โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ ชื่ออื่น Anorexia ภาพวาด "นางสาว A—" ในปี ค.ศ. 1866 และหลังรับการรักษาในปี ค.ศ. 1870 เธอเป็นผู้ป่วยโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจรายแรก ๆ ที่มีการบันทึกไว้ ภาพจากเอกสารการแพทย์ของวิลเลียม กอล สาขาวิชา จิตเวชศาสตร์ อาการ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ , อาการกลัวน้ำหนักขึ้น, มีความต้องการผอมอย่างมาก, การจำกัดอาหาร [ 1] ภาวะแทรกซ้อน โรคกระดูกพรุน , ภาวะการมีบุตรยาก , โรคหัวใจ, การฆ่าตัวตาย [ 1] การตั้งต้น วัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[ 1] สาเหตุ ไม่ทราบ[ 2] ปัจจัยเสี่ยง ประวัติในครอบครัว, นักกีฬา, นักเดินแบบ , นักเต้นรำ [ 2] [ 3] [ 4] โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ , โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา , ความผิดปกติเหตุสารเสพติด , ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน , โรคลำไส้อักเสบ , การกลืนลำบาก , มะเร็ง [ 5] [ 6] การรักษา การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม , การรักษาด้วยการเพิ่มน้ำหนักในโรงพยาบาล[ 1] [ 7] พยากรณ์โรค เสี่ยงต่อการเสียชีวิต 5% หากป่วยเกินกว่า 10 ปี[ 3] [ 8] ความชุก 2.9 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[ 9] การเสียชีวิต 600 คน (ค.ศ. 2015)[ 10]
โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (อังกฤษ : anorexia nervosa ) หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นความผิดปกติของการรับประทาน ที่ผู้ป่วยมีลักษณะน้ำหนักลด จำกัดอาหาร มีความกลัวน้ำหนักขึ้นและมีความต้องการที่จะผอมอย่างมาก[ 1] ผู้ป่วยอะนอเร็กเซียมักมองว่าตัวเองมีน้ำหนักเกินทั้งที่ในความจริงมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมักปฏิเสธว่าตัวเองมีปัญหาด้านน้ำหนักลด พวกเขามักใช้วิธีลดน้ำหนักด้วยการทานน้อย ออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ตัวเองอาเจียนหรือใช้ยาระบาย[ 1] ภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ได้แก่โรคกระดูกพรุน ภาวะการมีบุตรยาก โรคหัวใจ ในผู้หญิงมักพบภาวะขาดประจำเดือน [ 3]
สาเหตุของอะนอเร็กเซียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ายีนบางตัวส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นแฝดแท้มากกว่า[ 2] ปัจจัยด้านสังคมที่ให้คุณค่ากับความผอมส่งผลให้อัตราโรคนี้สูงขึ้นเช่นกัน โรคอะนอเร็กเซียพบได้ในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์เช่น นักกีฬา นักเดินแบบและนักเต้นรำ รวมถึงหลังจากประสบความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ[ 3] การวินิจฉัยทั่วไปจะใช้การวัดน้ำหนักและแบ่งความรุนแรงตามดัชนีมวลกาย (BMI) ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอะนอเร็กเซียระดับต่ำจะมีค่า BMI สูงกว่า 17, ระดับกลาง BMI 16-17, ระดับสูง BMI 15-16 และระดับร้ายแรง BMI ต่ำกว่า 15[ 3] โรคอะนอเร็กเซียมีภาวะตั้งต้นในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[ 1]
การรักษาโรคอะนอเร็กเซียจะเป็นการฟื้นฟูน้ำหนัก รักษาด้านจิตใจและพฤติกรรม มีรายงานว่าการบำบัดแบบอื่น ๆ เช่นการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม และการบำบัดครอบครัวมอดส์ลีย์ ได้ผลเช่นกัน[ 11] ผู้ป่วยบางรายอาจประสบโรคนี้ช่วงเดียวแล้วอาการดีขึ้น ในขณะที่บางรายอาจป่วยได้หลายช่วงในเวลาหลายปี มีรายงานว่าภาวะแทรกซ้อนจะลดลงหากกลับมามีน้ำหนักตามเกณฑ์อีกครั้ง[ 7]
มีผู้ป่วยอะนอเร็กเซียทั่วโลกประมาณ 2.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015[ 9] โดยพบว่า ผู้หญิงชาวตะวันตกประมาณ 0.9-4.3% และผู้ชายชาวตะวันตก 0.2-0.3% จะประสบโรคนี้ในช่วงหนึ่งของชีวิต[ 12] ในปี ค.ศ. 2015 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรงประมาณ 600 คน[ 10] และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น การฆ่าตัวตาย [ 12] วิลเลียม กอล แพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้นิยามชื่อโรคและบรรยายถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1873[ 13] โดยมาจากคำในภาษากรีก ἀνορεξία (anorexía) ที่แปลว่า "ไม่อยากอาหาร" ดังนั้น anorexia nervosa จึงมีความหมายว่า "ผู้ป่วยทางจิตที่ไม่อยากอาหาร"[ 14]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "What are Eating Disorders?" . NIMH . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015 .
↑ 2.0 2.1 2.2 Attia E (2010). "Anorexia Nervosa: Current Status and Future Directions". Annual Review of Medicine . 61 (1): 425–35. doi :10.1146/annurev.med.050208.200745 . PMID 19719398 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5 ed.). Washington: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 338–345. ISBN 978-0-89042-555-8 .
↑ Arcelus, J; Witcomb, GL; Mitchell, A (March 2014). "Prevalence of eating disorders amongst dancers: a systemic review and meta-analysis". European Eating Disorders Review . 22 (2): 92–101. doi :10.1002/erv.2271 . PMID 24277724 .
↑ Parker, Robert; Sharma, Asheesh (2008). General Medicine (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 56. ISBN 978-0723434610 .
↑ M.D, Michael B. First (19 November 2013). DSM-5 Handbook of Differential Diagnosis . American Psychiatric Pub. ISBN 9781585624621 – โดยทาง Google Books.
↑ 7.0 7.1 "Feeding and eating disorders" (PDF) . American Psychiatric Publishing. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 1 May 2015. สืบค้นเมื่อ 9 April 2015 .
↑ Espie J, Eisler I (2015). "Focus on anorexia nervosa: modern psychological treatment and guidelines for the adolescent patient" . Adolesc Health Med Ther . 6 : 9–16. doi :10.2147/AHMT.S70300 . PMC 4316908 . PMID 25678834 .
↑ 9.0 9.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015" . Lancet . 388 (10053): 1545–1602. doi :10.1016/S0140-6736(16)31678-6 . PMC 5055577 . PMID 27733282 .
↑ 10.0 10.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015" . Lancet . 388 (10053): 1459–1544. doi :10.1016/S0140-6736(16)31012-1 . PMC 5388903 . PMID 27733281 .
↑ Hay, P (July 2013). "A systematic review of evidence for psychological treatments in eating disorders: 2005–2012" . The International Journal of Eating Disorders . 46 (5): 462–9. doi :10.1002/eat.22103 . PMID 23658093 .
↑ 12.0 12.1 Smink, FR; van Hoeken, D; Hoek, HW (August 2012). "Epidemiology of eating disorders: incidence, prevalence and mortality rates" . Current Psychiatry Reports . 14 (4): 406–14. doi :10.1007/s11920-012-0282-y . PMC 3409365 . PMID 22644309 .
↑ Gull, WW (September 1997). "Anorexia nervosa (apepsia hysterica, anorexia hysterica). 1868". Obesity Research . 5 (5): 498–502. doi :10.1002/j.1550-8528.1997.tb00677.x . PMID 9385628 .
↑ Douglas Harper (November 2001). "Online Etymology Dictionary: anorexia" . Online Etymology Dictionary . สืบค้นเมื่อ 2019-06-15 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ภาวะสมองเสื่อม (
โรคอัลไซเมอร์ ,
ในโรคเนื้อสมองตายจากการขาดเลือดหลายแห่ง ,
โรคพิค ,
โรคเครอต์เฟลดต์-จาคอบ ,
โรคฮันติงตัน ,
โรคพาร์กินสัน ,
ภาวะสมองเสื่อมในโรคเอดส์ ,
ภาวะสมองกลีบหน้าและกลีบขมับเสื่อม ,
กลุ่มอาการซันดาวน์ ,
การเดินโดยไม่มีจุดหมายแน่นอน ,
ความผิดปกติเล็กน้อยในด้านปริชาน )
· อาการเพ้อ · กลุ่มอาการที่เกิดหลังสมองถูกกระแทกกระเทือน · กลุ่มอาการทางสมองจากโรคทางกาย
แอลกอฮอล์ (
พิษสุราเฉียบพลัน ,
เมาสุรา ,
การติดสุรา ,
ภาวะประสาทหลอนจากสุรา ,
ภาวะถอนสุรา ,
ภาวะเพ้ออย่างรุนแรง ,
กลุ่มอาการคอร์ซาคอฟ ,
การใช้สุราในทางที่ผิด )
· ฝิ่น และโอปิออยด์ (
การใช้ฝิ่นเกินขนาด ,
การติดโอปิออยด์ )
· ยากล่อมประสาท /ยานอนหลับ (
การใช้เบนโซไดอะซีปีนเกินขนาด ,
การติดเบนโซไดอะซีปีน ,
ภาวะถอนเบนโซไดอะซีปีน )
· โคเคน (
การเป็นพิษจากโคเคน ,
การติดโคเคน )
· กลุ่มอาการรับรู้ผิดปกติหลังได้รับสารหลอนประสาท · ทั่วไป (
การเป็นพิษ /
การใช้ยาเกินขนาด ,
การติดทางกาย ,
การติดยา ,
ผลย้อนกลับ ,
ภาวะถอนยา )
สรีรวิทยา/ปัจจัยทางกายภาพ
บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้ใหญ่