บทความนี้เกี่ยวกับเหตุกราดยิงหมู่ (mass shooting) ที่เกิดขึ้นแล้วและมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3–4 ราย สำหรับมือปืนกราดยิง (active shooter) ที่ใช้อธิบายบุคคลที่ก่อเหตุกราดยิงหมู่ที่ผู้ก่อเหตุกำลังดำเนินอยู่ ดูที่
มือปืนกราดยิง
การบังคับใช้กฎหมายในที่เกิดเหตุเหตุกราดยิงหมู่ที่โรงพยาบาลนอร์ธไซด์ มิดทาวน์ ในแอตแลนตา สหรัฐ
การกราดยิงหมู่ [ 1] หรือ เหตุกราดยิงหมู่ [ 2] [ 3] (อังกฤษ : mass shooting ) นั้นไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนสำหรับหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเงื่อนไขดังกล่าว โดยส่วนใหญ่นิยามว่าจะต้องมีเหยื่อจากการใช้อาวุธปืนจำนวนอย่างน้อย 3–4 ราย (ไม่นับรวมมือปืน) และเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แม้ว่าการศึกษาของออสเตรเลียใน พ.ศ. 2549 จะระบุว่าต้องมีเหยื่ออย่างน้อย 5 ราย และต้องมีการเสียชีวิตของเหยื่อ แทนที่จะแค่ได้รับบาดเจ็บและไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียชีวิต[ 4]
ในสหรัฐ พระราชบัญญัติความช่วยเหลือสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง พ.ศ. 2555 (Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012) กำหนดให้การสังหารหมู่เป็นการสังหารตั้งแต่ 3 รายขึ้นไปในเหตุการณ์เดียวกัน[ 5] อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ระบุถึงการกราดยิงหมู่ สื่อต่าง ๆ เช่น ซีเอ็นเอ็น และหน่วยงานวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงในอาชญากรรมให้คำจำกัดความว่า การกราดยิงหมู่นั้นจะต้องประกอบไปด้วย "การยิงจำนวน 4 ครั้งขึ้นไป (ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต) ภายในเหตุการณ์เดียว ในเวลาเดียว และสถานเดียวกัน โดยการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นไม่นับรวมตัวผู้ก่อเหตุ"[ 6] สำหรับนิตยสารการเมืองชื่อว่า มาเธอร์ โจนส์ ได้นิยามการกราดยิงหมู่ว่า เป็นการยิงอย่างคุ้มคลั่งและมีการสูญเสียชีวิตของเหยื่อตั้งแต่ 3 รายขึ้นไป ไม่นับรวมตัวของผู้กระทำความผิด ซึ่งคำจำกัดความดังกล่าวไม่รวมถึงการปะทะกันระหว่างแก๊งค์อันธพาลหรือการโจรกรรมทรัพย์สินด้วยอาวุธ[ 7] [ 8]
บางครั้งการยิงที่ประกอบไปด้วยเหยื่อที่มากกว่า 3 รายขึ้นไปอาจจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ปิด เช่น การที่สมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง ยิงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวของตนเองทั้งหมด การกระทำนี้จะถูกนับว่าเป็นการกุลฆาต (การล้างตระกูล, ฆ่ายกครัว) และไม่ถูกนับรวมอยู่ในสถิติของการกราดยิงหมู่
สำหรับแรงจูงใจในการกราดยิงหมู่ (ที่เกิดขึ้นในสถานที่สาธารณะ) มักมีสาเหตุมาจากการที่บุคคลดังกล่าวเกิดความผิดหวังหรือเสียใจจากอย่างรุนแรงจากความล้มเหลวของตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การเรียน อาชีพการงาน ความรัก หรือเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต[ 9] รวมไปถึงผู้ที่ต้องการเป็นที่สนใจหรือยากมีชื่อเสียง อยากให้ผู้อื่นรับรู้ถึงการกระทำดังกล่าว[ 10] ในขณะที่การกราดยิงในการโจรกรรมทรัพย์สิน หรือการกราดยิงในการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อการร้าย จะไม่ถูกจำกัดความว่าเป็นการกราดยิงหมู่เพราะมีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน[ 11]
คำจำกัดความ
มีคำจำกัดความที่หลากหลายมากสำหรับการกราดยิงหมู่[ 12] [ 13] เช่น
ภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ อัยการสูงสุดสหรัฐ อาจเข้าร่วมการสืบสวนการ "สังหารหมู่" มากกว่า การกราดยิงหมู่ หากมีการร้องขอมาจากรัฐต่าง ๆ คำดังกล่าวหมายความถึงการสังหารคนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปโดยไม่มีการหยุดพัก[ 14] [ 15] แต่ต่อมาสภาคองเกรสได้กำหนดความหมายใหม่ใน พ.ศ. 2556 ว่าให้นับการสังหารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป[ 16]
ในรายงาน "เบื้องหลังการนองเลือด" (Behind the Bloodshed) ของ หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ การสังหารหมู่ได้รับการนิยามว่าเป็นเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น 4 คนหรือมากกว่านั้น หมายรวมไปถึงการสังหารภายในครอบครัว[ 17] เดอะวอชิงตันโพสต์ ยังใช้คำนิยามดังกล่าวเช่นกัน[ 18]
เว็บไซต์ Mass Shooting Tracker ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากซีเอ็นเอ็น, เอ็มเอสเอ็นบีซี, เดอะนิวยอร์กไทมส์ , เดอะวอชิงตันโพสต์ , ดิอีโคโนมิสต์ , บีบีซี ได้ให้คำจำกัดความว่าการกราดยิงหมู่ คือเหตุการณ์ใด ๆ ที่มีการยิงประชาชนจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป[ 19] [ 20]
ตาม พระราชบัญญัติความช่วยเหลือสืบสวนสำหรับอาชญากรรมรุนแรง พ.ศ. 2555 (Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012) ซึ่งลงนามประกาศใช้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 การสังหารหมู่ หมายถึงการสังหารที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสามคน ไม่รวมผู้กระทำความผิด[ 21] [ 22]
ซีบีเอส ให้คำนิยามถึงการกราดยิงหมู่ ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยิง (ไม่จำเป็นต้องทำให้เสียชีวิต) ใส่คน 5 คนขึ้นไป (บางครั้ง 4 คน)[ 23] โดยไม่มีช่วงหยุดพัก[ 23] [ 24]
นิตยสารมาเธอร์โจนส์ นิยามการกราดยิงหมู่ว่าเป็นการยิงอย่างคุ้มคลั่งโดยปราศจากเป้าหมายหลักในสถานที่สาธารณะ ซึ่งส่งผลให้มีเหยื่อจำนวน 3 คนหรือมากกว่าเสียชีวิต โดยไม่นับรวมถึงการปะทะกันระหว่างแก๊งอันธพาล มาเฟีย การโจรกรรมทรัพย์สินด้วยอาวุธ และการโจมตีโดยผู้ก่อเหตุที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้[ 25] [ 26]
กลุ่มศึกษาวิจัยความรุนแรงในอาชญากรรม Gun Violence Archive ซึ่งรวมรวมข้อมูลการวิจัยจากสื่ออเมริกันรายหลัก ๆ ให้คำจำกัดความการกราดยิงหมู่ไว้ว่า "ต้องมีเหยื่ออย่างน้อย 4 รายที่ถูกยิง นับทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิต โดยไม่นับรวมถึงผู้ก่อเหตุซึ่งอาจจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บในเหตุการณ์ดังกล่าว" ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของการกราดยิงหมู่ และการฆาตกรรมหมู่ และไม่ถือว่าผู้ก่อเหตุเป็นเหยื่อด้วย[ 27]
แม้ว่าจะมีการจำกัดความที่หลากหลายถึงความหมายของการกราดยิงหมู่ แต่ก็มีการจำกัดความถึงการรวมถึงและข้อยกเว้นด้วย โดยมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียระบุว่า ไม่ว่าจะมีผู้เสียชีวิตกี่คน หากเกิดการยิงโดยผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ จะไม่นับว่าเป็นการกราดยิงหมู่ ข้อยกเว้นอีกประเภทคือ หากมีคนถูกยิง 10 คน แต่เสียชีวิตเพียง 2 คน นอกจากนี้หากอีกจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการถูกรถชนก็จะไม่นับว่าเกิดจากเหตุกราดยิงหมู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการใช้อาวุธปืน ในบางกรณี จะนับรวมการเสียชีวิตที่เกิดจากการใช้อาวุธในการโจรกรรมทรัพย์สิน และบางครั้งการเสียชีวิตที่เกิดจากการทำสงครามแก๊งค์ก็ถือเป็นการกราดยิงหมู่เช่นกัน[ 28]
ปัญหาของการขาดคำจำกัดความที่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดความตื่นกลัวเกิดเหตุเมื่อมีการรายงานข่าวเหตุการณ์ออกไป เนื่องจากการใช้ประเภทของเหตุที่เกิดแตกต่างกันในแต่ละความหมาย
การกราดยิงหมู่จะถูกกำหนดให้เป็นการก่อการร้ายก็ต่อเมื่อ "ดูเหมือนว่าจะมีเจตนา" ที่จะข่มขู่หรือบังคับผู้คน แม้ว่าการกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ไม่ใช่การก่อการร้ายก็ตาม
เหยื่อและผู้รอดชีวิต
หลังจากเหตุกราดยิงหมู่ ผู้รอดชีวิตบางคนได้เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขา และนักข่าวก็เล่าถึงประสบการณ์ของพวกเขา ผู้รอดชีวิตจากการยิงในโบสถ์ Knoxville Unitarian Universalist เขียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาของเขาต่อเหตุการณ์การกราดยิงหมู่[ 29] พ่อของเหยื่อในเหตุกราดยิงที่โรงภาพยนตร์ในเมืองออโรรา รัฐโคโลราโด เขียนเกี่ยวกับการเผชิญเหตุกราดยิงหมู่ครั้งอื่น ๆ หลังจากเขาสูญเสียลูกชายไป[ 30] ผู้รอดชีวิตจากการโจมตีในนอร์เวย์ใน พ.ศ. 2554 เล่าประสบการณ์ของพวกเขาในนิตยสาร GQ[ 31] นอกจากนี้ รายงานฉบับหนึ่งยังได้ศึกษาปฏิกิริยาของเจ้าหน้าที่ตำรวจสวีเดนต่อเหตุกราดยิงหมู่[ 32]
ผู้รอดชีวิตจากเหตุกราดยิงจำนวนมาก อาจประสบกับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ [ 33] [ 34]
ผู้กระทำผิด
เพศและเชื้อชาติ
สหรัฐ
ผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ในสหรัฐเป็นผู้ชาย โดยบางแหล่งระบุว่าผู้ชายคิดเป็น 98% ของผู้ก่อเหตุ[ 35] [ 36] [ 37] จากรายงานของสกายนิวส์ ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ชายก่อเหตุ 110 ครั้ง จากการยิง 114 ครั้งในโรงเรียน (96%) ในช่วง พ.ศ. 2525–2562[ 38] เมื่อเทียบกับการฆาตกรรมโดยทั่วไปในสหรัฐที่ 85.3% ของการฆาตกรรมเป็นการกระทำโดยผู้ชาย[ 39]
การศึกษาโดยบริษัทข้อมูลด้านสถิติ Statista พบว่า 65 จาก 116 (56%) การยิงกันในสหรัฐ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2525 ถึง 2562 นั้นเป็นมือปืน "ผิวขาว"[ 40] และตามฐานข้อมูลที่รวบรวมโดยนิตยสารมาเธอร์โจนส์ เชื้อชาติของมือปืนกราดยิงหมู่นั้นใกล้เคียงกับประชากรสหรัฐโดยรวม แม้ว่าชาวเอเชียจะมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยประชากรสหรัฐและชาวลาตินไม่มีส่วนในการเทียบเคียงดังกล่าว[ 41]
สุขภาพจิตและประวัติอาชญากรรม
ผลการศึกษาของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า ผลจากการโจมตีของมือปืนกราดยิงนั้น แตกต่างกันไปตามปฏิกิริยาของผู้ก่อเหตุ ซึ่งผู้ถูกโจมตีประกอบไปด้วยตำรวจ (42% ของเหตุการณ์ทั้งหมด) และกลุ่มคนมุง (ซึ่งรวมไปถึง "คนดีที่มีปืน" คิดเป็นใน 5.1% ในเหตุการณ์ทั้งหมด)[ 42]
ในการศึกษาผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่จำนวน 55 คน จากฐานข้อมูลการกราดยิงหมู่ของนิตยสารมาเธอร์โจนส์ นักวิจัยพบว่า 87.5% ของผู้กระทำความผิด ได้รับการวินิจฉัยในการรักษาอย่างผิด ๆ และรับการรักษาอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช จึงไม่ได้รับการรักษาตามกระบวนการ[ 43]
ในการศึกษาผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่จำนวน 171 คนที่ก่อเหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2509 ถึง 2562 นักวิจัย Adam Lankford และ Rebecca Cowan พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยทางจิตแต่ไม่ใช่ระดับที่รุนแรง แต่ "ผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ในที่สาธารณะเกือบทั้งหมดอาจจะมีปัญหาสุขภาพจิต" พวกเขาแนะนำว่าการตรวจสอบปัญหาสุขภาพจิตของผู้ก่อเหตุกราดยิงนั้นมีจำนวนความถี่ที่ต่ำเกินไป เนื่องจาก "ผู้กระทำความผิดจำนวนมาก ไม่เคยได้รับการประเมินจากจิตแพทย์หรือผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต...รวมถึงคนอื่นๆ ก็จงใจหลีกเลี่ยงการพบจิตแพทย์ และปิดบังปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือโกหกเกี่ยวกับอาการของพวกเขา เพราะความอับอาย ความน่าอัปยศ หรือความกลัวผลที่จะตามมาหลังการประเมิน" อย่างไรก็ตาม Lankford และ Cowan ยังเน้นย้ำว่าความปัญหาทางจิตไม่ใช่สาเหตุเดียวของการกราดยิงหมู่ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจโจมตีของผู้ก่อเหตุ[ 44]
เจมส์ อัลเลน ฟอกซ์ นักอาชญาวิทยากล่าวว่าผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการถูกจับกุมเพื่อทำการรักษาที่ศูนย์สุขภาพจิต[ 45] แม้ว่าบทความในเดอะนิวยอร์กไทมส์ในเดือนธันวาคม 2558 เกี่ยวกับเหตุกราดยิง 15 ครั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่ามีผู้กระทำความผิด 6 คน เคยมีปัญหากับการละเมิดการบังคับใช้กฎหมาย และอีก 6 คน มีปัญหาสุขภาพจิต[ 46]
แรงจูงใจ
เหตุกราดยิงหมู่จำนวนมากอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากลัทธิหัวรุนแรงทางศาสนา อุดมการณ์ทางการเมือง (เช่น ลัทธินีโอนาซี การก่อการร้าย ลัทธิเชิดชูคนผิวขาว), การเหยียดเชื้อชาติ รสนิยมทางเพศ การเกลียดผู้หญิง[ 47] ความเจ็บป่วยทางจิต [ 48] [ 49] และการแก้แค้นจากการโดนกลั่นแกล้ง [ 50] รวมถึงเหตุผลอื่น ๆ[ 35] สตีเฟน รอสส์ นักจิตวิทยานิติวิทยาศาสตร์ อ้างถึงความโกรธสุดขีดและความคิดในการทำงานเพื่อจุดประสงค์ – แทนที่จะเป็นความเจ็บป่วยทางจิต – เป็นคำอธิบายเบื้องต้น[ 51] การศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์พบว่า "ผู้กระทำผิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการป่วยทางจิตมีน้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ของการสังหารที่เกี่ยวข้องกับปืนกว่า 120,000 ครั้ง ในสหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2544 ถึง 2553"[ 52] จอห์น โรมัน จากสถาบันชุมชนเมือง (Urban Institute) แย้งว่า แม้ว่าการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพจิตได้สะดวกขึ้น การจำกัดอาวุธที่เข้มงวดมากขึ้น และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันและต่อสู้การก่อการร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่พวกเขาไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ใหญ่กว่า ซึ่งคือ "เรามีชายหนุ่มผู้โกรธแค้นมากมายในประเทศของเราและในโลกนี้"[ 53]
เดฟ คัลเลน ได้เขียนในหนังสือ โคลัมไบน์ (Columbine) ของเขาเมื่อ พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ใน พ.ศ. 2542 และผู้ก่อเหตุ เอริก แฮร์ริส และดีแลน เคลโบลด์ อธิบายว่า แฮร์ริสเป็น "ผู้สะสมความอยุติธรรม" (injustice collector)[ 54] เขาขยายแนวคิดนี้ในบทบความของ เดอะนิวริพับลิก เกี่ยวกับนักสะสมความอยุติธรรม[ 55] ซึ่งระบุว่าฆาตกรที่เป็นที่รู้จักหลายคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ รวมถึงคริสโตเฟอร์ ดอร์เนอร์, เอลเลียต ร็อดเจอร์, เวสเตอร์ ฟลานาแกน และแอนดรูว์ คีโฮ ในทำนองเดียวกัน แมรี โอทูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการกราดยิงหมู่และอดีตเอฟบีไอ ก็ใช้วลี "ผู้สะสมความอยุติธรรม" ในการอธิบายถึงลักษณะแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่หลายคน[ 56] ส่วนของความสัมพันธ์ นักอาชญาวิทยา เจมส์ อลัน ฟ็อกซ์ ยืนยันว่าฆาตกรสังหารหมู่ "ถูกทำให้โดดเดี่ยวทางสังคม" และมักประสบกับ "ปีแห่งความผิดหวังและความล้มเหลว ที่ก่อให้เกิดความสิ้นหวังอย่างสุดขีดและความโกรธแค้นที่ฝังลึก"[ 57] [ 58] จิลเลียน ปีเตอร์สัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านอาชญวิทยาที่มหาวิทยาลัยแฮมไลน์ ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเหตุกราดยิงหมู่ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าปรากฏการณ์สองอย่างที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในเชิงสถิติ ได้แก่ ความสิ้นหวังและความต้องการชื่อเสียงในด้านลบ หรือความตาย[ 59] ชื่อเสียงในด้านลบได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกว่าเป็นแรงจูงใจในการศึกษาวิจัยโดย จัสติน นัท โดยระบุในบทความใน พ.ศ. 2556 ว่า "คนที่รู้สึกไม่มีชื่อและไร้ตัวตนราวกับว่าไม่มีใครสนใจหรือจดจำพวกเขา เมื่อพวกเขาจะต้องจากไป เขาอาจจะรู้สึกว่าจะต้องกำลังทำอะไรบางอย่าง เช่น การก่อเหตุกราดยิงกันในโรงเรียน เพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะถูกจดจำและบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์"[ 60]
ในบทบรรณาธิการของ ลอสแอนเจลิสไทมส์[ 61] ประจำ พ.ศ. 2562 จิลเลียน ปีเตอร์สัน และ เจมส์ เดนสลีย์ กลุ่มนักคิดในโครงการความรุนแรง (The Violence Project) ได้นำเสนอกรอบการทำงานใหม่ที่ให้ความหวังในการเข้าใจเหตุการณ์กราดยิงหมู่ จากการศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันยุติธรรมแห่งชาติ (National Institute of Justice) ปีเตอร์สันและเดนส์ลีย์พบว่ามือปืนในเหตุการณ์กราดยิงหมู่มีสี่สิ่งที่เหมือนกัน คือ
ความบอบช้ำทางจิตใจในวัยเด็ก และการเผชิญความรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อย
ความคับข้องใจที่ระบุได้หรือจุดวิกฤต
การตรวจสอบระบบความเชื่อของพวกเขา การศึกษาเหตุกราดยิงก่อนหน้านี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
วิธีการในการโจมตี
กรอบการทำงานใหม่นี้เน้นถึงความซับซ้อนของการก้าวไปสู่การกราดยิงหมู่ รวมถึงการที่แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถ "แพร่ระบาดทางสังคม"[ 62] ได้ และยังให้พิมพ์เขียวป้องกันเหตุกราดยิงหมู่ในครั้งต่อไปอีกด้วย โดยแต่ละหัวข้อหนึ่งในสี่หัวข้อแสดงถึงโอกาสในการถูกรบกวนก้าวก่าย ด้วยการบรรเทาการแพร่ระบาด (การตรวจสอบความถูกต้อง) การฝึกอบรมการลดความรุนแรงของการแทรกแซงภาวะวิกฤติ (วิกฤต) และการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาพยาบาลทางจิตที่มีราคาไม่แพง (การบาดเจ็บ) จะช่วยบรรเทาเหตุการณ์กราดยิงหมู่ได้
จากการพิจารณาความถี่ของเหตุกราดยิงหมู่จำนวนมากในสหรัฐ นักอาชญาวิทยา ปีเตอร์ สไควร์ กล่าวว่าวัฒนธรรมปัจเจกนิยมในสหรัฐทำให้ประเทศมีความเสี่ยงต่อเหตุกราดยิงหมู่มากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยสังเกตว่า "ประเทศอื่นอีกหลายประเทศที่มีการครอบครองปืนสูง เช่น นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวิตเชอร์แลนด์ และอิสราเอล มีแนวโน้มที่จะมีสังคมที่มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยมีสายสัมพันธ์ทางสังคมที่แข็งแรงคอยช่วยเหลือให้ผู้คนผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ และมีการสังหารหมู่ที่น้อยลง" ซึ่งเขาเป็นผู้สนับสนุนการควบคุมอาวุธปืน แต่เชื่อว่ามีเหตุกราดยิงมากกว่าความแพร่หลายของผู้ใช้ปืน[ 63] ส่วนของ ฟรังโก เบราร์ดี นักวิชาการด้านลัทธิมาร์กซิสต์ชาวอิตาลี ได้แย้งว่า ลัทธิปัจเจกนิยมมากเกินไป ความแปลกแยกทางสังคม และความสามารถในการแข่งขันที่เกิดมาจากอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ และระบบทุนนิยม ทำให้เกิดมือปืนจำนวนมากและทำให้ผู้คน "เกิดความผิดปกติ" (malfunction)[ 64]
สังคมศาสตร์และโครงสร้างครอบครัว
มีรายงานการเชื่อมโยงกันที่น่าสังเหตุในสหรัฐ ระหว่างเหตุกราดยิงหมู่กับความรุนแรงภายในหรือความรุนแรงในครอบครัวโดยคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครับปัจจุบันหรืออดีตสมาชิกถูกสังหาร คิดเป็น 76 คดี จาก 133 คดี (57%) และผู้กระทำผิดเคยถูกตั้งข้อหาใช้ความรุนแรงมาก่อน 21 คดี[ 65] [ 66]
การตอบสนอง
สื่อ
บางคนพิจารณาว่าความสนใจของสื่อเกี่ยวข้องกับผู้ก่อเหตุกราดยิงหมู่ เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ตามมาหรือไม่[ 67] เพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายบางส่วนได้ตัดสินใจให้ไม่เสนอชื่อผู้ต้องสงสัยในเหตุกราดยิงหมู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ก่อเหตุได้รับชื่อเสียงในทางลบ[ 68]
มีการศึกษาผลกระทบของข้อความที่ใช้ในการรายงานข่าวเหตุกราดยิงหมู่จำนวนมาก นักวิจัยศึกษาบทบาทของการรายงานข่าว ในการกำหนดทัศนคติต่อบุคคลที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง และการสนับสนุนของสาธารณชนต่อนโยบายการควบคุมการอาวุธปืน[ 69]
ใน พ.ศ. 2558 บทความที่ถูกเขียนโดยนักฟิสิกส์และนักสถิติ เชอร์รี่ ทาวเวอร์ พร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีก 4 คนได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีการแพร่กระจายของอาการกราดยิงหมู่จำนวนมากโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ [ 70] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2560 ทาวเวอร์ได้กล่าวว่าในการให้สัมภาษณ์ว่าเธอชอบรูปแบบของการกำกับดูแลกันเองของสื่อ มากกว่าการเซ็นเซอร์ สื่อ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่นเดียวกับในหลายปีก่อน สำนักข่าวหลัก ๆ ประสบความสำเร็จในการป้องกันการฆ่าตัวตายเลียนแบบ [ 71]
ใน พ.ศ. 2559 สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) เผยแพร่ข่าวแจก โดยอ้างว่ามีการแพร่กระจายของอาการกราดยิงหมู่ โดยสื่อและผู้ที่ชื่นชอบใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งควรจะงดเผยแพร่ชื่อและใบหน้าของผู้เสียหายเมื่อมีการรายงานเหตุการณ์กราดยิง เพื่อป้องกันการสร้างชื่อเสียงและผลงานของผู่ก่อเหตุซึ่งต้องการเป็นที่จดจำและเกิดการทำตาม[ 72]
สำนักข่าวบางแห่งให้นำหนักมากขึ้นในการพูดคุยเรื่องการควบคุมอาวุธปืน หลังจากเหตุโจมตีในแซนเบอร์นาร์ดีโนเมื่อ พ.ศ. 2558 พาดหัวหน้าแรกของ นิวยอร์กเดลินิวส์ ระบุว่า "พระเจ้าไม่ได้แก้ไขเรื่องนี้" (God isn't fixing this) พร้อมกับ "รูปภาพทวิตจากผู้นำพรรคริพับลิกันที่แชร์ธอตส์แอนด์แพรส์ ของพวกเขาต่อเหยื่อที่ถูกกราดยิง[ 73] [ 74] นับตั้งแต่การสังหารในอิสลาวิสตาใน พ.ศ. 2557 สำนักข่าวเชิงเสียดสี ดิอันเยิน ได้เผยแพร่บทความ "ไม่มีทางป้องกันสิ่งนี้ได้" มีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยมีการแก้ไขบทความเล็กน้อยหลังจากเหตุกราดยิงหมู่ครั้งใหญ่ เพื่อล้อเลียนฉันทามติของประชาชน ว่าสหรัฐ ขาดอำนาจทางการเมืองเพื่อป้องกันเหตุกราดยิงหมู่[ 75]
การปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืน
การตอบสนองต่อเหตุกราดยิงหมู่มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเทศและบรรยากาศทางการเมืองในประเทศขณะนั้น
ออสเตรเลีย
หลังจากการสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ ใน พ.ศ. 2539 ออสเตรเลีย ได้แก้ไขกฎหมายอาวุธปืน
นิวซีแลนด์
หลังจากเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ได้ประกาศห้ามใช้อาวุธกึ่งอัตโนมัติในรูปแบบทางทหารเกือบทั้งหมด[ 76]
สหราชอาณาจักร
ผลจากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ฮังเกอร์ฟอร์ด ในฮังเกอร์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และการสังหารหมู่ที่โรงเรียนดันเบลน ในสเตอร์ลิง สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร จึงได้ออกกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนที่มีความเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงมีโครงการรับซื้อปืนคืนเพื่อปลดอาวุธปืนบางประเภทออกจากการครอบครองของเอกชน รวมถึงตราพระราชบัญญัติอาวุธปืนฉบับแก้ไข พ.ศ. 2531 เพื่อจำกัดอาวุธปืนไรเฟิลและปืนลูกซอง และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฉบับแก้ไข พ.ศ. 2540 เพื่อจำกัดหรือทำให้ปืนพกจำนวนมากกายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[ 77]
เหตุกราดยิงหมู่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดสองครั้งหลังจากการแก้ไขกฎหมายเพื่อจำกัดอาวุธปืน ได้แก่ เหตุกราดยิงที่คัมเบรียใน พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย รวมถึงผู้ก่อเหตุ[ 78] [ 79] และเหตุกราดยิงที่พลีมัธใน พ.ศ. 2546 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย รวมถึงผู้ก่อเหตุ[ 80]
สหรัฐ
ในสหรัฐ การสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืนแตกต่างกันไปตามจุดยืนของพรรคการเมือง โดยพรรคเดโมแครตโดยปกติจะสนับสนุนการปฏิรูปอาวุธปืนนี้มากกว่า และเช่นกันในฝ่ายรีพลับลิกันโดยปกติจะต่อต้านมากกว่า ซึ่งบางคนในสหรัฐเชื่อว่าการบังคับใช้กฎหมายอาวุธปืนที่เข้มงวดมากขึ้นจะช่วยป้องกันเหตุกราดยิงหมู่ก็ได้ในอนาคต[ 81] ส่วนนักการเมืองบางคนในสหรัฐได้ออกกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบตรวจสอบประวัติการซื้อปืน[ 82] ซึ่งคนอเมริกันส่วนใหญ่สนับสนุนการตรวจประวัติก่อนการซื้อปืนที่เข้มงวดมากขึ้น ตาม “จากการสำรวจของมหาวิทยาลัย Quinnipiac ในคอนเนทิคัต พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียนกล่าวว่าพวกเขาจะสนับสนุนการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด (universal background checks) สำหรับผู้ซื้อปืนทุกคน”
คนอื่น ๆ ได้โต้แย้งว่าเหตุกราดยิงหมู่ไม่ควรเป็นจุดสนใจหลักในการอภิปรายเรื่องการปฏิรูปกฎหมายอาวุธปืน เพราะเหตุกราดยิงเหล่านั้นคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของอัตราการฆาตกรรมในสหรัฐ และเชื่อว่าเหตุกราดยิงหมู่เหล่านี้ยากที่จะหยุดยั้งได้ และเกิดการโต้เถียงกันว่าการให้พลเรือนสามารถพกอาวุธได้ในลักษณะมิดชิดจะสามารถลดการเกิดเหตุกราดยิงได้[ 83]
ตามที่ปีเตอร์ สไกวเออส์ นักอาชญาวิทยาชาวอังกฤษซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงเกี่ยวกับปืนในประเทศต่าง ๆ ระบุว่า เหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐนั้นอาจสืบเนื่องมาจาก "วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยม" ในสหรัฐ มากกว่ากฎหมายอาวุธปืน[ 84]
บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ปราศรัยเกี่ยวกับเหตุกราดยิงหมู่หลายครั้งระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมาของเขา โดยเรียกร้องให้มีกฎหมายความปลอดภัยของอาวุธปืนเพิ่มเติมในสหรัฐ[ 85] หลังจากเหตุกราดยิงโบสถ์ในชาร์ลสตัน และเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมสโตนแมน ดักลาส เขาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายความปลอดภัยของปืนอีกครั้ง และระบุว่าความถี่ในการเกิดเหตุกราดยิงหมู่ในสหรัฐนั้น "ไม่ได้คู่ขนานไปกับโลกใบนี้" (no parallel in the world)[ 86] โดยหลังจากเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมสโตนแมน ดักลาส ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ทั้งนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่างกลายเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเพื่อแบนการขายอาวุธจู่โจม (assault weapon) และลดการเข้าถึงอาวุธ ได้อย่างง่ายดาย[ 87]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ yodtong (2020-04-21). "America ส่อมิคสัญญี ทรัมป์จัดให้ ทวิตปลุกประชาชน "จับอาวุธ" จี้เปิดเมือง" . Thaimoveinstitute.com .
↑ Kuaha, Thamonwan (2020-02-11). "เหตุกราดยิง เรื่องสะเทือนขวัญ และสัญญาณอันตรายที่อาจบ่งบอกถึง 'อาการป่วย' ของสังคม" . a day BULLETIN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-10-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30 .
↑ "ส่องสัญญาณเตือน 'เหตุกราดยิง' ถอดบทเรียนงานวิจัยในสหรัฐ" . อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD . 2022-10-07.
↑ Chapman, S. (December 2006). "Australia's 1996 gun law reforms: faster falls in firearm deaths, firearm suicides, and a decade without mass shootings" . Injury Prevention . 12 (6): 365–72. doi :10.1136/ip.2006.013714 . PMC 2704353 . PMID 17170183 .
↑ "Text - H.R.2076 - 112th Congress (2011–2012) : Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012" . www.congress.gov . 2013-01-14.
↑ "General Methodology | Gun Violence Archive" . www.gunviolencearchive.org . สืบค้นเมื่อ 2020-01-07 .
↑ Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "US mass shootings, 1982–2022: Data from Mother Jones' investigation" . Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10 .
↑ Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "A Guide to Mass Shootings in America" . Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10 .
↑ Fox & DeLateur. Mass shootings in America: moving beyond Newtown . Homicide Studies, Vol 8 (1), pp 125–145.
↑ Lankford, Adam (2016-03-01). "Fame-seeking rampage shooters: Initial findings and empirical predictions" . Aggression and Violent Behavior (ภาษาอังกฤษ). 27 : 122–129. doi :10.1016/j.avb.2016.02.002 . ISSN 1359-1789 .
↑ Bjelopera, Jerome P. (March 18, 2013). "Public Mass Shootings in the United States: Selected Implications for Federal Public Health and Safety Policy" (PDF) . CRS Report for Congress. Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ December 8, 2015 . "There is no broadly agreed-to, specific conceptualization of this issue, so this report uses its own definition for public mass shootings."
↑ Weiss, Jeffrey (December 6, 2015). "Mass shootings in the U.S. this year? 353 — or 4, depending on your definition" . The Dallas Morning News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015 .
↑ Follman, Mark (December 3, 2015). "How Many Mass Shootings Are There, Really?" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ December 6, 2015 .
↑ Follman, Mark. "What Exactly Is A Mass Shooting" . Mother Jones . สืบค้นเมื่อ August 9, 2015 . What is a mass shooting? Broadly speaking, the term refers to an incident involving three or more deaths due to gun violence. But there is no official set of criteria or definition for a mass shooting, according to criminology experts and FBI officials contacted by Mother Jones.
↑ Follman, Mark (December 3, 2015). "How Many Mass Shootings Are There, Really?" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ December 6, 2015 .
↑ "PUBLIC LAW 112–265" (PDF) . United States Congress . January 14, 2013. สืบค้นเมื่อ December 6, 2015 .
↑ "Behind the Bloodshed" . USA Today . สืบค้นเมื่อ December 3, 2015 .
↑ "The terrible numbers that grow with each mass shooting" . The Washington Post .
↑ "About the Mass Shooting Tracker" . Mass Shooting Tracker . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016 .
↑ "Orlando club shootings: Full fury of gun battle emerges" . - BBC News . 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016 . Cites Mass Shooting Tracker
↑ "H.R. 2076 (112th) : Investigative Assistance for Violent Crimes Act of 2012" . govtrack.us . United States Congress . สืบค้นเมื่อ 20 February 2018 . (I) the term mass killings means 3 or more killings in a single incident;
↑ Greenberg, Jon; Valverde, Miriam; Jacobson, Louis. "What we know about mass shootings" . PolitiFact (ภาษาอังกฤษ). In January 2013, a mandate for federal investigation of mass shootings authorized by President Barack Obama lowered that baseline to three or more victims killed
↑ 23.0 23.1 "Report: U.S. averages nearly one mass shooting per day so far in 2017" . CBS News . สืบค้นเมื่อ 15 February 2018 .
↑ "About the Mass Shooting Tracker" . Mass Shooting Tracker . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016 .
↑ Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "A Guide to Mass Shootings in America" . Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10 .
↑ Follman, Mark; Aronsen, Gavin; Pan, Deanna. "US mass shootings, 1982–2022: Data from Mother Jones' investigation" . Mother Jones (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-10 .
↑ "General Methodology – Gun Violence Archive" . www.gunviolencearchive.org .
↑ "What is a Mass Shooting? What Can Be Done? | Department of Criminology" . crim.sas.upenn.edu . สืบค้นเมื่อ 2020-06-03 .
↑ Follman, Mark (July 27, 2012). " 'I Was a Survivor': Recalling a Mass Shooting 4 Years Ago Today" . Mother Jones . สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ Teves, Tom (July 31, 2015). " 'Something is very wrong in our society': Father of mass-shooting victim calls for an end to the carnage" . Salon . สืบค้นเมื่อ August 12, 2015 .
↑ Flynn, Sean (July 30, 2012). "Is he coming? Is he? Oh God, I think he is" . GQ . สืบค้นเมื่อ August 12, 2015 .
↑ Karlsson, Ingemar. "Memories of traumatic events among swedish police officers" . Stockholm University. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ Simmons, Laura (June 29, 2014). "Post Traumatic Stress Disorder in Mass Shooting Survivors" . Liberty Voice. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ "Impact of Mass Shootings on Individual Adjustment" (PDF) . ptsd.va.gov . National Center for PTSD. สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ 35.0 35.1 Frum, David (June 23, 2015). "Mass Shootings Are Preventable" . The Atlantic . สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ Kluger, Jeffrey (May 25, 2014). "Why Mass Killers Are Always Male" . Time . สืบค้นเมื่อ August 11, 2015 .
↑ Ford, Dana (July 24, 2015). "Who commits mass shootings?" . CNN .
↑ "Why are white men carrying out more mass shootings?" . Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-06 .
↑ Kellermann, A. L.; Mercy, J. A. (July 1992). "Men, women, and murder: gender-specific differences in rates of fatal violence and victimization". The Journal of Trauma . 33 (1): 1–5. ISSN 0022-5282 . PMID 1635092 .
↑ "U.S.: mass shootings by race 1982–2019" . Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-06 .
↑ Ford, Dana (July 24, 2015). "Who commits mass shootings?" . CNN .
↑ Buchanan, Larry; Leatherby, Lauren (June 22, 2022). "Who Stops a 'Bad Guy With a Gun'?" . The New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2022. Data source: Advanced Law Enforcement Rapid Response Training Center
↑ Cerfolio, Nina E.; Glick, Ira; Kamis, Danielle; Laurence, Michael (2022-09-01). "A Retrospective Observational Study of Psychosocial Determinants and Psychiatric Diagnoses of Mass Shooters in the United States" . Psychodynamic Psychiatry . 50 (3): 513–528. doi :10.1521/pdps.2022.50.5.001 . ISSN 2162-2590 . PMID 35175100 . S2CID 246903970 .
↑ Lankford, Adam; Cowan, Rebecca G. (September 2020). "Has the role of mental health problems in mass shootings been significantly underestimated?" . Journal of Threat Assessment and Management (ภาษาอังกฤษ). 7 (3–4): 135–156. doi :10.1037/tam0000151 . ISSN 2169-4850 . S2CID 234017401 .
↑ Peters, Justin (2013-12-19). "Mass shootings in America: Northeastern criminologists James Alan Fox, Monica J. DeLateur in Homicide Studies refute common myths about mass murder" . Slate.com . สืบค้นเมื่อ 2016-07-08 .
↑ Buchanan, Larry (December 3, 2015). "How They Got Their Guns" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ June 12, 2016 .
↑ De Freitas, Julian, and Mina Cikara. "Deep down my enemy is good: Thinking about the true self reduces intergroup bias." (2017)
↑ "High school students demand action on gun control following Parkland shooting – rabble.ca" . rabble.ca . 16 February 2018. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018 .
↑ Van Brunt, Brian, and W. Scott Lewis. "Costuming, misogyny, and objectification as risk factors in targeted violence." Violence and gender 1.1 (2014) : 25–35.
↑ Rocque, Michael. "Exploring school rampage shootings: Research, theory, and policy." The Social Science Journal 49.3 (2012) : 304–313.
↑ Campbell, Holly (2 December 2015). "Inside the mind of a mass murderer" . WANE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015 .
↑ Wolf, Amy (11 December 2014). "Mental Illness is the wrong scapegoat after mass shootings" . Vanderbilt University. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015 .
↑ Angry young Men and Mass Killings เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . The Huffington Post. 16 June 2016.
↑ "Finally understand why. Dave Cullen's Edgar-winning Columbine book: the Columbine killers, shooting & myths" . davecullen.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2016. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015 .
↑ Cullen, Dave (31 August 2015). "Inside the Warped Mind of Vester Flanagan and Other Shooters" . The New Republic . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015 .
↑ Bekiempis, Victoria (4 September 2015). "Meet Mass-Shooting Expert Mary Ellen O'Toole" . Newsweek . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 September 2015 .
↑ Fox, James Alan (16 January 2011). "The real causes of mass murder" . Boston.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2015. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015 .
↑ "James Alan Fox: In San Bernardino, focus on the murderous partnership" . USA Today . 3 December 2015. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017 .
↑ Wanamaker, John (8 October 2017). " 'This shooter is a little different': Hamline professor studies mass shootings" . MPR News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017 .
↑ "School Shootings and Possible Causes" . 14 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 December 2014. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018 .
↑ "Op-Ed: We have studied every mass shooting since 1966. Here's what we've learned about the shooters" . Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 August 2019. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019 .
↑ "Mass shootings: Experts say violence is contagious, and 24/7 news cycle doesn't help" . NBC News (ภาษาอังกฤษ). 5 August 2019. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019 .
↑ Dorell, Oren (18 December 2012). "In Europe, fewer mass killings due to culture not guns" . USA Today . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015 .
↑ McIntyre, Niamh (16 April 2015). "This Theorist Believes That Capitalism Creates Mass Murderers by Causing People to 'Malfunction' " . Vice . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019 .
↑ Melissa Jeltsen (18 July 2014). "Mass Shooting Analysis Finds Strong Domestic Violence Connection" . The Huffington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016 .
↑ "Analysis of Mass Shootings" . Everytownresearch.org . 20 August 2015. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016 . This analysis has later figures than reported in the article
↑ Birch, Jenna (27 July 2015). "Does Media Coverage After a Mass Shooting Do More Harm Than Good?" . Yahoo! News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015 .
↑ Elinson, Zusha; Lazo, Alejandro (4 October 2015). "More Police Decide Against Naming Mass-Shooting Suspects" . Wall Street Journal . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015 .
↑ McGinty, Emma (1 May 2013). "Effects of News Media Messages About Mass Shootings on Attitudes Toward Persons With Serious Mental Illness and Public Support for Gun Control Policies" . American Journal of Psychiatry . 170 (5): 494–501. doi :10.1176/appi.ajp.2013.13010014 . PMID 23511486 .
↑ Towers, Sherry; Gomez-Lievano, Andres; Khan, Maryam; Mubayi, Anuj; Castillo-Chavez, Carlos (2 July 2015). Yukich, Joshua (บ.ก.). "Contagion in Mass Killings and School Shootings" . PLOS One . 10 (7): e0117259. Bibcode :2015PLoSO..1017259T . doi :10.1371/journal.pone.0117259 . PMC 4489652 . PMID 26135941 .
↑ Towers, Sherry (6 December 2017). "Newsmaker Sunday: Sherry Towers" . Newsmaker Sunday (Interview). สัมภาษณ์โดย John Hook. Phoenix, Arizona, United States: Fox 10 Phoenix . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2018 .
↑ Johnston, Jennifer (4 August 2016). " "Media Contagion" Is Factor in Mass Shootings, Study Says" (Press release). American Psychological Association. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2021. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018 .
↑ Colin Campbell (2 December 2015). "Hard-hitting Daily News cover blasts Republicans for offering only 'prayers' after latest shooting" . Business Insider . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015 .
↑ Fang, Marina (2 December 2015). "New York Daily News Skewers Politicians Refusing to Act on Gun Violence: 'God Isn't Fixing This' " . Huffington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015 .
↑ Rosenberg, Eli. "Why this Onion article goes viral after every mass shooting" . The Washington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 November 2018 .
↑ Graham-McLay, Charlotte (10 April 2019). "New Zealand Passes Law Banning Most Semiautomatic Weapons, Weeks After Massacre" . The New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019 .
↑ Hartmann, Margaret (2 October 2015). "How Australia and Britain Tackled Gun Violence" . Daily Intelligencer . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015 .
↑ Herring, Keely; Jacobson, Louis. "Is Barack Obama correct that mass killings don't happen in other countries?" . www.politifact.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019 .
↑ Tarabay, Jamie; Dewan, Angela (4 October 2017). "What the UK and Australia did differently after mass shootings" . CNN . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018 .
↑ "Plymouth shooting: Suspected gunman and five others die" . BBC News . BBC. 13 August 2021. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021 .
↑ Collins, Sam (28 July 2015). "One Change To Our Gun Laws That Could Have Prevented The Last Mass Shooting" . Think Progress . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015 .
↑ Weinberg, Ali (2 October 2015). "These 6 Stalled Bills Aimed at Mass Shootings Like Umpqua Flounder in Congress" . ABC News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015 .
↑ Volokh, Eugene (3 October 2015). "Do civilians with guns ever stop mass shootings?" . The Washington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015 .
↑ Dorell, Oren. "In Europe, fewer mass killings due to culture not guns" . USA TODAY (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017 .
↑ Korte, Gregory (2 October 2015). "11 mass shootings, 11 speeches: How Obama has responded" . USA Today . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015 .
↑ Tani, Maxwell (2 December 2015). "OBAMA: 'We have a pattern now of mass shootings ... that has no parallel' " . Business Insider . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2015. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015 .
↑ Witt, Emily (19 February 2018). "How the Survivors of Parkland Began the Never Again Movement" . The New Yorker (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2018 .
แหล่งข้อมูลอื่น