โรคลำไส้ (intestinal disorder) บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก MeSH D003109
โรคทางเดินอาหารโดยหน้าที่ (อังกฤษ : functional gastrointestinal disorders ตัวย่อ FGID)
หรือ โรคทางเดินอาหารที่ไม่รู้สาเหตุ
รวมโรค ที่ไม่รู้สาเหตุต่าง ๆ หลายอย่างซึ่งมีผลต่อทางเดินอาหาร ส่วนต่าง ๆ และมีอาการเป็นความไวเจ็บ/ปวดอวัยวะภายในและการบีบตัวผิดปกติของทางเดินอาหาร[ 1]
การจัดหมู่
ศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษว่า functional colonic disease หรือ functional bowel disorder หมายถึงกลุ่มโรคลำไส้ซึ่งมีอาการปวดท้องเรื้อรังโดยไร้เหตุทางโครงสร้างหรือทางเคมีชีวภาพที่สามารถอธิบายอาการเช่นนี้ได้
ดังนั้น โรคหน้าที่ อื่น ๆ จึงหมายถึงปัญหาด้านอื่น ๆ ของกระบวนการย่อยอาหาร
กระบวนการทบทวนวรรณกรรมเพื่อความเห็นพ้อง ของมูลนิธิโรม ที่รู้จักกันว่า กระบวนการโรม (Rome process) ได้ช่วยนิยามโรคทางเดินอาหารโดยหน้าที่[ 2]
การทบทวน Rome I, Rome II, Rome III และ Rome IV จึงได้เสนอระบบการจัดหมู่และศัพท์โดยอาศัยความเห็นพ้องและคำแนะนำจากคณะกรรมการประสานงานโรม (Rome Coordinating Committee)
ปัจจุบันจึงมีหมวดหมู่ทั้งสำหรับผู้ใหญ่ เด็ก และเด็กเกิดใหม่/เด็กฝึกเดิน
ต่อไปนี้เป็นหมวดหมู่ Rome IV ที่เผยแพร่ในปี 2016[ 1]
A. โรคหลอดอาหาร (Esophageal Disorders)
B. Gastroduodenal Disorders (โรคกระเพาะ-ต้นลำไส้เล็ก)
B1. อาหารไม่ย่อย ไม่ทราบสาเหตุ (functional dyspepsia)
B1a. อึดอัดหลังอาหาร (postprandial distress syndrome)
B1b. ปวดใต้ลิ้นปี (epigastric pain syndrome)
B2. โรคเรอ (Belching disorders )
B2a. Excessive supragastric belching (โรคเรอเหตุเหนือกระเพาะอาหาร)
B2b. Excessive gastric belching (โรคเรอเหตุกระเพาะอาหาร)
B3. โรคคลื่นไส้ และอาเจียน
B3a. อาการคลื่นไส้แล้วอาเจียนเรื้อรัง (chronic nausea vomiting syndrome)
B3b. Cyclic vomiting syndrome (CVS) (อาการอาเจียนเป็นรอบ ๆ)
B3c. อาการอาเจียนร้ายแรงเหตุกัญชา (Cannabinoid hyperemesis syndrome)
B4. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)
C. โรคลำไส้ (Bowel Disorders)
C1. กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS )
IBS ที่หนักด้วยท้องผูก (IBS-C )
IBS ที่หนักด้วยท้องร่วง (IBS-D )
IBS ที่ถ่ายอย่างผสม (IBS-M )
IBS ที่ไม่จัดหมู่ (IBS-U )
C2. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)
C3. ท้องร่วงตามหน้าที่ (functional diarrhea)
C4. functional abdominal bloating/distension
C5. unspecified functional bowel disorder
C6. ท้องผูกเหตุโอปิออยด์ (opioid-induced constipation)
D. Centrally Mediated Disorders of Gastrointestinal Pain
D1. Centrally mediated abdominal pain syndrome (CAPS)
D2. Narcotic bowel syndrome (NBS) / Opioid-induced GI hyperalgesia
E. Gallbladder and Sphincter of Oddi disorders
E1. การเจ็บที่ถุง/ท่อน้ำ (biliary pain)
E1a. โรคถุงน้ำดีตามหน้าที่ (functional gallbladder disorder )
E1b. functional biliary sphincter of Oddi disorder
E2. Functional pancreatic sphincter of Oddi disorder
F. โรคทวารหนักและไส้ตรง (anorectal disorders)
F1. กลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence)
F2. ภาวะเจ็บทวารหนักและไส้ตรงตามหน้าที่ (functional anorectal pain)
F2a. Levator ani syndrome
F2b. Unspecified functional anorectal pain
F2c. Proctalgia fugax
F3. ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระตามหน้าที่ (functional defecation disorders)
F3a. Inadequate defecatory propulsion
F3b. Dyssynergic defecation
G. โรคทางเดินอาหารตามหน้าที่ในวัยเด็ก: เด็กเกิดใหม่/เด็กหัดเดิน (Childhood Functional GI Disorders: Neonate/Toddler)
G1. การขย้อนของทารก (infant regurgitation)
G2. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)
G3. Cyclic vomiting syndrome (CVS)
G4. Infant colic
G5. ท้องร่วงตามหน้าที่ (functional diarrhea)
G6. Infant dyschezia
G7. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)
H. โรคทางเดินอาหารตามหน้าที่ในวัยเด็ก: เด็กเกิดใหม่/เด็กหัดเดิน (Childhood Functional GI Disorders: Neonate/Toddler)
H1. Functional nausea and vomiting disorders
H1a. Cyclic vomiting syndrome (CVS)
H1b. การคลื่นไส้และอาเจียนตามหน้าที่ (functional nausea and functional vomiting)
H1b1. การคลื่นไส้ตามหน้าที่ (functional nausea)
H1b2. การอาเจียนตามหน้าที่ (Functional vomiting)
H1c. กลุ่มอาการสำรอก (rumination syndrome)
H1d. อาการกลืนอากาศ (aerophagia)
H2. โรคปวดท้องตามหน้าที่ (functional abdominal pain disorders)
H2a. อาหารไม่ย่อยตามหน้าที่ (Functional dyspepsia)
H2a1. อาการปวดท้องหลังอาหาร (postprandial distress syndrome)
H2a2. อาการปวดยอดอก (epigastric pain syndrome)
H2b. กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS )
H2c. Abdominal migraine
H2d. Functional abdominal pain ‒ NOS
H3. โรคถ่ายอุจจาระตามหน้าที่ (functional defecation disorders)
H3a. ท้องผูกตามหน้าที่ (functional constipation)
H3b. Nonretentive fecal incontinence
การระบาด
โรคกระเพาะลำไส้สามัญมาก
ทั่วโลก แค่โรค IBS และอาหารไม่ย่อยตามหน้าที่เพียงสองอย่างก็มีผลต่อประชากร 16-26% แล้ว[ 1] [ 3]
งานวิจัย
มีงานวิจัยพอสมควรในเรื่องเหตุ การวินิจฉัย และการรักษาโรคกลุ่มนี้ (FGID )
อาหาร จุลินทรีย์ในร่างกาย พันธุกรรม การทำงานของระบบประสาท-กล้ามเนื้อ และการตอบสนองของระบบภูมิต้านทาน ล้วนมีบทบาทในการเกิดโรค[ 1]
แม้การปลุกฤทธิ์แมสต์เซลล์ ก็เสนอว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งด้วย[ 4] [ 5]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Drossman, DA (2016). "Functional Gastrointestinal Disorders: History, Pathophysiology, Clinical Features and Rome IV". Gastroenterology . 150 (6): 1262–1279. doi :10.1053/j.gastro.2016.02.032 . PMID 27144617 .
↑ "Rome Foundation // Scoring Rome III Questionnaire using SAS" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29 .
↑ Sperber AD, Drossman DA, Quigley EM (2012). "The global perspective on irritable bowel syndrome: a Rome Foundation-World Gastroenterology Organisation symposium". Am. J. Gastroenterol . 107 (11): 1602–9. doi :10.1038/ajg.2012.106 . PMID 23160283 .
↑
Wouters MM, Vicario M, Santos J (2015). "The role of mast cells in functional GI disorders". Gut . 65 : 155–168. doi :10.1136/gutjnl-2015-309151 . PMID 26194403 . It is well established that mast cell activation can generate epithelial and neuro-muscular dysfunction and promote visceral hypersensitivity and altered motility patterns in FGIDs, postoperative ileus, food allergy and inflammatory bowel disease.
↑
Bashashati, M; Moossavi, S; Cremon, C; Barbaro, MR; Moraveji, S; Talmon, G; Rezaei, N; Hughes, PA; Bian, ZX; Choi, CH; Lee, OY; Coëffier, M; Chang, L; Ohman, L; Schmulson, MJ; McCallum, RW; Simren, M; Sharkey, KA; Barbara, G (มกราคม 2018). "Colonic immune cells in irritable bowel syndrome: A systematic review and meta-analysis". Neurogastroenterology & Motility . 30 (1). doi :10.1111/nmo.13192 . PMID 28851005 . Mast cells and CD3+ T cells are increased in colonic biopsies of patients with IBS vs non-inflamed controls