โตโยต้า พลัตซ์
โตโยต้า พลัตซ์ (อังกฤษ: Toyota Platz) เป็น รถยนต์นั่งขนาดเล็กมากที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยโตโยต้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2548 และถูกแทนที่รุ่นต่อไปด้วยโตโยต้า เบลต้า โตโยต้ากำหนดให้พลัตซ์รุ่นนี้มีรหัสเป็น "XP10" และจำหน่ายในตลาดส่งออกในชื่อ "ยาริส" หรือ "เอ็กโค" ชื่อ "Yaris" และ "Echo" นิรุกติศาสตร์ชื่อ "พลัตซ์ (Platz)" มีความหมายในภาษาเยอรมันว่า "พื้นที่" (โดยนิยามว่าเป็น "พื้นที่ห้องโดยสารภายในที่กว้างขวาง") โดยมีเพียงเครื่องยนต์สี่สูบเรียงเท่านั้นที่ติดตั้งมากับโตโยต้า พลัตซ์ โดยในประเทศญี่ปุ่นมีขายเป็นรถเก๋งสี่ประตูเท่านั้น นอกจากนี้มีรุ่นคูเพที่ขายในอเมริกาเหนือภายใต้ชื่อ "เอ็กโค (Echo)" ประวัติศาสตร์โตโยต้า พลัตซ์ถูกเปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2542 และจำหน่ายไปยังทั่วโลกในรุ่นเก๋งภายใต้รุ่นปี 1999 ส่วนรุ่นคูเพที่ตามมาเป็นรุ่นปี 2000 นั้นจะถูกจำกัดไว้จำหน่ายในอเมริกาเหนือเท่านั้น โตโยต้า พลัตซ์นั้นมีความใกล้เคียงกับโตโยต้า วิตซ์ที่เป็นรุ่นแฮตช์แบ็กอย่างมาก ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้ใช้ชิ้นส่วนประตูหน้า ภายใน และชิ้นส่วนต่าง ๆ ร่วมกัน ในสหรัฐอเมริกา โตโยต้า เอ็กโคขายได้เกือบ 50,000 หน่วยในปีแรกที่จำหน่าย โดยเอ็กโคได้เป็นส่วนหนึ่งของโตโยต้า โปรเจ็กต์ เจเนซิส แต่กลับล้มเหลวในการชักชวนผู้ที่มีอายุน้อยมาซื้อรถยนต์โตโยต้าในอเมริกา โตโยต้า เอ็กโคขายได้เป็นปริมาณมากในแคนาดา โดยโตโยต้าได้ขายโตโยต้า วิตซ์รุ่น 3 และ 5 ประตูในชื่อโตโยต้า เอ็กโคในรุ่นปี 2004 แทนที่เอ็กโค คูเพที่เลิกขายไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2546 ส่วนในอเมริการุ่นสองประตูยังขายควบคู่ไปกับรุ่นซีดานอยู่จนกระทั่งถึงรุ่นปี 2005 ส่วนรุ่นแฮตช์แบ็กนั้นไม่เคยถูกขายในอเมริกา โดยโตโยต้า เอ็กโคเป็นรุ่นก่อนหน้าของโตโยต้า ยาริสในอเมริกาเหนือเนื่องจากมีการใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เช่น คอนโซลหน้า
เซี่ยลี่ 2000/เวล่าในประเทศจีน โตโยต้า พลัตซ์ได้จำหน้าในชื่อเซี่ยลี่ 2000 ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ต่อมาได้มีการปรับโฉมเล็กน้อยและเปลี่ยนชื่อเป็นเซี่ยลี่ เวล่า เริ่มขายเทื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2555 โดยใช้เครื่องยนต์ 1.3 ลิตร รหัส 8A-FE, 1.5 ลิตร รหัส 5A-FE และเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรที่จีนทำเองในรหัส CA4GB2 โดยมาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะในทุกรุ่น และจากมี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2546 มีรุ่นลิมิเต็ดจำหน่ายในชื่อเซี่ยลี่ ยากุซึ่งมาพร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ
ความปลอดภัยในงายวิจัย ระดับความปลอดภัยรถยนต์ที่ใช้แล้ว (UCSR) เมื่อ พ.ศ. 2553 ของมหาวิทยาลัยโมนาชได้มีรายงานว่าความปลอดภัยของโตโยต้า เอ็กโคให้ระดับ "แย่" (สองในห้าดาว) ของการป้องกันความปลอดภัยของผู้โดยสารในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ[5] ยอดขาย
อ้างอิงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ โตโยต้า พลัตซ์
|
Portal di Ensiklopedia Dunia