โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม
โรงเรียนเซนต์แมรี่มหาสารคาม เป็นโรงเรียนคาทอลิกในเขตมิสซังอุบลราชธานี ประเภทสามัญศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนริมคลองสมถวิล ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สัญลักษณ์ตรา สัญลักษณ์และสีประจำโรงเรียน
ภายในรูปวงกลม เป็นรูปเทียนส่องแสงบนหนังสือที่เปิดอยู่ภายในวงกลม มีความหมายตรงตามปรัชญาดังนี้
“พระรูปครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” ประกอบด้วยพระกุมารเยซู พระนางมารีย์พรหมจารี และนักบุญโยเซฟ พระกุมารที่เป็นชื่อของโรงเรียนนั้นมาจากชื่อของพระเยซูคริสตเจ้าเมื่อเยาว์วัย ซึ่งได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จากบิดา คือนักบุญโยเซฟ และพระมารดา คือพระแม่มารีย์ ซึ่งโรงเรียนยึดถือเป็นแบบฉบับ ในด้านการให้การอบรมในชีวิตครอบครัว อันเป็นพื้นฐานแรกของชีวิตมนุษย์ในสังคม ซึ่งถือว่าครอบครัวเป็นโรงเรียนแห่งแรก ดังคติพจน์ที่ว่า “ครอบครัวดี สังคมดี” และสอดคล้องกับสัญลักษณ์ของโรงเรียน จึงกำหนดตราและความหมายของตราโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม
คติพจน์และปรัชญา
ประวัติโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนตามใบอนุญาตเลขที่ 42-32/0002 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาเขตมิสซังอุบลราชธานี บริหารงานโดยคณะบาทหลวงมิสซังอุบลราชธานี โดยมีบาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ เป็นผู้จัดการโรงเรียนคนแรก และซิสเตอร์บุญมี ดอกเกตุ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก[1] ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา(ปฐมวัย) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนกว่า 1600 คนและนักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม[2] ทำเนียบผู้จัดการโรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหาร
อาคาร สถานที่โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม มีเนื้อที่จำนวน 14 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา ประกอบด้วย อาคารปฐมวัย อาคารประถมศึกษา อาคารสำนักบริหาร อาคาร Saint Matthew โรงอาหาร อีกทั้งยังมีสนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอลและสระว่ายน้ำภายในโรงเรียนเรียน การจัดการศึกษาหลักสูตรที่เปิดสอนระดับปฐมวัยเปิดสอนในระดับอนุบาล 1 - อนุบาล 3 ใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ร่วมกับสถาบันวิจัยการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษาเปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ใช้หลักสูตรโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [3] โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มสาระหลัก ได้แก่ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระภาษาไทย กลุ่มสาระสังคมศึกษา กลุ่มสาระศิลปะ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia