โอภาส อรุณินท์
โอภาส อรุณินท์ (9 เมษายน พ.ศ. 2477 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)[1] เกิดที่กรุงเทพมหานคร [2] อดีตอัยการสูงสุด อดีตประธานคณะกรรมการอัยการ อดีตประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีชื่อเสียงมากในช่วงที่พิจารณาบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง โดยเฉพาะกรณีที่ ป.ป.ช. ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ นายโอภาสเป็นบุตรของนายเอี่ยม (อดีตข้าราชการตุลาการบำนาญ) และนางผ่อง อรุณินท์ สมรสกับทันตแพทย์หญิงยิ่งกมล อรุณินท์ (วัฒนสินธุ์) มีบุตร 2 คน [3],[4]คือ อริยา อรุณินท์ และนาย ภาส์กร อรุณินท์ (ถึงแก่กรรม)[5] วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร การศึกษาเนื่องจากชีวิตในวัยเด็กได้ย้ายตามบิดาที่เป็นผู้พิพากษา ไปประจำในต่างจังหวัด ทำให้ต้องย้ายสถานที่ศึกษาไปตามจังหวัดต่างๆ นั้นด้วย เริ่มชีวิตในวัยเด็ก มีภูมิลำเนาที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประสาทศิลป์ จังหวัดชลบุรี, โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี, แล้วกลับมาพำนักที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยศึกษาที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ต่อด้วยประโยคเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบนิติศาสตรบัณฑิต (รุ่น 3) ขณะที่ทำงานเป็นเสมียนศาลอาญา ต่อมาสอบได้เนติบัณฑิต (สมัยที่ 7) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[6] ประวัติการทำงานเริ่มงานครั้งแรกเป็นเสมียนศาลอาญา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2496 ต่อมาโอนรับราชการกรมอัยการ (ปัจจุบันคือ สำนักงานอัยการสูงสุด) ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ เริ่มตั้งแต่เป็นอัยการผู้ช่วยกองคดี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยประจำศาล จังหวัดแม่สอด พ.ศ. 2503, จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2505, จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2511 จากนั้นเข้าประจำกรมอัยการ ในตำแหน่งอัยการประจำกองที่ปรึกษา พ.ศ. 2514 อัยการประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2517 เลื่อนเป็นอัยการพิเศษประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2520 หัวหน้าพนักงานอัยการ กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2525 อัยการพิเศษฝ่ายฎีกา พ.ศ. 2527 อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี พ.ศ. 2529 อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา 1 ม.ค. 2530 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุดฝ่ายบริหาร ปลาย พ.ศ. 2530 (ระหว่างนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย,และเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา) และอัยการสูงสุดเมื่อ 1 ต.ค. 2536 และเกษียณอายุ เมื่อ 30 ก.ย. 2537[7],[8] หลังเกษียณอายุได้เข้าเป็นกรรมการร่างกฎหมายกฤษฎีกา และเป็นหนึ่งในประธานฯ/กรรมการ ป.ป.ป.ในสมัยรัฐบาล "บรรหาร" (22 ส.ค. 2538)[9],[10] ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสภาแต่งตั้ง (พ.ศ. 2539) จนลาออกจากประธาน ป.ป.ป. (23 มี.ค. 2542) เพื่อดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ป.ป.ช. [11],[12] ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (1 เม.ย. 2542 - ครบวาระ 24 ต.ค. 2546) มีผลงานหลายผลงาน โดยเฉพาะการร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ และผลงานที่สำคัญของกรรมการในชุดแรกนี้ [13], คือ
ผลงานด้านอื่น ๆผลงานด้านอื่น ๆ ตลอดชีวิตราชการ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมาย ตรวจสอบสัญญาของรัฐ นอกจากนี้นายโอภาสยังเป็นกรรมการของรัฐดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอภาส อรุณินท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้[21]
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia