การบุกง่อก๊กของโจผี
ในยุคสามก๊กของประวัติศาสตร์จีน โจผีจักรพรรดิพระองค์แรกของรัฐวุยก๊กบุกรัฐอริง่อก๊กทั้งหมด 3 ครั้งตลอดรัชสมัยตั้งแต่ ค.ศ. 222 ถึง ค.ศ. 225 เหตุแห่งสงครามคือซุนกวนผู้นำรัฐง่อก๊กปฏิเสธที่จะส่งตัวซุนเต๋งบุตรชายไปเป็นตัวประกันที่ราชสำนักวุยก๊ก ซึ่งเวลานั้นง่อก๊กเป็นรัฐประเทศราชในนามภายใต้วุยก๊ก การบุกแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 222-224 ก่อนที่โจผีจะมีรับสั่งให้ทั้งหมดถอยทัพ การบุกช่วงที่สองและช่วงสุดท้ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 225 ภูมิหลังภายหลังจากเล่าปี่จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กพ่ายแพ้ต่อทัพซุนกวนในยุทธการที่อิเหลง ซุนกวนได้รับประโยชน์จากการยอมอยู่ภายใต้โจผีผู้จะช่วยเหลือในรบต้านเล่าปี่[2] อย่างไรก็ตามทั้งฝ่ายซุนกวนและโจผีต่างไม่ไว้ใจกันและกัน โดยเฉพาะด้านฝ่ายของซุนกวน[2] ซึ่งเอาชนะโจโฉในยุทธการที่เซ็กเพ็กเมื่อ 14 ปีก่อน ยิ่งไปกว่านั้นซุนกวนและเหล่าขุนนางต่างไม่สบายใจเกี่ยวกับตำแหน่งและยศของซุนกวน (อย่างตำแหน่งเงาอ๋องแห่งอ๋องแห่งแห่งง่อก๊ก) เพราะถูกพวกตนถูกมองว่าเป็นรัฐประเทศราชของวุยก๊ก[2] ภายในกองกำลังของซุนกวนถือว่าการเป็นพันธมิตรกับวุยก๊กไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เพราะชัยชนะต่อเล่าปี่ในยุทธการที่อิเหลงนั้นเป็นจุดพลิกผันสำคัญซึ่งบ่งบอกว่าการเป็นพันธมิตรกับวุยก๊กไม่จำเป็นอีกต่อไป ซุนกวนก็มีท่าทีว่ากำลังวางแผนจะไม่คงความเป็นพันธมิตรนานเกินความจำเป็น[2] ในที่สุดแผนการของโจผีที่ต้องการให้ซุนกวนและจ๊กก๊กขุ่นเคืองกันต่อไปก็ให้ผลตรงกันข้าม เมื่อซุนกวนและเล่าปี่คืนความเป็นพันธมิตรกันอีกครั้ง โจผีพยายามจะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างตนกับตระกูลซุนจึงเรียกร้องให้ซุนกวนส่งตัวซุนเต๋ง (บุตรชายคนโตของซุนกวน) มายังลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก แต่ซุนกวนปฏิเสธคำขอและขอขมาต่อโจผีอ้างว่าบุตรชายยังเยาว์นักและมีสุขภาพอ่อนแอเกินกว่าจะอยู่ห่างบ้านและครอบครัว[3] โจผีก็ไม่ได้กดดันหรือยกเรื่องนี้มากล่าวถึงอีก แต่ต่อมาอีกไม่นานโจผีเรียกร้องให้ส่งซุนเต๋งมาเป็นตัวประกันอีกครั้ง ซุนกวนยังคงปฏิเสธเช่นเดิม ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองดำเนินไปในทางขุ่นเคืองกัน กระทั่งในที่สุดโจผีจึงเปิดฉากโจมตีซุนกวน ซุนกวนส่งทูตไปเจรจาสงบศึกหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นไม่นานซุนกวนก็ประกาศตนเป็นอิสระในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 222[3] การบุกครั้งที่ 1, 2 และ 3 (ค.ศ. 222–223)ต๋งเค้าในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 222 โจฮิวขุนพลวุยก๊กนำทัพเรือล่องไปตามลำน้ำสาขาจือเจียงออกที่แม่น้ำแยงซีไปยังฐานที่มั่นของง่อก๊กที่อำเภอต๋งเค้า (洞口 ต้งโขฺ่ว) ภายใต้การบัญชาการของลิห้อมขุนพลง่อก๊ก การรบในช่วงต้นของวุยก๊กประสบความสำเร็จในการรบกับแม่ทัพของง่อก๊ก แต่กำลังเสริมของง่อก๊กที่นำโดยซุนเสียวและชีเซ่งก็สามารถหยุดยั้งการโจมตีด้วทัพเรือได้ ยุทธการสิ้นสุดในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 223 กังเหลงไกลออกไปทางตะวันตกของแม่น้ำแยงซี ขุนพลวุยก๊กโจจิ๋น, เตียวคับ และแฮหัวซงโจมตีจุดยุทธศาสตร์สำคัญของง่อก๊กสองแห่งในมณฑลเกงจิ๋วจากซงหยง เตียวคับนำการโจมตีด่านหน้าของเมืองลำกุ๋นได้สำเร็จและเอาชนะซุน เชิ่ง (孫盛) ได้ โจจิ๋นและแฮหัวซงเปิดฉากล้อมกังเหลง อำเภอเอกของมณฑลเกงจิ๋ว แม้ว่ากองกำลังของง่อก๊กภายใต้การนำของจูเหียนจะไม่แข็งแกร่งนักแต่ก็สามารถตั้งรับจนกระทั่งสลายการปิดล้อมได้เมื่อกองกำลังเสริมของง่อก๊กนำโดยพัวเจี้ยงและจูกัดกิ๋นยกมาถึง ในที่สุดค่ายของวุยก๊กเกิดโรคระบาดทำให้ต้องล่าถอยและอยู่ในภาวะคุมเชิงอีกทาง ยี่สูการบุกครั้งที่สามไม่ได้เพื่อมุ่งตรงไปยังภูมิภาคหนานจิงหรือมณฑลเกงจิ๋ว แต่เพื่อเข้าใกล้ซุนกวนผู้เป็นเงาอ๋อง ก่อนหน้านี้กำเหลงขุนพลที่ล่วงลับไปแล้วของซุนกวนช่วยยึดด่านของวุยก๊กในมณฑลยังจิ๋วที่อำเภอยี่สูบริเวณปากน้ำยี่สูที่เข้าสู่แม่น้ำแยงซี ในการบุกครั้งนี้โจหยินจึงเข้าโจมตียี่สู แต่การโจมตีจบลงด้วยการล่าถอยเมื่อโจหยินรู้ว่าอีกสองทัพที่โจมตีต๋งเค้าและกังเหลงได้ล่าถอยไปแล้ว การก่อกบฏของจิ้น จงในฤดูร้อน ค.ศ. 223 จิ้น จง (晋宗) ขุนพลง่อก๊กแปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊กและย้ายขึ้นไปยังด่านแห่งใหม่ของวุยก๊กที่ฉีชุนทางฝั่งเหนือของแม่น้ำแยงซี เฮ่อ ฉีขุนพลง่อก๊กนำกำลังโจมตีจิ้น จง เฮ่อ ฉีตัดสินใจล่าถอยเพราะสภาพอากาศร้อนจัด แต่ก็สามารถจับตัวจิ้น จงได้ในภายหลัง การบุกครั้งที่ 4:อุบัติการณ์ที่กองเหลงการบุกครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 225 แม้ว่าจะไม่มีการรบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โจผีนำกำลังพลมากกว่า 100,000 นาย[4] และเรือรบจำนวนมากไปยังกองเหลง ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีฝั่งตรงข้ามกับเกียนเงียบ (ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) แต่ง่อก๊กได้ปิดกั้นแม่น้ำ และเวลาเป็นฤดูหนาวอากาศเย็นจัดจนทำให้แม่น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง โจผีจึงมีโอกาสชนะต่ำหากเข้ารบกับซุนกวน โจผีทอดพระเนตรไปยังแนวป้องกันของง่อก๊กตรงหน้าที่เห็นว่าไม่อาจโจมตีได้ จึงถอนพระทัยและมีรับสั่งให้ถอนทัพกลับ อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia