แมวทราย
แมวทราย, แซนด์แคท หรือ แมวเนินทราย (อังกฤษ: Sand cat, Sand dune cat[2]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis margarita) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกแมวป่า นับเป็นแมวป่าขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ลักษณะแมวทรายเป็นแมวที่อยู่ในสกุล Felis เช่นเดียวกับแมวบ้าน (F. catus) หรือแมวป่า (F. chaus) เป็นแมวที่มีขนาดเล็ก ช่วงขาสั้น หางยาว หัวมีลักษณะกลมใหญ่ มีขนสีน้ำตาลซีดจนถึงเทาอ่อนกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ขนใต้ท้องสีขาว มีแถบสีดำที่ทั้งสีข้างและหาง มีแถบสีแดงเข้มพาดจากหางตามาถึงแก้ม เยื่อเมือกดวงตาเป็นสีดำ ใบหูใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเรียว ช่วยในการได้ยินเสียงค่อนข้างดี และสามารถจับแรงสั่นสะเทือนบนพื้นทรายได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น มีความสูงถึงช่วงไหล่ประมาณ 24–36 เซนติเมตร (9.4–14.2 นิ้ว) และน้ำหนัก 1.5–3.4 กิโลกรัม (3.3–7.5 ปอนด์) ความยาวลำตัวหัวประมาณ 39–52 เซนติเมตร (15-20 นิ้ว) และความยาวหาง 23.2–31 เซนติเมตร (9.1–12.2 นิ้ว) มีขนที่อุ้งตีนช่วยป้องกันความร้อนจากพื้นและช่วยเก็บเสียงขณะเดินบนพื้นที่มีผิวหยาบร่วน เมื่อเดินบนพื้นทรายแทบจะไม่ปรากฏรอยเท้าเลย ประสาทหูไวมาก เหมาะสำหรับการหาเหยื่อในพื้นที่ที่หาเหยื่อยาก คาดว่าแมวทรายได้ยินเสียงอัลตราโซนิกจากเหยื่อที่อยู่ใต้ดินได้เช่นเดียวกับเซอร์วัล (Leptailurus serval) ซึ่งเป็นแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า มีความทนทนต่อสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันสุดขั้วในทะเลทราย ตั้งแต่ –5 องศาเซลเซียส จนถึง 52 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวขนของแมวทรายอาจยาวงอกมากกว่าปกติได้ถึง 5 เซนติเมตร เพื่อให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น[3] การออกหากินแมวทรายหากินเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในโพรงตื้น ๆ ที่ขุดไว้ตามเนินทราย ในดงไม้แคระนอนอยู่ไม่ไกลจากปากโพรง กินอาหารด้วยการจับสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, นก, กระต่ายป่า, สัตว์เลื้อยคลาน, แมลง มีระยะทางในการออกหากินไกลถึง 5–10 กิโลเมตร แมวทรายเป็นแมวที่ปีนป่ายและกระโดดได้ไม่เก่ง แต่มีทักษะการขุดที่ยอดเยี่ยมเพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีพ เพราะต้องใช้ในการขุดโพรงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรวมถึงเลี้ยงลูกและหาเหยื่อ บางครั้งอาจจะใช้รูของสัตว์อื่นขุดทิ้งไว้ก็มี แต่แมวทรายก็ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น คาราคัล (Caracal caracal) ซึ่งเป็นแมวป่าเหมือนกัน หรือหมาป่า[4] เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยเป็นทะเลทราย มีความแห้งแล้ง แมวทรายจึงดูดเลือดจากเหยื่อที่จับได้ด้วยแทนน้ำ[5] ถิ่นที่อยู่และชนิดแมวทรายกระจายพันธุ์ในแถบทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียเหนือ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาทางตอนเหนือ โดยกระจายออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ทะเลทรายสะฮาราหรือทะเลทรายอาหรับ แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย ดังนี้ (แต่ตัวอย่างต้นแบบสาบสูญหายไป[6])
แมวทรายมีระยะเวลาตั้งท้องนาน 59–66 วัน ตกลูกครั้งละเฉลี่ย 3 ตัว ตั้งท้องได้ 2–3 ครั้งในรอบปี ด้วยรูปร่างลักษณะที่เล็ก ดูแลน่ารัก ทำให้แมวทรายได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์และจัดแสดงในสวนสัตว์ รวมถึงมีการล่าเป็นเกมกีฬาและการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย[2] แมวทรายที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ต่าง ๆ มักจะตายด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ[13][14] จึงทำให้เป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ถูกคุกคาม โดยภาพเคลื่อนไหวของลูกแมวทรายนั้นยังไม่เคยมีใครบันทึกไว้ได้เลย จนกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 มีการถ่ายภาพเคลื่อนไหวของลูกแมวทรายได้เป็นครั้งแรกของโลกโดยสถาบันแพนเทอรา ซึ่งเป็นสถาบันที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์จำพวกแมวและเสือโดยเฉพาะ โดยเป็นลูกแมวทรายที่อาศัยอยู่ในโพรงที่ทะเลทรายสะฮารา ในประเทศโมร็อกโก อายุคาดว่า 6–8 เดือน จำนวน 3 ตัว ที่โผล่ออกมาเล่นนอกโพรง เชื่อว่าแม่แมวทรายคงจะออกไปหาอาหาร[15] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Felis margarita วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ แมวทราย
|
Portal di Ensiklopedia Dunia