โรคพยาธิแส้ม้า
Trichuriasis หรือ โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากพยาธิที่ชื่อว่า Trichuris trichiura (พยาธิแส้ม้า)[1] หากพยาธิมีเพียงไม่กี่ตัว ก็มักจะไม่มีอาการใด ๆ[2] ส่วนผู้ที่ติดเชื้อพยาธิจำนวนมาก อาจมีอาการปวดท้อง, อ่อนเพลียและท้องร่วง[2] บางครั้งในผู้ที่ท้องร่วงรุนแรงอาจถ่ายเป็นมูกเลือดได้[2] เด็กที่ติดเชื้อพยาธิอาจมีความเสื่อมถอยทางสติปัญญาและพัฒนาการทางกายภาพ[2] การสูญเสียเลือดอาจก่อให้เกิดระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ[1] สาเหตุโดยทั่วไปโรคนี้แพร่กระจายโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีไข่พยาธิปนปนอยู่[2] ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ได้ล้างหรือปรุงผักที่มีไข่พยาธิปนเปื้อนอย่างถูกสุขลักษณะ[2] โดยมากไข่พยาธิเหล่านี้มักปะปนอยู่ในดินบริเวณที่มีคนการถ่ายอุจจาระนอกส้วม และบริเวณที่มีการนำอุจจาระคนที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อมาใช้ทำเป็นปุ๋ย[1] ไข่พยาธิมีที่มาจากอุจจาระของผู้ที่มีพยาธิ[2] เด็กเล็กที่เล่นกับดินดังกล่าวและใส่มือในปากมักจะติดพยาธิได้ง่าย[2] ตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ในลำไส้ลำไส้ใหญ่ และมักมีความยาวประมาณสี่เซนติเมตร[1] การวินิจฉัยโรคพยาธิแส้ม้าทำได้โดยการตรวจไข่พยาธิในอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์[3] ไข่พยาธิมีรูปทรงคล้ายกระบอกสูบ[4] การป้องกันและการรักษาการป้องกันพยาธิทำได้โดยการปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และการล้างมือก่อนทำอาหาร[5] มาตรการป้องกันอื่น ๆ คือการพัฒนาสุขอนามัย เช่น การใช้ส้วมที่สะอาดและเหมาะสมสำหรับการใช้งาน[5] และการดื่มน้ำสะอาด[6] ในภูมิภาคของโลกที่พบการติดเชื้อได้ทั่วไป มักทำการรักษากลุ่มคนทั้งหมดในคราวเดียวกันและสม่ำเสมอเป็นประจำ[7] การรักษาคือการให้ยาอัลเบนดาโซล (albendazole), มีเบนดาโซล (mebendazole) หรือ ไอเวอมิคทิน (ivermectin) เป็นเวลาสามวัน[8] หลังจากการรักษาผู้ป่วยมักได้รับเชื้อพยาธิอีก[9] ข้อมูลทางพยาธิวิทยาผู้ที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้าในทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 600 ถึง 800 ล้านคน[1][10] มักพบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนชื้น[7] ในประเทศที่กำลังพัฒนา มักพบว่าผู้ที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้าจะติดเชื้อพยาธิปากขอ และพยาธิไส้เดือนด้วยเช่นกัน[7] โรคนี้ส่งผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ[11] การพัฒนาวัคซีนเพื่อต่อต้านโรคนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ[7] โรคพยาธิแส้ม้าถูกจัดว่าเป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[12] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia