรือคริสต์มาส หลักฐานแรกของการฉลองวันคริสต์มาสปรากฏในหนังสือ "ปฏิทินแห่ง ค.ศ. 354" (Chronography of 354) และหลักฐานแรกของศิลปะมาจากรูปแกะสลักบนโลงหินจากโรมและทางใต้ของบริเวณกอลในสมัยเดียวกัน[9] แต่หลักฐานนี้เป็นหลักฐานหลังฉาก "การนมัสการของโหราจารย์" ที่พบในสุสานรังผึ้ง (catacomb) ที่โรมซึ่งเป็นสถานที่ที่ชนคริสเตียนยุคแรกใช้เป็นที่เก็บศพ และมักจะตกแต่งผนังทางเดินและเพดานโค้งด้วยภาพเขียน ภาพเหล่านี้บางภาพวาดก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 จะประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยทั่วไปโหราจารย์จะยืนเรียงลำดับถือของขวัญยื่นไปข้างหน้าทางที่พระแม่มารีย์มีพระเยซูอยู่บนตักนั่งอยู่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่คล้ายกับภาพที่วาดกันมากว่าสองพันปีตั้งแต่สมัย อียิปต์โบราณ และสมัยโรมันเองที่เป็นภาพบรรยายชัยชนะต่อ "คนไม่มีวัฒนธรรม" โดยที่ผู้แพ้จะถือของกำนัลมาถวายจักรพรรดิหรือกษัตริย์ผู้ชนะ[10] การแสดงรูปเคารพ "การประสูติของพระเยซู" ในสมัยแรก ๆ เป็นรูปง่าย ๆ แสดงให้เห็นพระทารก ห่อแน่นนอนอยู่ในรางหญ้าหรือตะกร้าหวาย และจะมีวัวและลาจะปรากฏเสมอถึงบางครั้งจะไม่มีมารีย์หรือมนุษย์คนอื่น ๆ ในองค์ประกอบ สัตว์ทั้งสองอย่างมิได้กล่าวถึงในพระวรสารแต่ถือกันว่าปรากฏในพันธสัญญาเดิม เช่นใน หนังสืออิสยาห์ 1:3 ที่กล่าวว่าทั้งวัวและลารู้จักที่นอนของนาย และ หนังสือฮาบากุก 3:2 ที่กล่าวว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักในท่ามกลางสัตว์สองตัว และการมีสัตว์สองชนิดนี้ก็ไม่เคยเป็นปัญหากับนักคริสต์ศาสนวิทยา[11] นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน และคนอื่น ๆ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวยิวซึ่งถูกกดขี่โดยกฎหมาย (วัว) และคนนอกศาสนาผู้นับถือรูปต้องห้าม (ลา) พระเยซูมาเกิดเพื่อปลดปล่อยชนทั้งสองกลุ่มจากสิ่งที่กล่าว มารีย์จะปรากฏเฉพาะในฉาก "การนมัสการของโหราจารย์" และในฉากเดียวกันก็จะมีเด็กเลี้ยงคนหนึ่งหรือศาสดาคนหนึ่งถือม้วนหนัง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 431 มารีย์ก็กลายเป็นองค์ประกอบถาวรบางครั้งก็มีโยเซฟ ถ้ามีสิ่งก่อสร้างในองค์ประกอบก็จะเป็น "tugurium" คือเพิงมุงกระเบื้องค้ำด้วยเสา [12] สมัยไบแซนไทน์![]() การแสดงรูปแบบใหม่ที่ต่างจากเดิมเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ฉากจะเป็น ถ้ำหรือเป็นถ้ำที่เฉพาะเจาะจงคือถ้ำที่พระเยซูประสูติที่เบธเลเฮ็มซึ่งเป็นที่ยอมรับในนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซู เหนือฉากก็จะเป็นภูเขาสูงขึ้นไป[13] มารีย์นอนพักฟื้นอยู่บนเบาะหรือเก้าอี้ใกล้ ๆ พระเยซูผู้ตั้งอยู่สูงกว่า [14] ขณะที่โยเซฟเอามือท้าวคาง[15] นอกจากนั้นโยเซฟก็อาจจะปรากฏในฉากที่หมอตำแยและผู้ที่มาช่วยสรงน้ำให้พระเยซู ฉะนั้นพระเยซูก็จะปรากฏสองครั้งในฉากเดียว หมอตำแยมาจากเอกสารหลายฉบับ ๆ หลักคือซาโลเม ซึ่งกล่าวถึงปาฏิหาริย์ เอกสารหลายฉบับกล่าวถึงแสงสว่างส่องลงมา ซึ่งบางทีก็ตีความหมายว่าเป็นดาวของโหราจารย์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นจานกลมอยู่เหนือฉากและมีรัศมีส่องออกมา แต่ทั้งจานกลมและรัศมีจะเป็นสีหนัก[16] ในองค์ประกอบ โหราจารย์อาจจะเป็นคนขี่ม้ามาจากทางด้านบนซ้ายสวมหมวกลักษณะแปลก ทางด้านขวาจะเป็นคนเลี้ยงแกะ ถ้าเป็นห้องก็จะมีทูตสวรรค์อยู่รอบ ๆ และเหนือถ้ำ องค์หนึ่งจะมีหน้าที่ประกาศการเกิดของพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ นอกจากนั้นก็จะมีชายสูงอายุที่มักจะใส่เสื้อหนังที่บางครั้งก็ทักทายโยเซฟ อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ต่อมาตีความหมายว่าเป็นอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ[17] ไบแซนไทน์และออร์ทอดอกซ์
ไบแซนไทน์สมัยหลังในยุโรปตะวันตก
ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันตกได้รับอิทธิพลองค์ประกอบบางอย่างมาจากรูปเคารพแบบไบแซนไทน์แต่มักจะชอบใช้โรงนามากกว่าถ้ำ ยกเว้นงานของดุชโชที่พยายามใช้ทั้งสองอย่าง ทางตะวันตกหมอตำแยจะหายไป นักคริสต์ศาสนวิทยาไม่เห็นด้วยกับตำนานนี้แต่การสรงน้ำยังคงอยู่ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมน้ำเอาไว้หรือมารีย์อาบน้ำให้พระเยซู ที่ใดที่มีอิทธิพลไบแซนไทน์มากหมอตำแยก็จะยังอยู่โดยเฉพาะในอิตาลีเช่นในงานของจอตโต ดี บอนโดเน จะเห็นหมอตำแยส่งพระเยซูให้มารีย์ ระหว่างสมัยกอทิกจะมีการเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างแม่พระและพระกุมาร พระแม่มารีย์เริ่มจะอุ้มพระเยซู หรือพระเยซูจะมองไปทางแม่พระ การดูดนมจะไม่ค่อยสร้างแต่ก็มีบ้างบางครั้ง[18] ศิลปะตะวันตกรูปสัญลักษณ์ในสมัยยุคกลางตอนหลังทางตอนเหนือของยุโรปมักจะมีอิทธิพลจากการเห็นภาพ "การประสูติของพระเยซู" ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1303-1373) ซึ่งเป็นตำนานที่นิยมกัน ก่อนที่จะเสียชีวิตนักบุญบริจิตก็บรรยายว่าได้เห็นภาพของพระเยซูนอนบนพื้นและมีแสงส่องสว่างออกมาจากพระวรกาย พระแม่มารีมีผมทอง การใช้แสงเงาตัดกันแบบ "ค่าต่างแสง" นิยมทำกันจนถึงสมัยศิลปะแบบบาโรก รายละเอียดอย่างอื่นเช่นเทียนเล่มเดียว "อยู่บนผนัง" และมีพระเจ้าปรากฏอยู่ด้วยมาจากตำนานของนักบุญบริจิต
หลังจากนั้นพระแม่มารีย์ก็คุกเข่าลงอธิษฐานต่อหน้าพระกุมารโดยมีนักบุญโยเซฟมาร่วม ฉากนี้เรียกกันว่า "การนมัสการพระกุมาร" (Adoration of the Child) ซึ่งเป็นฉากที่นิยมเขียนหรือสร้างกันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมาแทนภาพนอนของพระแม่มารี แต่ภาพพระเยซูส่องแสงทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นเวลานานก่อนคำบรรยายของนักบุญบริจิต และมาจากคณะฟรันซิสกัน[20] นักบุญโยเซฟที่เห็นกันมักจะเป็นชายสูงอายุและมักจะหลับในฉาก "การประสูติของพระเยซู" บางครั้งก็จะเป็นตัวประกอบที่น่าขัน แต่งตัวไม่เรียบร้อย และช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ในการแสดงละครการประสูติ (Mystery play) ในสมัยกลางโยเซฟจะเป็นตัวตลก น่ารักแต่ทำอะไรไม่ถูก แต่บางครั้งก็เป็นภาพกำลังตัดผ้าเป็นแถบ ๆ เพื่อห่อพระเยซู[21] หรือจุดไฟ แต่เมื่อลัทธิบูชาโยเซฟมีความสำคัญขึ้นทางตะวันตกในสมัยกลางตอนหลังโดยนักบวชคณะฟรันซิสกัน (วันสมโภชนักบุญโยเซฟเพิ่งเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1479) ลักษณะการแสดงโยเซฟก็มีความน่านับถือมากขึ้นและปรับปรุงกันมาจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรก จนกระทั่งเมื่อลัทธิบูชาพระแม่มารีย์มารุ่งเรืองขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสำคัญของโยเซฟก็ด้อยลงอีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นตัวรองอยู่ริม ๆ รูป เทียนที่จุดโดยโยเซฟตามคำบรรยายของนักบุญบริจิตเป็นสิ่งที่โยเซฟถือบางที่ก็จุดหรือบางทีก็ไม่ ฉาก "การประสูติของพระเยซู" เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในการเขียนบนแผ่นไม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่บางครั้งฉากประดับแท่นบูชาก็อาจจะถูกเบียดด้วยรูปของผู้อุทิศทรัพย์ให้วาด (เช่นภาพพระแม่มารีย์เลี้ยงพระกุมารทึ่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีผู้อุทิศอยู่สองข้าง [1]) ในภาพวาดของเนเธอร์แลนด์สมัยต้นจะใช้เพิงง่าย ๆ ไม่ต่างไปจากที่ทำกันมาเท่าใดนัก จนกระทั่งค่อยกลายมาเป็นซากปรักหักพังของโบสถ์ เริ่มกันมาตั้งแต่สมัยโรมาเนสก์ ซึ่งเป็นภาพพันธสัญญาเดิม (Old Covenant) ของชาวยิว การใช้ฉากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในการบ่งความเป็นยิวจะใช้บ่อยในงานเขียนของยาน ฟาน เอค และผู้สืบทอดงานต่อมา[22] ในงานเขียนแบบอิตาลี สถาปัตยกรรมของโบสถ์เช่นที่ว่าจะเป็นโบสถ์แบบคลาสสิก (กรีกหรือโรมัน) ซึ่งแสดงถึงการกลับไปสนใจในสถาปัตยกรรมคลาสสิก[23] หลักฐานอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้โบสถ์เป็นฉาก มาจากตำนานทองที่กล่าวว่า คืนที่พระเยซูประสูติ บาซิลิกา ของ แม็กเซนติอุส (Basilica of Maxentius) ที่โรม อันเป็นสถานที่ตั้งรูปเคารพโรมิวลุสล้มครืนลงมา และทิ้งซากไว้ให้เราเห็นจนทุกวันนี้[2] [24] สมัยกลางต้นสมัยลาง
กอทิก
กอทิกนานาชาติ
ก่อนฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
ฟื้นฟูและหลังฟื้นฟูศิลปวิทยา![]() จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 การนมัสการของโหราจารย์ กลายเป็นฉากที่วาดร่วมกับฉาก "การประสูติของพระเยซู" และเป็นที่นิยมกันมากขึ้นและภาพเขียนก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหัวข้อที่วาดเหมาะกับการขยายรายละเอียดและการใช้สีสัน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะต้องรับรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อมิให้องค์ประกอบแน่นเกินไป และรวมฉาก "การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ" เป็นฉากเดียวกับ "การประสูติของพระเยซู" ตั้งแต่ปลายสมัยกลางเป็นต้นมา ฉากนี้ก็รวมกันมากก่อนแต่ไม่มาก ทางตะวันตกโหราจารย์จะแต่งตัวอย่างแปลกและน่าสนใจจนบางครั้งเป็นตัวดึงจุดสนใจของผู้ชมแทนที่จะเป็นการประสูติของพระเยซู การเขียนภาพในสมัยเรอเนซองส์ก็เริ่มลดความหมายทางศาสนาลงโดยเฉพาะที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งการวาดภาพสำหรับฆราวาสยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ ตัวอย่างเช่นจิตรกรรมฝาผนังใหญ่ชื่อ "ขบวนโหราจารย์" (Procession of the Magi) เป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงภายในโบสถ์น้อยโหราจารย์ในวังเมดิชิ เขียนโดย เบนอซโซ กอซโซลี (Benozzo Gozzoli) ในปี ค.ศ. 1459-1461 ซึ่งรวมภาพเหมือนของครอบครัวเมดิชิภายในภาพเดึยวกัย จะทราบว่าเป็นภาพศาสนาเกี่ยวกับโหราจารย์ก็เพราะตำแหน่งที่ตั้งของภาพและเมื่อดูชื่อภาพ ถ้าดูภาพแล้วเกือบจะไม่เห็นว่าเป็นภาพศาสนา จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 การสร้างภาพ "การประสูติของพระเยซู" ที่แสดงเฉพาะครอบครัวพระเยซูก็เริ่มมีความนิยมน้อยลง แต่การาวัจโจใช้วิธีเขียนแบบสัจจะนิยมในการเขียน "การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ" การวางรูปและองค์ประกอบของภาพในสมัยนี้ก็เริ่มแตกต่างกันมากขึ้นตามจินตนาการของจิตรกรแต่ละคน เช่นงานเขียน "การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ" ของจิตรกรสามคน เจอราร์ด ฟอน ฮนท์ฮอร์สท [3] (Gerard van Honthorst), จอร์จ เดอลา ทัวร์[4] (Georges de La Tour) และ ชาร์ล เลอ บรุน[5] (Charles Le Brun) แต่ละคนต่างก็วางภาพต่างกันไปซึ่งไม่มีคนใดที่วางภาพแบบที่ทำกันมาแต่ก่อน หัวเรื่องการเขียน "การประสูติของพระเยซู" เสื่อมความนิยมลงหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายุครุ่งโรจน์
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของอิตาลี
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของยุโรป
บาโรกและโรโกโก
หลัง ค.ศ. 1800
ศิลปะพื้นบ้าน
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ การประสูติของพระเยซู |
Portal di Ensiklopedia Dunia