โคลง
โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง ความเป็นมาของโคลง
จากพระราชาธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทยทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้น โคลงของชาวล้านนานั้นเรียก “ครรโลง” “คะโลง” หรือ “กะโลง” [2] มีสามประเภทคือ 1) ครรโลงสี่ห้อง 2) ครรโลงสามห้อง และ 3) ครรโลงสองห้อง กับทั้งยังมีกลวิธีแต่งที่ปลีกย่อยมากมาย เช่น โคลงบทหนึ่งว่า “กรนารายณ์ หมายกงรถ บทสังขยา สราสังวาล...” [3] หลักฐานที่แสดงว่าชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณี ซึ่งกล่าวถึงโคลงลาวประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ 1) พระยาลืมงายโคลงลาว 2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 3) พวนสามชั้นโคลงลาว 4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ 5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว[4] คำว่า “ลาว” ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกเหมารวมทั้งชาวล้านนาและชาวล้านช้างว่า ลาว[5] ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดของชาวอยุธยาเอง เพราะชาวล้านนาคือชาวไทยวน ดังปรากฏในลิลิตยวนพ่าย ที่หมายถึง ชาวล้านนาแพ้ ซึ่งเป็นลิลิตที่มีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่อาณาจักรอยุธยามีชัยเหนืออาณาจักรล้านนา วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย[6] ต่อมาปรากฏเป็นรูปโคลงสี่ดั้นใน ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่) ในลิลิตพระลอ ส่วนโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวรรณกรรมอาจกล่าวได้ว่ากวีนิยมแต่งโคลงดั้นมาก่อนโคลงสุภาพ[7] การจำแนกโคลงโคลงในวรรณกรรมไทย แบ่งได้ดังนี้ คือ
โคลงสองโคลงสองสุภาพหนึ่งบทมี 14 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค 5 - 5 - 4 คำ ตามลำดับ และอาจเพิ่มสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสส่งจากท้ายวรรคแรกไปยังท้ายวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
หากแต่งหลาย ๆ บท นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป ตัวอย่าง
กวีบางท่านก็ไม่นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท อย่างเช่น น.ม.ส. ในพระนิพนธ์ สามกรุง เป็นต้น โคลงสองดั้นหนึ่งบทมี 12 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 2 คำ ตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ ส่งสัมผัสแบบเดีวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพแต่ต่างตำแหน่ง หากแต่งหลายบทมีการส่งสัมผัสเช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ ดังตัวอย่าง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสองดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 (ลดโท) ในลิลิตนารายณ์สิบปาง ดังตัวอย่าง
การใช้โคลงสองในวรรณกรรมไม่มีวรรณคดีไทยเรื่องใดที่ใช้โคลงสองแต่งทั้งเรื่อง โดยทั่วไปมักแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ ในลักษณะลิลิต อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งใช้ลงท้ายร่าย โดยโคลงสองสุภาพลงท้ายร่ายสุภาพ และโคลงสองดั้นลงท้ายร่ายดั้น โคลงสามโคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี 19 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 4 คำตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง ส่งสัมผัสเพิ่มจากโคลงสองอีกหนึ่งแห่งจากท้ายวรรคแรกไปยังวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
โคลงสามดั้นบทหนึ่งมี 17 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 2 คำตามลำดับ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสเหมือนโคลงสามสุภาพ ดังตัวอย่าง
เช่นเดียวกับโคลงสองดั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลงสามดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 ตำแหน่งเดียวกับโคลงสองดั้น ตัวอย่างจากลิลิตนารายณ์สิบปาง
การใช้โคลงสามในวรรณกรรมกวีไม่นิยมใช้โคลงสามแต่งวรรณกรรมตลอดเรื่อง นิยมแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งนิยมแต่งน้อยกว่าโคลงสองมาก อนึ่ง โคลงสามดั้นเริ่มปรากฏในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง มีหลักฐานอยู่ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ ซึ่งแต่งโดย พระรัตนมุนี วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ 2 โคลงสี่โคลงสี่ เป็นโคลงที่กวีนิยมแต่งมากที่สุดในกระบวนโคลง สามารถจำแนกโคลงสี่ออกได้หลายประเภท ดังนี้ โคลงสี่ในจินดามณีในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงวิธีการแต่งโคลงสี่ไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โคลงสี่สุภาพ โคลงตรีเพชรทัณฑี โคลงจัตวาทัณฑี โคลงขับไม้ โคลงในกาพย์ห่อโคลง โคลงดั้น ฯลฯ
หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรก บาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย 4 คำ มีสร้อยได้ 2 แห่ง โคลงบังคับเอก 7 โท 4 ตามตำแหน่ง สัมผัสคำที่ 7 บาทแรกกับคำที่ 5 ของบาทที่สองและบาทที่สาม กับสัมผัสคำที่ 7 บาทที่สองกับคำที่ 5 บาทที่สี่ เอกโทในบาทแรกอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ ดังตัวอย่าง
โคลงตรีเพชรทัณฑี
โคลงตรีเพชรทัณฑีนี้แสดงไว้แต่ตัวอย่าง แต่อาจสังเกตไว้ว่าเหมือนโคลงสี่สุภาพ แต่เลื่อนสัมผัสในบาทที่สอง จากเดิมคำที่ 5 ไปเป็นคำที่ 3 แทน ดังตัวอย่าง
ในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท เรียกโคลงแบบนี้ว่า โคลงตรีพิธพรรณ โคลงจัตวาทัณฑี
โคลงจัตวาทัณฑี ก็คือโคลงสี่สุภาพที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาที่สองจากคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4 นั่นเองตามตัวอย่าง
โคลงขับไม้
โคลงขับไม้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่บังคับเอก บังคับแต่โทสี่แห่ง บาทแรกโทจะอยู่คำที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ ให้แต่งครั้งละ 2 บท มีสัมผัสระหว่างบทด้วย ตัวอย่าง
โคลงกระทู้โคลงกระทู้ เป็นลักษณะพิเศษของการแต่งโคลง โดยบังคับคำขึ้นต้นแต่ละบาทของโคลงส่วนมากมักใช้แต่งกับโคลงสี่ ซึ่งกำชัย [11] ระบุว่า โคลงกระทู้คือโคลงสี่สุภาพนั่นเอง
ลักษณะการใช้กระทู้อาจใช้คำเดียวกันทุกบาท หรือคำต่างชุดกันก็ได้ ถ้าเป็นคำเดียวกันเรียกว่า กระทู้ยืน คำที่นำมาเป็นกระทู้อาจจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ เช่น ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู อาจเป็นคำคล้องจองก็ได้ เช่น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น หรืออาจมีข้อความอื่นใดตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์ ตัวอย่างโคลงกระทู้ ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู
โคลงกระทู้กวีมักใช้แต่งท้ายเรื่อง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือชื่อผู้แต่ง นอกนั้นแต่งแทรกไว้ในวรรณกรรมเพื่อเพิ่มความไพเราะ แสดงความสามารถของผู้แต่ง นอกจากนี้กวีอาจจะดัดแปลงโคลงกระทู้ให้พิศดารตามความประสงค์ก็ได้ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงแต่งกาพย์สุรางค์คนางค์ 28 จำนวน 5 บท แล้วนำคำในกาพย์แต่ละวรรคแยกเป็นกระทู้เดี่ยวในโคลงกระทู้ 35 บท หรือนายชิต บุรทัต แต่งวิชชุมาลาฉันท์ 4 บท แล้วนำคำในแต่ละวรรคไปแยกเป็นกระทู้เดี่ยวเป็นโคลง 32 บท เป็นต้น โคลงสี่ดั้นในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี เรียกว่า "ฉันทจรรโลงกลอนดั้น" และมิได้อธิบายอะไร เพียงแต่ยกตัวอย่างโคลงไว้เท่านั้น ต่อมาในจินดามณีฉบับหลวงวงศาธิราชสนิทจึงปรากฏแผนผังสมบูรณ์ และจำแนกโคลงดั้นออกเป็น 2 ชนิด คือ โคลงดั้นวิวิธมาลี และโคลงดั้นบาทกุญชร ตามลักษณะการส่งสัมผัสระหว่างบท ดังตัวอย่าง
โคลงสี่ในตำรากาพย์เนื่องจากโคลงจากตำรากาพย์ไม่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องใดเลย มีอยู่แต่ในตำราแต่งคำประพันธ์เท่านั้น ปราชญ์รุ่นก่อนมักเรียกโคลงเหล่านี้ว่า โคลงโบราณ กาพย์สารวิลาสินีในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินีมีโคลงอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ วิชชุมาลี มหาวิชชุมาลี จิตรลดา มหาจิตรลดา สินธุมาลี มหาสินธุมาลี นันททายี และมหานันททายี มีลักษณะเด่นคือ ไม่บังคับเอกโท บังคับแต่จำนวนคำ และสัมผัส โคลง 8 ชนิดที่ดัดแปลงมาจากกาพย์สารวิลาสินีดังกล่าวยังอาจแบ่งได้อีกเป็นสองกลุ่ม[6] ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นโคลงที่มียี่สิบแปดคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ รวมเป็นยี่สิบแปดคำ) ได้แก่ 1) โคลงวิชชุมาลี 2) โคลงจิตรลดา 3) โคลงสินธุมาลี และ 4) โคลงนันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสองคำ กลุ่มที่สอง เป็นโคลงที่มีสามสิบคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายของบทมีสี่คำ รวมเป็นสามสิบคำ) ได้แก่ 1) โคลงมหาวิชชุมาลี 2) โคลงมหาจิตรลดา 3) โคลงมหาสินธุมาลี และ 4) โคลงมหานันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสี่คำ และมีคำ “มหา” นำหน้าชื่อ โคลงวิชชุมาลี และโคลงมหาวิชชุมาลี
![]()
โคลงจิตรลดา และโคลงมหาจิตรลดา
![]()
โคลงสินธุมาลี และโคลงมหาสินธุมาลี
![]()
โคลงนันททายี และโคลงมหานันททายี
![]()
กาพย์คันถะในคัมภีร์กาพย์คันถะ มีโคลงสี่อยู่ 2 ชนิด คือ ทีฆปักข์ และรัสสปักข์ มีลักษณะเด่นเช่นเดียวกับโคลงในกาพย์สารวิลาสีนี คือ ไม่บังคับเอกโท กำหนดแต่จำนวนคำและสัมผัส โคลงทีฆปักข์
โคลงรัสสปักข์
โคลงสี่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดัดแปลงสัมผัสของโคลงในตำรากาพย์สารวิลาสีนีทั้ง 4 ชนิด แล้วทรงเรียกว่า โคลงโบราณแผลง ดังตัวอย่าง โคลงวิชชุมาลีแผลง
โคลงจิตรลดาแผลง
โคลงสินธุมาลีแผลง
โคลงนันททายีแผลง
โคลงวชิระมาลี
โคลงมุกตะมาลี
โคลงรัตนะมาลี
โคลงจิตระมาลี
ความแตกต่างของโคลงสี่ในวรรณกรรมกับโคลงสี่ในตำราคำประพันธ์โคลงสี่ปรากฏในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่องคือ ลิลิตพระลอ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ โคลงดั้นมี 1 เรื่องคือ ลิลิตยวนพ่าย สมัยอยุธยาตอนกลางโคลงสี่เป็นที่นิยมที่สุด มีวรรณกรรมแต่งด้วยโคลงสี่ถึง 9 เรื่อง ได้แก่ โคลงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ กำศรวลโคลงดั้น โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ และโคลงทวาทศมาส ในจำนวนนี้เป็นโคลงสี่สุภาพ 7 เรื่อง โคลงสี่ดั้น 2 เรื่อง สมัยธนบุรีมี 2 เรื่องคือ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ สมัยรัตนโกสินทร์ กวีนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงเด่น ๆ ได้แก่ โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ โคลงนิราศนรินทร์ ลิลิตนารายณ์สิบปาง และสามกรุง เป็นต้น โคลงสี่ที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมคือโคลงสี่สุภาพและโคลงดั้นที่ปรากฏอยู่ในจินดามณี ส่วนโคลงสี่ในตำรากาพย์ไม่พบว่ากวีใช้แต่งวรรณกรรม นอกจากงานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น วรรณกรรมในแต่ละสมัย กวีใช้โคลงที่มีลักษณะบังคับแตกต่างจากตำราฉันทลักษณ์สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ 1.การบังคับเอก-โท มีการใช้ลักษณะ เอก 7 โท 5 และใช้โทคู่ในโคลงสี่สุภาพ เช่น ลิลิตพระลอ มหาชาติคำหลวง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ และโคลงนิราศหริภุญชัย
มีการใช้เอก 7 โท 3 และไม่ใช้โทคู่ในโคลงสี่ดั้น เช่น ลิลิตยวนพ่าย โคลงทวาทศมาส กำสรวลโคลงดั้น และโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ดังนั้น หากนับจากข้อมูลในวรรณกรรม โคลงสี่ จึงควรมี 4 รูปแบบคือ
สัมผัสระหว่างบาท ในตำราฉันทลักษณ์กำหนดสัมผัสระหว่างบาทของโคลงไว้ 4 แบบคือ แบบโคลงสี่สุภาพ แบบโคลงตรีเพชรทัณฑี(หรือโคลงตรีพิธพรรณ) แบบโคลงจัตวาทัณฑี และแบบโคลงสี่ดั้น ทั้งนี้การกำหนดตรีพิธพรรณ หรือ จัตวาทัณฑีกำหนดที่คำรับสัมผัสในบาทที่สอง ส่วนบาทอื่น ๆ บังคับรับสัมผัสคำที่ 5 แต่เท่าที่ปรากฏในวรรณกรรม กวีมีอิสระที่จะรับสัมผัสในคำที่ 3, 4 หรือ 5 ของทุกบาทในโคลงดั้น และเรียกตามลักษณะคำรับสัมผัสว่า ตรีพิธพรรณหรือจัตวาทัณฑีด้วย เช่น ตรีพิธพรรณในบาที่สาม จัตวาทัณฑีในบาทที่ 4
จัตวาทัณฑี รับสัมผัสคำที่ 4 บาทสามและสี่
สัมผัสระหว่างบท โดยทั่วไปการส่งสัมผัสระหว่างบทของโคลงสี่ในวรรณกรรมมี 3 แบบ คือ
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีวรรณกรรมบางเรื่องส่งสัมผัสระหว่างบทออกไป เช่น ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน มีโคลงสี่สุภาพและโคลงตรีพิธพรรณส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงบาทกุญชร ในจิดามณี มีโคลงขับไม้ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงวิวิธมาลี ในลิลิตนารายณ์สิบปาง และพระนลคำหลวง มีโคลงสี่ดั้น และโคลงในตำรากาพย์ ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงสี่สุภาพ 3.การใช้คำสร้อย ตามตำราฉันทลักษณ์กำหนดไว้ว่า โคลงสี่มีสร้อยได้สองแห่งคือท้ายวรรคแรก และท้ายวรรคที่สาม แต่ในวรรณกรรมกวีทุกสมัยตั้งแต่อยุธยาจนกระทั่งถึงรัชการที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งโคลงสี่โดยมีสร้อย 3 แห่ง คือ มีสร้อยในบาที่ 4 ด้วย ทั้งโคลงดั้น และโคลงสี่สุภาพ ตัวอย่าง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โคลงสี่วรรณคดีมีการใช้สร้อยทั้ง 3 แห่ง คือ บาทแรก บาทที่สาม และบาทที่สี่ โคลงห้าโคลงห้า เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเพียงเรื่องเดียว คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร้อยกรองยุคแรกของไทย และไม่ปรากฏว่าต่อมามีกวีใช้โคลงห้าแต่งวรรณกรรมเรื่องใดอีกเลย ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงโคลงห้าไว้เพียงยกตัวอย่างคำประพันธ์ชื่อ มณฑกคติโคลงห้า โดยไม่มีคำอธิบาย แต่ยกตัวอย่างที่สองว่าเป็น อย่างโคลงแช่งน้ำพระพัฒน์ ซึ่งก็คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ นั่นเอง มีผู้พยายามอธิบายฉันทลักษณ์ของโคลงห้าอยู่หลายคนได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (พ.ณ ประมวญมารค) พระยาอุปกิตศิลปสาร และจิตร ภูมิศักดิ์ คำอธิบายของ จิตร ภูมิศักดิ์ ค่อนข้างจะมีน้ำหนักมากกว่าข้อสันนิษฐานของคนอื่น โดยมีข้อสนับสนุนจากลักษณะโคลงลาวที่ปรากฏในวรรณคดีล้านช้างเรื่อง ท้าวฮุ่งท้าวเจือง โดยจิตร อธิบายว่า โคลงห้าเป็นโคลงดั้นชนิดหนึ่ง มีบาทละ 5 คำ นิยมแต่งในอาณาจักรลาวล้านช้างยุคโบราณ ส่งสัมผัสแบบโคลงบาทกุญชร และอาจเพิ่มคำต้นบาท รวมทั้งมีสร้อยได้ทุกบาท ทั้งยังสามารถตัดใช้เพียงบทละ 2 - 3 บาท ได้เช่นเดียวกับโคลงลาวด้วย อีกทั้งเมื่อจัดวางรูปแบบฉันทลักษณ์ตามที่จิตรเสนอ มีความเป็นไปได้ค่อยข้างมาก ตัวอย่างโคลงห้า จากลิลิตโองการแช่งน้ำ (จัดตามรูปแบบที่จิตรแนะนำ)
พัฒนาการของโคลงกวีในแต่ละสมัยได้สอดแทรกประดิษฐการต่างๆ ไว้ในการแต่งโคลง เพื่อให้งานของตนมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษขึ้นกว่าธรรมดา จากการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำโคลงในแต่ละสมัยพบว่ามีลักษณะร่วมสมัยบางประการที่ได้พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่เพิ่มความไพเราะแก่โคลงนอกเหนือจากฉันทลักษณ์ปกติ ได้แก่ พัฒนาการใช้คำการนับคำในร้อยกรองทำได้ 2 แบบ คือ นับแยกหนึ่งพยางเป็นหนึ่งคำ กับนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ ซึ่งแต่ละแบบจะให้รสของโคลงที่ต่างกัน การแต่งโคลงโดยนับแยกหนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำทำให้เสียงของโคลงมีน้ำหนักชัดเจน พบในงานสมัยต้นอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ โดยกวีเพิ่มความไพเราด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำเสียงพยัญชนะ การเลือกใช้คำหนักเบาเพื่อสื่ออารมณ์ ตัวอย่างเช่น
การแต่งโคลงโดยนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำจะทำให้เสียงของโคลงสะบัดไหว มีจังหวะหนัก-เบา เกิดความไพเราะแปลกหู กวีผู้ชอบแต่งโคลงลักษณะนี้ ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สุนทรภู่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ น.ม.ส. ตัวอย่าง
พัฒนาการด้านการใช้สัมผัสในการใช้สัมผัสอักษรโคลงที่แต่งโดยใช้สัมผัสอักษรจะให้น้ำเสียงหนักแน่นชัดเจนกว่าโคลงที่ใช้สัมผัสสระ และไพเราะกว่าโคลงที่ไม่ใช้สัมผัสเลย
พระยาตรังคภูมิบาล และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นผู้นำแบบแผนการใส่สัมผัสอักษรในคำที่ 5 กับ 6 ทุกบาท
การใช้สัมผัสสระนิยมใช้เฉพาะในโคลงสี่สุภาพเพราะช่วยทำให้เสียงของโคลงอ่อนหวานขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ โดยกำหนดสัมผัสสระอย่างเป็นระบบในคำที่ 2 - 3 หรือ 3 - 4 ของทุกบาท ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในงานของพระศรีมโหสถ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ด้วย ตัวอย่าง
สุนทรภู่ รับอิทธิพลการแต่งโคลงแบบมีสัมผัสสระเช่นนี้มาใช้ในโคลงนิราศสุพรรณ แล้วเพิ่มสัมผัสสระอีกแห่งในคำที่ 7 -8 ของบาทที่สาม และคำที่ 8 - 9 ของบาทสุดท้าย รวมทั้งเพิ่มสัมผัสอักษรในคำที่ 5 - 6 และสัมผัสในอื่น ๆ ตามอัตลักษณ์อีกด้วย ตัวอย่าง
พัฒนาการด้านฉันทลักษณ์จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสนอฉันทลักษณ์โคลงห้าพัฒนา โดยปรับปรุงจากฉันทลักษณ์โคลงห้าในโองการแช่งน้ำ โดยกำหนดให้หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีห้าคำ แบ่งเป็นสองวรรค วรรหน้าสามคำ วรรคหลังสองคำ บังคับเอก 4 โท 4 สัมผัสเหมือนโคลงสี่สุภาพ สร้อยเหมือนสร้อยโคลงดั้น เอกโทวรรคแรกอาจสลับที่กันได้ และโทคู่วรรคที่สี่อาจอยู่แยกกันได้ ดังตัวอย่าง
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีรางวัลซีไรต์ ได้บิดฉันทลักษณ์ เพิ่มสัมผัสใหม่ให้กับโคลงสี่ โดยเพิ่มสัมผัสคำที่ ๗ กับคำที่ ๕ ของบาทถัดไป อย่างสม่ำเสมอ (คล้ายกับร่าย) ตัวอย่างโคลงจากหนังสือรวมบทกวี มือนั้นสีขาว
ข้อมูลเกี่ยวกับโคลงที่นำเสนอมานี้ จะช่วยผู้ศึกษากวีนิพนธ์ของไทยเข้าใจฉันทลักษณ์ของโคลงชนิดต่าง ๆ และลักษณะพิเศษของโคลงในแต่ละสมัยที่พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลงที่ถือว่าไพเราะในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจว่ากวีทุกสมัยได้ใช้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ในกรอบของฉันทลักษณ์แต่ละประเภทตลอดมา อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia