ออลไอวอนต์ฟอร์คริสต์มาสอีสยู
"ออลไอวอนต์ฟอร์คริสต์มาสอีสยู" (อังกฤษ: All I Want for Christmas Is You) เป็นเพลงที่แต่งและโปรดิวซ์โดย มารายห์ แครี และ วอลเตอร์ อฟานาซีฟ ในอัลบั้มชุดที่ 5 ของแครีที่ชื่อ Merry Christmas (1994) เป็นเพลงที่บรรดาถึงผู้หญิงที่ไม่ต้องการของขวัญวันคริสต์มาสใด ๆ นอกจากคนรักของเธอเอง เพลงนี้ไม่ได้เป็นเพลงเดียวกับเพลงคริสต์มาสโดย ศิลปินคันทรี วินซ์ แวนซ์ แอนด์เดอะแวเลียนส์ เพลงเป็นซิงเกิลแรกของอัลบั้ม ออกเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 ติดชาร์ตท็อป 10 ในหลายประเทศ เดอะนิวยอร์กเกอร์ กล่าวว่า "เป็นหนึ่งในไม่กี่สิ่งที่มีคุณค่าของยุคใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเทศกาลวันหยุดทั่วไปได้"[1] เพลงนี้ถูกนำไปทำใหม่โดยหลายศิลปินเช่น จอห์น เมเยอร์, ชาเนีย ทเวน, ซามานธา มัมบา และวงดนตรีอย่าง มายเคมิคอลโรแมนซ์ วงเกิร์ลกรุปอย่าง เดอะชีทาห์เกิลส์ และไมลีย์ ไซรัส (ฮานนาห์ มอนทานา) รวมถึงยังนำไปร้องใหม่โดยโอลิเวีย ออลสัน จากภาพยนตร์เรื่อง Love Actually (2003) ในปลายปี 2006 เพลงนี้กลายเป็นเพลงริงโทนเทศกาล ที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดตลอดกาลที่สหรัฐอเมริกา[2] และยังติดอันดับขายดีที่สุดของชาร์ตริงโทนวันหยุดร่วมสมัยในสหรัฐอเมริกา 3 ปีติดต่อกัน ด้วยยอดถึง 1.8 ล้านดาวน์โหลด[3] และเป็นเพลงเทศกาลเพลงแรกที่มียอดดิจิทัลดาวน์โหลดเกิน 1 ล้าน ในสหรัฐอเมริกา[4] แครีได้รับสมญานาม "ราชินีแห่งคริสต์มาส" จากเพลงของเธอที่ได้รับความนิยมอย่างยาวนาน[5] ใน ค.ศ. 2017 มีรายงานว่าเพลงได้รับค่าสิทธิกว่า 60 ล้านดอลลาร์[6] นักเขียนจากฟอบส์ อัลวาเรซ ลอเรน อธิบายเพลงว่าเป็น "เพลงแห่งเทศกาลคริสต์มาส" และกล่าวซ้ำว่าเพลง "กลายเป็นเพลงคริสต์มาสอย่างไม่เป็นทางการในแต่ละปี"[7] เขียนให้แก่ไทม์ เคดี แลง ระบุว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยม หนึ่งในประเด็นที่เธอยกขึ้นมาคือ "เสียงนักร้องหญิงอันทรงพลังที่ยากจะหาได้"[8] แลงยังกล่าวผลถึงผลกระทบของเพลงที่มีต่อวัฒนธรรมประชานิยมระบุว่า "ออลไอวอนต์ฟอร์คริสต์มาสอีสยู" "เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเพลงป๊อป หรืออาจรวมถึงเพลงป๊อปคริสต์มาส สามารถสร้างคลื่นกระแสขนาดใหญ่ต่อผู้ฟังหรือแม้กระทั่งนักร้อง (และนักเขียนเพลง) ได้" การเรียบเรียงและเนื้อร้อง"ออลไอวอนต์ฟอร์คริสต์มาสอีสยู" เป็นเพลงจังหวะเร็ว เรียบเรียงด้วยอิทธิพลและการวางองค์ประกอบจากเพลงแนวป๊อป, โซล, อาร์แอนด์บี, กอสเปล และ ดนตรีร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่[9][10][11] จนถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม แครีมีเพลงต้นฉบับสองเพลงที่เขียนร่วมกับ อฟานาเซฟฟ์ อย่าง "เพลงเศร้าลำนำนิทาน" "มิสยูมอสต์ (แอตคริสต์มาสไทม์)" และ "เพลงกอสเปลกึ่งคริสต์มาสและมีความเป็นศาสนา" "จีซัสบอร์นออนดิสเดย์" สำหรับเพลงลำดับที่สามและเพลงต้นฉบับสุดท้าย ทั้งสองวางแผนที่จะเขียน "โดยอิงจากแนวเพลงของ ฟิล สเปคเตอร์ ผสมร็อกแอนด์โรล และเพลงคริสต์มาสที่ให้บรรยากาศช่วงปี 60"[12][13] เพลงเริ่มต้นด้วยเสียงระฆังจากเซเลสตรา ให้เสียงคล้ายกับกล่องดนตรีสมัยเก่าหรือลูกแก้วหิมะหน้าตาพิศวง[12][14] เสียงระฆังเปิดนำดนตรียังได้รับการบรรยายว่ามีความคล้ายกับโครงสร้างทางดนตรีของเซเลสตราจากเดอะนัทแครกเกอร์ โดย ไชคอฟสกี อธิบายว่าการสร้างอารมณ์ร่วมทางดนตรีและการวางชั้นเสียงอย่างค่อย ๆ ขององค์ประกอบทางดนตรีช่วย "สร้างความตื่นเต้นกับการมาถึงของวันหยุดเทศกาลอย่างช้า ๆ"[14] หลังการแนะนำเพลงผ่านเสียงร้องสไตล์อะแคปเปลลาของแครี เพลงดำเนินต่อด้วยเพอร์คัชชันอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องบ่งบอกถึงเทศกาลคริสต์มาสอย่าง ระฆังเสียงกังวาลแย้มรับการเฉลิมฉลองในโบสถ์ และ "ลีลาจังหวะรองรับ (underlying rhythmic beat) ที่ให้เสียงคล้ายม้าหรือกวางเรนเดียร์วิ่งเหยาะ ๆ เกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับเสียงทำนองศาสนาและทางโลกกังวาลสะท้อนกลับเหล่านี้ ทำให้เพลงมีจังหวะเร็วและมีเสียงที่น่ารื่นรมย์ แม้จะไม่หันเหไปทางทิศทางใดอย่างหุนหัน"[12] ในด้านของเนื้อร้อง เพลงนี้บรรยายว่านักร้องไม่สนใจแง่มุมทางวัตถุที่ธรรมดาในเทศกาลอย่างแสงไฟประดับประดา ต้นคริสต์มาส หิมะ หรือของขวัญ ตราบใดที่พวกเขาอยู่กับคนรักของเขาในวันคริสต์มาส เพลงนี้ประกอบรวมเครื่องดนตรีหลายเครื่อง ได้แก่ เปียโน กลองชุด ไวโอลิน โอโบ ฟลูต ไชม์ เอ็ฟเฟกต์เบส และคาวเบล[15][16] เพลงทำชั้นเสียงพื้นหลังตลอดช่วงคอรัสและท่อนแยก (bridge)[10] หลังการเล่นด้วยจังหวะแบบรูบาโต "ออลไอวอนต์ฟอร์คริสต์มาสอีสยู" กำหนดเทมโปอยู่ที่ 150 บีตต่อนาที อ้างอิงจากโน้ตดนตรีเผยแพร่ที่ Musicnotes.com โดย โซนี/เอทีวีมิวสิกพับบลิชชิง เพลงนี้กำกับด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะเป็น 4/4 (ซีเต็ม; common time) และในคีย์จีเมเจอร์ ช่วงเสียงของแครีในเพลงครอบคลุมตั้งแต่โน้ต จี3 ขึ้นสูงถึง เอ5[11] แครีเขียนเนื้อร้องเพลงและพัฒนาทำนองเพลง ขณะที่อฟานาเซฟฟ์ช่วยเรื่องการเรียบเรียงดนตรี เขายังเรียบเรียงและโปรแกรมเครื่องดนตรีทุกเครื่องโดยใช้แหล่งเสียงสังเคราะห์ (synthesized source)[10] อดัม รากูเซ จาก สเลท นับได้ว่ามี "คอร์ดที่มีความโดดเด่นอยู่อย่างน้อย 13 คอร์ดในเพลง ทำให้ได้ทำนองที่มีเสน่ห์และดูหรู (sumptuously chromatic melody)" เพลงยังรวมถึงสิ่งที่ผมพิจารณาว่าเป็นคอร์ดที่มีความเป็นคริสต์มาส (Christmassy) ในบรรดาเอไมเนอร์ของลำดับขั้นซับดอมิแนนต์ (โน้ตที่สี่) หรือคอร์ด 'iv' ใส่โน้ตที่หก ในเนื้อร้อง 'underneath the Christmas tree,' แทนที่จะเป็นที่อื่น (คุณอาจวิเคราะห์มันเป็นคอร์ดกึ่งดิมินิชด์ 'ii' โน้ตที่เจ็ด (half-diminished 7th chord) แต่การตีความไม่ว่าทางใดก็ถูกต้องทั้งสิ้น"[16] อันดับเพลง
ยอดขายและรางวัล
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia