โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เป็นสถานพยาบาล ประเภทองค์การมหาชน แห่งแรกของประเทศไทย[3] ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประวัติโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 โดยการบริจาคที่ดิน สนับสนุนกำลังทรัพย์ในการก่อสร้าง บนพื้นที่ 9 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา มีสถานะโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง จนพัฒนาเรื่อยมาเป็นโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง หลังจากเกิดวิกฤติเศรฐกิจในปี พ.ศ 2540 รัฐบาลที่นำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ การประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 รัฐบาลได้กำหนดแผนแม่บทการปฏิรูประบบการบริหารภาครัฐขึ้น[4][5] และ ได้สานต่อโดยรัฐบาล ซึ่งนำโดย นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเมษายน พ.ศ. 2542 และสาระสำคัญส่วนหนึ่งของการปฏิรูป คือ การทบทวนบทบาทภารกิจของงานที่ภาครัฐดำเนินการอยู่นั้น มีประสิทธิภาพหรือไม่ ขณะเดียวกันในปี พ.ศ. 2542 รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติองค์การมหาชนขึ้น[6] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย สำหรับปรับเปลี่ยนระบบการบริหารส่วนราชการ ประเภทที่จัดบริการสาธารณะให้เป็นระบบที่คล่องตัวขึ้นกว่าระบบราชการทั่วไป โรงพยาบาลของรัฐเป็นส่วนราชการที่เข้าข่ายกลุ่มที่อาจเปลี่ยนไปเป็นระบบองค์การมหาชนด้วย หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เมื่อ 1 ตุลาคม 2539 [7] กระทรวงสาธารณสุขได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยให้นักวิชาการจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข เสนอแนวคิดแก่ผู้แทน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ภาษาอังกฤษ : Asian Development Bank : ADB) เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล ด้วยการออกนอกระบบราชการเพื่อเพิ่มความอิสระในการบริหารงาน ซึ่งส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุข แสดงเจตจำนงในการเริ่มโครงการนำร่องแปรรูปโรงพยาบาลรัฐ ไปสู่ระบบใหม่ที่มีความเป็นอิสระคล่องตัวกว่าเดิม โดยเจตจำนงนี้เป็นพันธะส่วนหนึ่ง ของการที่รัฐบาลรับเงินกู้จากธนาคารระหว่างประเทศแห่งนี้ด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาแนวทางการแปรรูปโรงพยาบาล โดยได้ใช้ทุนวิจัยบางส่วนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย(จึงเรียกโครงการนี้ว่า"โครงการเอดีบี") โดยเน้นให้ใช้แนวทางรูปแบบองค์การมหาชน ไม่มุ่งเน้นแบบทุนนิยมหรือ Corporatized จึงมีการใช้ศัพท์ใหม่ว่า Autonomous Hospital เพื่อความชัดเจน โดยประยุกต์แนวคิดจากองค์การมหาชน จึงเกิดแนวคิดโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ รายชื่อโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนำร่องในการปฏิรูปโรงพยาบาล 7แห่ง
ในจำนวนนี้โรงพยาบาลบ้านแพ้วอาจถือได้ว่ามีความพร้อมมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมุ่งมั่นและการสนับสนุนของชุมชน (ปัจจุบันมีแค่ โรงพยาบาลบ้านแพ้วแห่งเดียวเท่านั้น ที่ออกนอกระบบ)[8] ในระยะเวลาช่วงเดียวกับการศึกษาโครงการเอดีบี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้สนับสนุนทุนวิจัย แก่ชุดโครงการวิจัยเรื่องนี้ด้วย[9][10][11][12] โดยในช่วงปี พ.ศ. 2542 สวรส. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของสังคม และมีส่วนผลักดันให้นโยบายนี้เป็นที่รู้เห็นของสาธารณชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้วเป็นองค์การมหาชน เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2542[13] กระทั่งได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 [14] โรงพยาบาลบ้านเพ้ว(องค์การมหาชน) เป็นองค์การมหาชนแห่งแรก และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา[15]ต่อมาได้เปิด โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว โดยมี พญ.พัทธ์ศรัณย์ ธนะสุพรรณ เป็นผู้อำนวยการ
การให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ให้บริการในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และเขตพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการให้บริการโดยการจัดตั้งสาขาการให้บริการ และศูนย์สุขภาพชุมชนในชุมชนต่างๆ ได้แก่
การดำเนินงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีแนวทางการบริหารตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโดย "คณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว" ปัจจุบันมีนายแพทย์ พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ[16] โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีรายได้จากการดำเนินงานสูงกว่าค่าใช้จ่าย จำนวน 97.55 ล้านบาท[17] และจากการประเมินองค์การมหาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่าโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้รับการประเมินในระดับดีเด่น[18] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia