แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021
แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 (อังกฤษ: 2021 Africa Cup of Nations หรือย่อว่า AFCON 2021 หรือ CAN 2021) หรือรู้จักกันในชื่อ โททัลเอ็นเนร์จีส์ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน[5] เป็นการแข่งขันครั้งที่ 33 ของแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ การแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติของทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ สองปี อยู่ภายใต้การดำเนินงานของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF) แคเมอรูนเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้[6] โดยจะเริ่มแข่งขันตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022[1] เดิมที การแข่งขันจะดำเนินในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 2021 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2020 ซีเอเอฟได้ประกาศเลื่อนวันที่แข่งขันออกไปเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในเดือนนั้น ทำให้การแข่งขันถูกกำหนดใหม่เป็นวันที่ 9 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[7] แต่ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020 ซีเอเอฟประกาศเลื่อนวันแข่งขันอีกครั้งไปเป็นเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 แต่การแข่งขันยังคงใช้ชื่อแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 เหมือนเดิมด้วยวัตถุประสงค์ด้านการสนับสนุน[8] แอลจีเรีย เข้าร่วมแข่งขันในฐานะแชมป์เก่า แต่ในครั้งนี้ พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่ม เจ้าภาพอย่างแคเมอรูน แพ้ในรอบรองชนะเลิศหลังดวลลูกโทษแพ้อียิปต์ สุดท้ายแล้ว พวกเขาคว้าอันดับที่ 3 เซเนกัลชนะเลิศรายการนี้เป็นสมัยแรกหลังจากที่ดวลลูกโทษชนะอียิปต์ในนัดชิงชนะเลิศ รอบคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบ
รูปแบบการแข่งขันมีทั้งหมด 24 ทีมที่จะได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบสุดท้าย มีเพียงเจ้าภาพเท่านั้นที่ได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ในขณะที่ 23 ทีมที่เหลือจะต้องแข่งขันในรอบคัดเลือก ในการแข่งขันรอบสุดท้าย ทีมทั้งหมด 24 ทีมจะถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม โดยในแต่ละกลุ่มจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองทีมอันดับแรกของแต่ละกลุ่มและทีมอันดับสามที่ดีที่สุดสี่ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ผู้ชนะในรอบ 16 ทีมสุดท้าย จะไปพบกันในรอบก่อนรองชนะเลิศ และผู้ชนะในรอบก่อนรองชนะเลิศ จะไปพบกันในรอบรองชนะเลิศ ผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศจะพบกันเพื่อชิงอันดับที่สาม ส่วนผู้ชนะในรอบรองชนะเลิศจะเข้าไปชิงชนะเลิศ ลูกบอลวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ซีเอเอฟได้เปิดตัวลูกบอลที่จะใช้ในการแข่งขัน มีชื่อว่า "Toghu" ลูกบอลนี้ผลิตโดยบริษัทอัมโบรของอังกฤษ[9] มาสคอตวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 ได้มีการเปิดตัวมาสคอตประจำการแข่งขันที่ยาอุนเด มีชื่อว่า "โมลา" โดยเป็นมาสคอตรูปสิงโตสวมชุดแข่งขันที่เหมือนกับชุดเหย้าของแคเมอรูน พร้อมมีคำว่า "Cameroon" และ "2021" อยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของชุด[10] คณะกรรมการตัดสินในส่วนของคณะกรรมการตัดสินในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 มีผู้ตัดสินเพียงสองคนที่มาจากสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแคริบเบียน (คอนคาแคฟ) รายชื่อด้านล่างนี้ประกอบไปด้วยผู้ตัดสิน 24 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 31 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโออีก 8 คน จาก 36 ประเทศ[11] ผู้ตัดสิน
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอการจับสลากเดิมมีกำหนดการจับสลากการแข่งขันรอบสุดท้ายในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2021 แต่ได้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2021[1][5][12] ทีมชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีม จะถูกจับสลากแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม
สนามแข่งขันเนื่องจากแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ครั้งนี้เพิ่มจำนวนทีมจาก 16 เป็น 24 ทีม ทำให้ต้องมีสนามแข่งขันอย่างน้อย 6 แห่งใน 5 เมืองของแคเมอรูน[13] สนามแข่งขันทั้ง 6 แห่ง ประกอบไปด้วยรายชื่อที่แสดงในตารางด้านล่างนี้[14] นัดเปิดสนามและนัดชิงชนะเลิศของการแข่งขันถูกกำหนดให้แข่งขันที่สนามกีฬาโอเลมเบในยาอุนเด เป็นสนามสร้างใหม่ มีความจุ 60,000 ที่นั่ง[15]
ผู้เล่นรอบแบ่งกลุ่มสองทีมอันดับแรกของแต่ละกลุ่ม ร่วมกับทีมอันดับสามที่ดีที่สุดสี่ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย เวลาที่ปรากฏในทุกนัดเป็นเวลาท้องถิ่น (เวลาแอฟริกาตะวันตก; UTC+1) กลุ่มเอ
ผู้ตัดสิน: Mustapha Ghorbal (แอลจีเรีย)
ผู้ตัดสิน: Hélder Martins Rodrigues de Carvalho (แองโกลา)
ผู้ตัดสิน: Jean Jacques Ndala Ngambo (สป.คองโก)
ผู้ตัดสิน: Sadok Selmi (ตูนิเซีย)
ผู้ตัดสิน: Ahmad Imtehaz Heeralall (มอริเชียส) กลุ่มบี
แหล่งข้อมูล: CAF
Notes:
ผู้ตัดสิน: Bamlak Tessema Weyesa (เอธิโอเปีย)
ผู้ตัดสิน: Dahane Beida (มอริเตเนีย)
ผู้ตัดสิน: Blaise Yuven Ngwa (แคเมอรูน)
ผู้ตัดสิน: Salima Mukansanga (รวันดา) กลุ่มซี
แหล่งข้อมูล: CAF
ผู้ตัดสิน: Sadok Selmi (ตูนิเซีย)
ผู้ตัดสิน: Dahane Beida (มอริเตเนีย)
ผู้ตัดสิน: Boubou Traore (มาลี) กลุ่มดี
แหล่งข้อมูล: CAF
ผู้ตัดสิน: Bakary Gassama (แกมเบีย)
ผู้ตัดสิน: Victor Gomes (แอฟริกาใต้)
ผู้ตัดสิน: Pacifique Ndabihawenimana (บุรุนดี)
ผู้ตัดสิน: Peter Waweru (เคนยา)
ผู้ตัดสิน: Joshua Bondo (บอตสวานา) กลุ่มอี
แหล่งข้อมูล: CAF
ผู้ตัดสิน: Ahmad Imetehaz Heeralall (มอริเชียส)
ผู้ตัดสิน: Rédouane Jiyed (โมร็อกโก)
ผู้ตัดสิน: Maguette N'Diaye (เซเนกัล)
ผู้ตัดสิน: Mario Escobar (กัวเตมาลา)
ผู้ตัดสิน: Victor Gomes (แอฟริกาใต้)
ผู้ตัดสิน: Mohamed Marouf Eid Mansour (อียิปต์) กลุ่มเอฟ
แหล่งข้อมูล: CAF
ผู้ตัดสิน: Janny Sikazwe (แซมเบีย)
ผู้ตัดสิน: Mustapha Ghorbal (แอลจีเรีย)
ผู้ตัดสิน: Samir Guezzaz (โมร็อกโก)
ผู้ตัดสิน: Mahmoud El Banna (อียิปต์)
ผู้ตัดสิน: Fernando Guerrero (เม็กซิโก)
ผู้ตัดสิน: Bernard Camille (เซเชลส์) ตารางคะแนนของทีมอันดับสามที่ดีที่สุด
แหล่งข้อมูล: CAF
กฏการจัดอันดับ: 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตู; 3) ประตูได้; 4) Drawing of lots. รอบแพ้คัดออกสายการแข่งขัน
รอบ 16 ทีมสุดท้าย
ผู้ตัดสิน: Rédouane Jiyed (โมร็อกโก)
ผู้ตัดสิน: Maguette N'Diaye (เซเนกัล)
ผู้ตัดสิน: Bamlak Tessema Weyesa (เอธิโอเปีย)
ผู้ตัดสิน: Lahlou Benbraham (แอลจีเรีย)
ผู้ตัดสิน: Jean Jacques Ndala Ngambo (สป.คองโก)
ผู้ตัดสิน: Bakary Gassama (แกมเบีย) รอบก่อนรองชนะเลิศ
ผู้ตัดสิน: Pacifique Ndabihawenimana (บุรุนดี)
ผู้ตัดสิน: Joshua Bondo (บอตสวานา)
ผู้ตัดสิน: Maguette N'Diaye (เซเนกัล)
ผู้ตัดสิน: Victor Gomes (แอฟริกาใต้) รอบรองชนะเลิศ
ผู้ตัดสิน: Bakary Gassama (แกมเบีย) นัดชิงอันดับที่สาม
ผู้ตัดสิน: Rédouane Jiyed (โมร็อกโก) นัดชิงชนะเลิศ
ผู้ตัดสิน: วิกตูร์ โกมึซ (แอฟริกาใต้) สถิติผู้ทำประตูมีการทำประตู 100 ประตู จากการแข่งขัน 52 นัด เฉลี่ย 1.92 ประตูต่อนัด
การทำประตู 5 ครั้ง การทำประตู 3 ครั้ง การทำประตู 2 ครั้ง การทำประตู 1 ครั้ง
การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง
รางวัล
ทีมยอดเยี่ยมอ้างอิง:[22] ผู้ฝึกสอน: Aliou Cissé
การถ่ายทอดสดตารางด้านล่างนี้แสดงรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ์ออกอากาศการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021:[23]
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia