โฮมสวีตโฮม : ออนไลน์
โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ เป็นเกมสยองขวัญแนวเอาชีวิตรอด ลงให้กับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในบริการ สตีม พัฒนาโดย อิ๊กดราซิล กรุ๊ป และ เป็นเกมภาคต่อจากเกม โฮมสวีตโฮม โดยที่หยิบยก นิวรณ์ โลกหลังความตายมาเป็นธีมหลัก โดยตัวเกมได้หยิบเล่าตำนานในไทย และ ต่างประเทศเข้ามารวมไว้ในตัวเกม และทำการสร้างเป็นตัวละคร และ แผนที่ต่างๆที่อยู่ในเกม ไว้ในที่เดียวกัน ตัวเกมจะมีโหมดการเล่นอยู่ 2 แบบ นั้นก็คือโหมดตัดนิวรณ์ (Battle Mode 4v4) ที่ออกแบบเพื่อลดข้อจำกัดด้านสมดุลของเกมอย่างสมบูรณ์ และ โหมดกรงวิญญาณ (Survive Mode 4v1) ที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการเล่นจากเกมเวอร์ชั่นเก่าอย่าง โฮมสวีตโฮม: เซอร์ไว ให้ดีขึ้น[1] เกมเพลย์โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ เป็นเกมสยองขวัญแนวเอาชีวิตรอด แบบ ผู้เล่นหลายคน โดยเกมนี้แบ่งเป็นทั้งหมดสองฝ่าย นั้นคือ ผู้มาเยือน (Visitor) หรือจะเรียกอีกอย่างนึงได้ว่า ผู้รอดชีวิต และ ผู้คุม (Warden) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อนึงว่าผี โดยจะมีโหมดการเล่นอยู่ 2 แบบ นั้นก็คือโหมดตัดนิวรณ์ (Battle Mode 4v4) และ โหมดกรงวิญญาณ (Survive Mode 4v1) โหมดกรงวิญญาณโหมดกรงวิญญาณ หรือ Survive Mode 4v1 เป็นโหมดเกมเพลย์แบบอสมมาตรที่รับการการพัฒนารูปแบบการเล่นจากเกมเวอร์ชั่นเก่าอย่าง โฮมสวีตโฮม: เซอร์ไว โอเพ่นเบต้าสอง ซึ่งมีระบบอยู่หลายอย่างที่ถูกเพิ่มเข้ามา และ หลายระบบที่ถูกพัฒนาให้สมดุลกันมากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งเป็น ผู้มาเยือน 4 คน และ ผู้คุม 1 คน โดยเกมนึงจะมีจำกัดเวลาอยู่ที่ 15 นาที โดยในฝั่งของผู้มาเยือนผู้เล่นจำเป็นต้องทำพิธีเพื่อทำการหลบหนีออกจากนิวรณ์ให้ได้โดยในการทำพิธีกรรม คุณจำเป็นจะต้องหาสิ่งของสองสิ่งเพื่อนำมาทำพิธี นั้นก็คือ กระถางธูป และ ตะปูสังฆวานร ซึ่งหาจากหีบอาคมที่สามารถหาได้ทั่วแผนที่ แล้วจะมีมินิเกม สกิลเช็ค เกิดขึ้น โดยต้องทำไปเรื่อยๆ จนครบ 3 พิธี จึงจะเริ่มมีประตูที่นำพาให้เราออกจากนิวรณ์ปรากฎขึ้นมา แต่ในระหว่างที่ทำพิธี หรือ สำรวจแผนที่อยู่นั้น เราก็ต้องคอยหลบหนีจากผู้คุมอยู่ตลอดเวลา โดยในการเคลื่อนที่จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับโดยมีการ การย่อง, การเดิน และ การวิ่ง ซึ่งการวิ่งนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ค่าพลังกาย (Stamina) เพื่อที่จะทำการ วิ่งหลบหนีผู้คุม การออกจากนิวรณ์เป็นหนึ่งในการที่ผู้มาเยือนจะชนะเกมนี้ และยังมีอีกวิธีที่สามารถจะชนะเกมนี้ได้อีกเช่นกัน นั้นคือการต่อสู้กับผู้คุม ในทั่วรอบแผนที่จะมีกล่องสีแดงอยู่ โดยทุกๆกล่องจะมีโอกาศเปิดสิ่งของได้อย่างละ 1 ชิ้น เพื่อนำมากำจัดผู้คุม แต่หากผู้มาเยือนสักคนถูกกำจัด ผู้มาเยือนคนนั้นจะทิ้งวิญญาณไว้ที่จุดสุดท้ายที่ถูกกำจัด และให้เพื่อนในทีมทำการคืนชีพให้ผู้มาเยือนคนนั้นได้ ซึ่งการคืนชีพผู้มาเยือนสามารถทำได้เพียงแค่ 1 รอบต่อคนเท่านั้น ส่วนในฝั่งของผู้คุมสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องทำคือการไล่ล่า ผู้มาเยือนทั้งหมดให้ได้ก่อนที่ผู้มาเยือนจะออกจากนิวรณ์ หรือ กำจัดผู้คุมไปเสียก่อน หากผู้คุมไม่สามารถโจมตีผู้มาเยือนได้ ผู้คุมจะค่อยๆ ได้รับ "Bloodseek" ซึ่งช่วยให้ผู้คุมเคลื่อนที่เร็วขึ้น หลอด Bloodseek จะสูงสุดอยู่ที่ 5 หลอด ระยะเวลาที่ผู้คุมจะได้รับ Bloodseek ขึ้นอยู่กับผู้คุมที่คุณเล่นด้วย โดยผู้คุมจะสามารถ ทำลายของที่ผู้มาเยือนสามารถตอบโต้ได้เช่น ประตู ล็อกเกอร์ หรือแม้แต่พิธี ซึ่งการทำลายพิธีนั้นจะทำการทำลายเป็นลดเปอร์เซ็นในการสวดของผู้มาเยือนออกไป และเมื่อผู้มาเยือนกำลังจะโจมตี ผู้คุมจะสามารถใช้สกิลป้องกันอาคม กันจากดาเมจต่างๆที่มาจาก อาวุธ ที่อยู่ในมือของผู้มาเยือน หรือ กับดักบางชนิดที่ผู้มาเยือนได้วางได้[2] โหมดตัดนิวรณ์ (ในปัจจุบันถูกปิดการให้บริการโหมดนี้)โหมดตัดนิวรณ์ หรือ Battle Mode 4v4 เป็นโหมดการเล่นใหม่ที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาในเกม โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ เป็นโหมดที่ต่างจากโหมด กรงวิญญาณโดยสิ้นเชิง โดยที่จะมีกฎใหม่ๆเข้ามาในการเล่น ซึ่งแต่แบ่งด้วยกันเป็น 2 ฝั่งโดยแต่ละฝั่งจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 คน โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวละครได้ทั้งผู้มาเยือน และ ผู้คุมได้ทั้งหมด โดยเกมนึงจะมีเวลาเล่นอยู่ทั้งหมด 15 นาที โดยจะทำการแข่งระหวางสองทีมระหว่างทีมสีม่วง และ ทีมสีเหลีอง โดยโหมดนี้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับเนื้อเรื่องในจักวาล โฮมสวีตโฮมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยทุกคนจะเริ่มต้นมาเป็นผู้มาเยือนที่ทุกคนนั้นได้เลือกไว้ก่อน โดยผู้เล่นจะต้องตามหาพิธี ในโหมดนี้จะไม่มีกล่องอาคมปรากฏ เพราะโหมดนี้ไม่ต้องการอุปกรณ์ทำพิธีเลยแม้แต่น้อย การทำพิธีจะเหมือนกับการทำพิธีในโหมดกรงวิญญาณ แต่แค่จะเร็วกว่ามากๆ พอทำพิธีสำเร็จ ผู้เล่นจะได้รับวิญญาณผู้คุมขึ้นมาโดยเมื่อใช้งาน ผู้เล่นจากผู้มาเยือน จะทำกลายร่างเป็นผู้คุมในระยะเวลาจำกัด ซึ่งจะแปลงได้แค่ 1 คน ต่อ ทีมเท่านั้น และเมื่อหลังจากกลายร่างกลับไปเป็นผู้มาเยือนแล้วจะไม่สามารถแปลงได้อีก จนกว่าเพื่อนร่วมทีมจะได้กลายร่างเป็นผู้คุมแล้วได้กลายร่างกลับมาเป็นผู้มาเยือนแล้วเท่านั้น โดยเมื่อกลายร่างเป็นผู้มาเยือนผู้เล่นจะได้ค่ากรรม (Karma) เอาไว้ และเมื่อกลายร่างกลับเป็นผู้มาเยือน ผู้เล่นจะได้ค่ากรรมนั้นไว้ชั่วคราว และหน้าที่ของผู้คุมคือการกำจัด ผู้มาเยือนในทีมฝั่งตรงข้ามให้ได้เยอะที่สุดก่อนที่เวลาจะหมดโดย การกำจัดผู้มาเยือนฝ่านตรงข้ามได้ 1 ครั้งจะทำให้ทีมของเราได้ 1 คะแนน แล้วถ้าสามารถกำจัดผู้มาเยือนที่มีค่ากรรมอยู่ด้วยล่ะก็จะได้คะแนนตามค่ากรรมของผู้มาเยือนที่ถูกกำจัด ผู้คุมสามารถต่อสู้กับผู้คุมฝั่งตรงข้ามได้อีกด้วยเพื่อเป็นการทำให้ผู้คุมฝ่ายตรงข้ามหยุดชะงัก ส่วนผู้มาเยือนคนอื่นๆก็ยังจะสามารถช่วยทำพิธีต่อเพื่อให้ได้วิญญาณผู้คุม ไว้ใช้เอง หรือให้ผู้คุมของเราได้ใช้เพื่อเพิ่มระยะเวลาของการเป็นผู้คุมให้กับผู้คุมได้ ผู้ม่เยือนจะสามารถกำจัดผู้คุมฝ่ายตรงข้ามได้เช่นเคย แต่ก็จะสามารถ ต่อสู้กับผู้มาเยือนฝั่งตรงข้ามได้อีกด้วยเช่นกัน[3] ไอเทมในตัวเกมจะมีระบบอยู่หลายๆอย่างซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ไอเทม ซึ่งจะเป็นสิ่งพิเศษที่มีเพืยงแค่่ผู้มาเยือนสามารถทำได้ ซึ่งจะปรากฏได้ตามกล่องแดงรอบๆ แผนที่ โดยทุกๆกล่อยจะมีโอกาศเปิดสิ่งของได้อย่างละ 1 ชิ้น เพื่อนำมากำจัดผู้คุม หรือช่วยทำให้ตัวผู้เล่นมีชีวิตรอด โดยของทั้งหมด จะมีด้วยกันทั้งหมดสองรูปแบบก็คือ ของที่อยู่ในมือของผู้มาเยือน และ กับดักของผู้มาเยือน สิ่งของที่อยู่ในมือของผู้มาเยือน
กับดักของผู้มาเยือน
เพิร์กผู้มาเยือน และ ผู้คุม ต่างจะสามารถใช้ความสามารถพิเศษได้ โดยแต่ละเพิร์กจะใช้ แต้มสกิลที่ต่างกัน โดยตัวละครทุกตัวจะจำกัดแต้มสกิลที่แตกต่างกัน ทุกตัวละครจะสามารถใส่เพิร์กได้สูงสุด 4 ความสามารถ ซึ่งจะทำให้ตัวละครของพวกเขามีความสามารถพิเศษที่แตกต่างกันระหว่างผู้มาเยือนและผู้คุม ผู้คุมจะไม่สามารถใช้ ความสามารถของผู้มาเยือนได้ และทางผู้มาเยือนก็ไม่สามารถใช้ความสามารถของผู้คุมได้เช่นกัน ตัวอย่างของความสามารถที่ผู้มาเยือนสามารถใช้ได้ก็จะมีความสามารถ ตาเหยี่ยว ที่จะช่วยในการทำพิธีได้เร็วขึ้น หรืออย่าง ปรมจารสายสิญจน์ ที่จะช่วยลดการวางกับดักสายสิญนจน์ได้ไวขึ้นครึ่งนึง ส่วนทางฝั่งของผู้คุม ก็มีความสามารถที่แตกต่างกันอย่างเช่น พ็อลเทอร์ไกสท์ จะทำให้เมื่อใช้สกิล ป้องกันอาคม เมื่อเดินผ่านสิ่งของที่ผู้มาเยือนสามารถผ่านไปได้ (อย่างเช่น: ประตูที่สามารถตอบโต้หรือพังได้ หรือ ผนังที่มีรอยแตก) จะทำการพังโดยทันที โดยที่จะไม่ติดแอนิเมชั่นพังสิ่งของ ผู้เล่นจะเริ่มมามี "เพิร์กทั่วไป" จำนวนหนึ่งที่ปลดล็อกตั้งแต่เริ่มเกมให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ โดยจะปลดล็อกไปเรี่อยๆตามการดำเนินของตัวเกม เมื่อปลดล็อกแล้วจะถูกปลดล็อกในร้านค้าในตัวเกม ผู้เล่นจะสามารถใช้เงินพดด้วง ในการแลกเปลี่ยนมาเป็นเพิร์กที่ต้องการได้ เครื่องราง และ ของขลังเมื่อผู้เล่นได้เล่นตัวละครผู้มาเยือน หรือ ผู้คุม ตัวเดิมมาได้แล้วจำนวนหนึ่ง ผู้เล่นจะได้รับ เครื่องรางประจำตัว (Relics) ในฝั่งของ ผู้มาเยือน และ ของขลัง (Curse) ในฝั่งผู้คุม ซึ่งเมื่อได้รับมาแล้วจะสามารถนำเครื่องราง ของขลังให้กับตัวละครอื่นๆได้ และเมื่อให้เครื่องรางของขลังให้กับตัวละครตัวอื่นแล้ว ตัวละครที่ได้รับจะสามารถใช้ความสามารถ ของตัวละครที่เป็นเจ้าของเครื่องรางหรือของขลังนั้นๆ แต่จะใช้ได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าหากได้เล่นตัวละครที่เป็นเจ้าของได้บ่อยขึ้น เครื่องรางของขวัญเหล่านั้นก็จะถูกเพิ่มระดับ โดยที่จะมีทั้งหมด 5 ระดับด้วยกัน ตั้งแต่ 0 ถึง 4 โดยจะต้องเล่นไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มเลเวลของตัวละครจาก 0 ถึง 30 และเมื่อตัวละครถึงเลเวล 30 จะได้เครื่องราง ของขลัง ระดับ 4 และจะสามารถใช้ความสามารถได้เต็มที่ขึ้นได้เรื่อยๆ และเมื่อได้นำเครื่องราง ของขลังไปใช้แล้วเมื่อจบเกมเครื่องรางหรือของขลังจะเสื่อมลง ผู้เล่นจำเป็นที่จะต้องใช้ Repair Kit ในการซ่อมแซมมันจะจะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ตัวละครผู้มาเยือนในเกมจะมีตัวละครให้ผู้มาเยือนอยู่ทั้งหมด 18 ตัวละคร ณ ขณะนี้ ตัวละครบางตัวได้รับต้นแบบและได้รับความร่วมมือมาจากยูปเบอร์ชื่อดังในไทย ตัวละครทั้งหมดจะถูกจัดเรียงด้านล่างนี้ตามการถูกปล่อยของตัวละคร
ผู้คุมในเกมจะมีตัวละครให้ผู้คุมอยู่ทั้งหมด 15 ตัวละคร ณ ขณะนี้ ตัวละครบางตัวได้รับต้นแบบและได้รับความร่วมมือมาจากยูปเบอร์ชื่อดังในไทย ตัวละครทั้งหมดจะถูกจัดเรียงด้านล่างนี้ตามการถูกปล่อยของตัวละคร
การร่วมมือโฮมสวีตโฮม ออนไลน์ ได้มีการร่วมมือกันกับยูทูปเบอร์ไทยหลายๆคนเพื่อนจับนำทำออกมาเป็นตัวละครหลายๆตัวพร้อมกับให้เสียงพากย์กับตัวละครตัวนั้น ในช่วงการเปิดตัวของ โฮมสวีตโฮม: เซอร์ไว อย่าง นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส หรือที่รู้จักกันดีในนาม Zbing z. ได้รับบทเป็น ปิ้ง สตรีมเมอร์สาวฝั่งผู้มาเยือน[4] พร้อมกับเพลงประจำตัวอย่าง ปลดเปลื้องอดีตที่ผ่านพ้น ที่ได้ ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส มาร้องด้วย เอก Heartrocker ที่ได้รับบทเป็น HRK สตรีมเมอร์หนุ่มที่มีความแค้นตัวละครฝั่งผู้คุม[5] พร้อมกับเพลงประจำตัวอย่าง ใจผูก...เจ็บ ที่ได้ ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส มาร้องด้วยเช่นกัน[6] ธนกฤต เชื้อวงษ์ หรือรู้จักกันดีในนาม BayRiffer ก็ได้รับบทเป็น ดอน ไชยะ คนขับรถเมย์ที่เผลอหลุดเข้ามาในนิวรณ์ฝั่งผู้มาเยือน และเขายังได้พากย์เป็น คนคุก อีกด้วย สุกานดา ครองยุทธ ที่รู้จักกันดีในนาม แป้งสามป๋องซาว ได้รับบทเป็นมิวมิวในฝั่งผู้มาเยือน[7] ไอช่า ไอศิกา วจนโรจน์'' วีทูปเบอร์ เจ้าของช่อง Aisha Channel ได้รับบทเป็น ไอช่า[8] และยังได้มีการร่วมมือกับซีรีย์ไทยเรื่อง คู่ไฟท์ไฝว้ผี โดยการนำตัวละครอย่าง อ๊อฟ เข้ามาในเกมอีกด้วย[9] ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ในช่วงก่อนการเปิดตัว โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ เนื่องจากปัญหาด้านเทคนิค ตัวเกมได้ร่วมมือกับ ชาตรามือ โดยตัวเกมได้ทำสกินไว้เฉพาะให้กับ นิภา และ ราตรี และเครื่องประดับอีกมากมาก โดยสามารถรับสกินและเครื่องประดับต่างๆได้จากการสุ่มโค้ดที่ได้มาจากการซื้อสินค้าในร้าน ชาตรามือ โดยที่จะมีชาพิเศษสำหรับกิจกรรมนี้คือ ชาพีชราตรี ที่วางขายอยู่ในช่วงนี้[10] ก่อนเกมจะปล่อยวางขายตัวเกมได้รับการร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในแคมเปญชื่อ "The Hunt for Amazing Cultures"[11], เพื่อเป็นการโปรโมทและเป็นซอฟต์พาวเวอร์ วัฒนธรรมไทยโดยการเพิ่มสกินให้ในชุดไทย ให้กับ ติม และ ราตรี หลังจากเปิดวางจำหน่ายแล้ว ตัวเกมได้เพิ่มแผนที่ใหม่ชื่อ "อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย" ที่อ้างอิงตามอุทยานในชีวิตจริงในจังหวัดนครราชสีมา[12] วางจำหน่ายตัวเกมได้เริ่มเปิดตัวมาจาก การเปิดเผยตัวอย่างความยาวประมาณ 2 นาที ในท้ายเครดิตของเกม โฮมสวีตโฮม EP.02 โดยตัวละครนั้น มีทั้งจากภาคหลัก และตัวละครใหม่ โดยวางจำหน่ายในพีซี และอาจจะมีการขยายแพลตฟอร์ม และเริ่มเปิดจากเกม โฮมสวีตโฮม: เซอร์ไว[13] ซึ่งได้เริ่มเปิดโอเพนเบต้าในวันที่ 25 มีนาคม 2564[14] และได้เปิดโอเพนเบต้า 2 ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565[15] จนมาถึงการเปิดตัว โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ เริ่มแรกเดิมทีจะเริ่มได้ทำการเปิดในวันที่ 1 มิถุนายน 2566[16] แต่เนื่องจากปัญหาผิดพลาดทางเทคนิค ตัวเกมจึงเลื่อนมาแบบไม่มีกำหนดจนได้ออกมาวางจำหน่ายในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 เสียงตอบรับยอดการขายภายใน 7 เดือนแรกของการวางจำหน่าย Home Sweet Home: Survive เวอร์ชัน open beta มียอดดาวน์โหลดรวมทั้งหมด 150,000 ดาวน์โหลด จากเป้าหมายเดิมเพียง 50,000 ดาวน์โหลด เกินเป้าหมาย 3 เท่าหรือ 150% ซึ่งถือว่าเป็นเกม ที่ได้รับความสนใจจากผู้เล่นอย่างสูง ประกอบกับในช่วงสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ด้วย[17] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia