การทัพกัลลิโพลี

การทัพกัลลิโพลี
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ภาพชุดในการทัพ จากบนและซ้ายถึงขวา: ผู้บัญชาการทหารออตโตมันรวมมุสทาฟา เคมัล (คนที่ 4 จากซ้าย); เรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตร; หาดวีจากดาดฟ้าหัวเรือเอ็สเอ็ส ริเวอร์ไคลด์; ทหารออตโตมันในสนามเพลาะ; และตำแหน่งของฝ่ายสัมพันธมิตร
วันที่17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 – 9 มกราคม ค.ศ. 1916
(10 เดือน 3 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่40°22′N 26°27′E / 40.367°N 26.450°E / 40.367; 26.450
ผล จักรวรรดิออตโตมันชนะ
คู่สงคราม
สนับสนุนโดย:
 รัสเซีย
 จักรวรรดิออตโตมัน
สนับสนุนโดย:
 เยอรมนี[1][2]
 ออสเตรีย-ฮังการี[3]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ กองกำลังรบนอกประเทศเมดิเตอร์เรเนียน
กองพลแรงงานอียิปต์[5]
กองพลแรงงานมอลตา[5]
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 กองกำลังรบนอกประเทศตะวันออก
จักรวรรดิออตโตมัน กองทัพที่ 5
จักรวรรดิเยอรมัน ภารกิจทหาร[6]
กำลัง

5 หน่วย (ตอนแรก)
15 หน่วย (สุดท้าย)
รวม: 489,000 นาย[7]

  • อังกฤษ 345,000 นาย (รวมจากอินเดียและนิวฟันด์แลนด์)
  • ฝรั่งเศส 79,000 นาย[8]
  • ออสเตรเลีย ป. 50,000 นาย
  • นิวซีแลนด์ ป. 15,000 นาย

สนับสนุนโดย

แรงงานพลเมือง ป. 2,000 คน[5]

6 หน่วย (ตอนแรก)
16 หน่วย (สุดท้าย)
รวม: 315,500 นาย[8][9]

  • เยอรมนี ป. 700 นาย[10]
ความสูญเสีย

จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิบริติช:
198,340 นาย (ถูกฆ่า 31,389 นาย
หายตัวหรือเชลยศึก 9,708 นาย
บาดเจ็บ 78,749 นาย
อพยพผู้ป่วย 78,494 นาย[11][7]
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ฝรั่งเศส:
ถูกฆ่าและหายตัว 9,000 นาย
บาดเจ็บ 18,000 นาย
อพยพผู้ป่วย 20,000 นาย[11]
ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย:
ถูกฆ่า 7,594 นาย
บาดเจ็บ 18,500 นาย
ประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์:
ถูกฆ่า 3,431 นาย
บาดเจ็บ 4,140 นาย[11]


รวม: 300,000 นาย (ถูกฆ่า 56,707 นาย)[11]

จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมัน:
255,268 นาย (ถูกฆ่า 56,643 นาย,
บาดเจ็บ 97,007 นาย,
หายไปหรือเชลยศึก 11,178 นาย)
อพยพผู้ป่วย 69,440 นาย[12]
เสียชีวิตจากโรค 21,000 นาย[7]


รวม: 255,268 นาย (ถูกฆ่า 56,643 นาย)[7][12]

การทัพกัลลิโพลี เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การทัพดาร์ดะเนลส์, ยุทธการที่กัลลิโพลี หรือ ยุทธการที่ชานักคาแล (ตุรกี: Gelibolu Muharebesi, Çanakkale Muharebeleri หรือ Çanakkale Savaşı) เป็นการทัพในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรกัลลิโพลี (ปัจจุบันคือเกลิโบลู ประเทศตุรกี) ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ถึง 9 มกราคม ค.ศ. 1916 ฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคี ได้แก่ บริติช ฝรั่งเศส และรัสเซีย ได้พยายามที่จะทำให้จักรวรรดิออตโตมันอ่อนแอลง หนึ่งสมาชิกประเทศในฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยเข้าควบคุมช่องแคบที่เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังจักรวรรดิรัสเซีย การโจมตีป้อมปราการออตโตมันของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทางเข้าของช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ได้ประสบความล้มเหลว และตามมาด้วยการยกพลขึ้นบกบนคาบสมุทรกัลลิโพลีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เพื่อเข้ายึดครองกรุงอิสตันบลู(คอนสแตนติโนเปิล) เมืองหลวงของออตโตมัน[13]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1916 ภายหลังการสู้รบแปดเดือน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 คนในแต่ละฝ่าย การทัพทางภาคพื้นดินได้ถูกละทิ้งและถอนกำลังในการบุกครอง มันเป็นความพ่ายแพ้ที่มีค่ามากสำหรับฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคี และสำหรับผู้ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ลอร์ดที่หนึ่งแห่งกระทรวงทหารเรือ (ค.ศ. 1911- ค.ศ. 1915) วินสตัน เชอร์ชิล การทัพดังกล่าวได้ถือเป็นชัยชนะที่ยิงใหญ่ของออตโตมัน ในตุรกี ได้ถือว่าเป็นส่วนเวลาที่ถูกกำหนดไว้ในประวัติศาสตร์ของรัฐ การโจมตีแบบระลอกครั้งสุดท้ายในการปกป้องมาตุภูมิ เมื่อจักรวรรดิออตโตมันได้ล่าถอย การต่อสู้รบดังกล่าวได้กลายเป็นพื้นฐานของสงครามประกาศอิสรภาพตุรกีและการประกาศสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในอีกแปดปีต่อมา โดยมีมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้บัญชาการทหารที่กัลลิโพลี ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดี

การทัพดังกล่าวมักจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของจิตสำนึกแห่งชาติของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ วันที่ 25 เมษายน ซึ่งเป็นวันครบรอบของการยกพลขึ้นบกหรือที่เรียกว่า วันแอนแซก ซึ่งเป็นวันที่รำลึกถึงทหารผู้เสียชีวิตและทหารผ่านศึกที่สำคัญที่สุดในสองประเทศ ซึ่งดูดีกว่า วันแห่งการรำลึก(วันสงบศึก)[14][15][16]

อ้างอิง

  1. Travers 2001, p. 13.
  2. Rance 2017, pp. 16–17, 54–56.
  3. Jung 2003, pp. 42–43.
  4. Kurtuluş Savaşı Komutanları.
  5. 5.0 5.1 5.2 Aspinall-Oglander 1929, p. 395.
  6. Rance 2017, pp. 16–17, 44–47, 55–56.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Erickson 2001a, p. 94.
  8. 8.0 8.1 Erickson 2001a, pp. 94–95.
  9. Erickson 2015, p. 178.
  10. Rance 2017, pp. 16–17.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Clodfelter 2017, p. 417.
  12. 12.0 12.1 Erickson 2001a, p. 327.
  13. Aspinall-Oglander 1929, pp. 51–52.
  14. Dennis 2008, pp. 32, 38.
  15. Lewis, Balderstone & Bowan 2006, p. 110.
  16. McGibbon 2000, p. 198.

ข้อมูล

หนังสือ

บันทึก

หนังสือพิมพ์

วารสาร

เว็บไซต์

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia