ไพโรจน์ ใจสิงห์
ไพโรจน์ ใจสิงห์ (15 กันยายน พ.ศ. 2486 – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เป็นนักแสดงอาวุโส เข้าสู่วงการตั้งแต่ พ.ศ. 2514 และมีชื่อเสียงเป็นนักแสดงนำในช่วงปี พ.ศ. 2514–2516 แล้วจึงหันมารับบทตัวละครที่หลากหลาย ทั้งพระเอก ผู้ร้าย บทพ่อ และบทตลก ประวัติไพโรจน์ ใจสิงห์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2486 ที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย (มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในปัจจุบัน) เคยเป็นครูที่โรงเรียนสารวิทยา และโรงเรียนอำนวยศิลป์พระนครมาหลายปี ระหว่างสอนหนังสือก็ได้หารายได้พิเศษเล่นดนตรีตอนกลางคืน เข้าสู่วงการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 โดยรับบทพระเอกจากเรื่อง ดวง ของ เปี๊ยก โปสเตอร์ คู่กับวนิดา อมาตยกุล และสังข์ทอง สีใสเป็นตัวประกอบ[1] ตามด้วยการทำงานกับผู้กำกับมืออาชีพอีกหลายคน ได้แก่ คนสู้คน ของ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร คู่กับอรัญญา นามวงศ์ และชุมพร เทพพิทักษ์, เพชรตาแมว (จากละครวิทยุโด่งดังในอดีตโดยคณะกันตนา) ของประดิษฐ์ กัลย์จาฤก คู่กับนัยนา ชีวานันท์, ลูกชู้ ของมารุต คู่กับสุทิศา พัฒนุช และ สาวขบเผาะ ของเนรมิต คู่กับผึ้ง สุวรรณแพทย์ ในปี พ.ศ. 2515 ไพโรจน์เป็นนักแสดงคู่ขวัญกับวันดี ศรีตรัง มีผลงานแสดงนำร่วมกันหลายเรื่อง ช่วงปี พ.ศ. 2516 ได้แก่ ยอดสงสาร รัญจวนจิต สวรรค์เวียงพิงค์ เหลือแต่รัก น้ำตานาง ในช่วงที่ชีวิตการแสดงรุ่งเรือง จัดเป็นนักแสดงชั้นนำอันดับต้น ๆ ร่วมกับ สมบัติ เมทะนี, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล, นาท ภูวนัย ช่วงหลังปี พ.ศ. 2517 รับบทรองคู่กับกรุง ศรีวิไล และอุเทน บุญยงค์ ระยะหลังรับงานแสดงเป็นครั้งคราว กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งจากการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับภาพยนตร์โฆษณา เปิดตัวเบียร์ลีโอของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี เมื่อ พ.ศ. 2542[2][3] โดยผู้บริหารเจาะจงเลือกไพโรจน์ ใจสิงห์ให้แสดงโฆษณานี้ เพราะมีนามสกุลพ้องกับชื่อผลิตภัณฑ์เบียร์สิงห์ของบริษัท ภาพยนตร์โฆษณานี้เป็นแนวตลกขบขัน ไพโรจน์รับบทผู้ใหญ่บ้านจัดงานฉลองแต่งงานให้กับลูกสาว โดยเชิญผู้ว่าฯ มาเป็นประธาน เมื่อผู้ว่าฯ ได้ทดลองดื่มเบียร์ลีโอก็ติดใจในรสชาติ นั่งดื่มเบียร์จนถึงเช้า โฆษณาชุดนี้ถูกประท้วงจากกลุ่มผู้ว่าราชการจังหวัดว่าทำให้ภาพลักษณ์ของวิชาชีพเสียหาย[4] ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางโซติรส ใจสิงห์ (นก) มีบุตรทั้งหมด 9 คน[5] หนึ่งในนั้นคือ กฤษฎา ใจสิงห์ ศิลปินเพลงแนวอินดี้[6] เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไพโรจน์ได้ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ซีกซ้าย โดยเป็นหลายโรครุมเร้า เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจและต่อมลูกหมากโต ได้ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึกจนอาการดีขึ้น[7] ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556 ได้มีอาการทรุดลงอีกครั้งโดยมีอาการไข้ขึ้นสูง และเบื่ออาหาร จึงถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีอีกครั้ง[8] จนกระทั่งเช้ามืดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ไพโรจน์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 78 ปี หลังต้องเข้ารับการรักษาอาการป่วยจากโรครุมเร้า[9] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้มีพิธีฌาปนกิจศพ ณ วัดลาดพร้าว เวลา 17.00 น. ผลงานการแสดงภาพยนตร์
กำกับภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง
ละครโทรทัศน์ ช่อง 3
ละครโทรทัศน์ ช่อง 5
ละครโทรทัศน์ ช่อง 7
ละครโทรทัศน์ ช่อง 9
ละครโทรทัศน์ ช่อง ITV
ละครโทรทัศน์ ช่อง 11
ละครโทรทัศน์ ช่องเวิร์คพอยท์
ซิทคอม
โฆษณา
เพลง
มิวสิกวิดีโอ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia