แผลบูรูลี
แผลบูรูลี (หรือที่รู้จักในชื่อของ แผลแบนสเดล แผลเซอลส์ หรือ แผลเดนทรี[1][2][3]) เป็นโรคติดเชื้อ สาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ ไมโคแบคทีเรียม อัลเซอแรนส์.[4] อาการเริ่มแรกของการติดเชื้อจะมีตุ่มเล็กหรือบวมที่ผิวแต่ไม่รู้สึกเจ็บ[4] ตุ่มนี้จะกลายเป็น แผลเปื่อย.[4] แผลเปื่อยใต้ชั้นผิวหนังจะมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณผิวหนัง [5] และบริเวณรอบๆ แผลจะมีอาการบวม [5] เมื่ออาการหนักยิ่งขึ้น จะมีการติดเชื้อที่กระดูก [4] แผลบูรูลีส่วนมากจะพบการติดเชื้อในบริเวณแขนหรือขา [4] ปกติจะไม่มีไข้ [4] เชื้อแบคทีเรีย เอ็ม อัลเซอแรนส์ จะปล่อยสารพิษที่มีชื่อว่า ไมโคแลกโทน ซึ่งจะลด การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เนื้อเยื่อตาย การตาย.[4] แบคทีเรียจากตระกูลเดียวกันนี้เป็นสาเหตุของ วัณโรค และ โรคเรื้อน (เอ็ม ทูเบอร์คูโลซิส และ เอ็ม เลแปรตามลำดับ)[4] วิธีการกระจายของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด [4] แหล่งน้ำอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระจายของโรค[5] จนถึงปี 2013 ยังไม่พบวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค[4][6] หากได้รับการรักษาในช่วงแรกของการติดเชื้อ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เป็นเวลาแปดสัปดาห์จะได้ผลถึง 80%[4] การรักษามักจะใช้ยา ไรแฟมพิซิน และ สเตรปโตมัยซิน[4] บางครั้งอาจจะใช้ยาคลาริโธมัยซิน หรือ มอกซิฟลอกซาซิน แทนสเตรปโตมัยซิน[4] การรักษาวิธีอื่น ได้แก่ การตัด แผลเปื่อยออกไป[4][7] หลังจากได้รับการรักษาแผลที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปบริเวณผิวหนังจะเป็นแผลเป็น [6] แผลบูรูลีจะเกิดในพื้นที่ชนบทโดยส่วนใหญ่ของ แอฟริกาใต้สะฮารา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ โกตดิวัวร์และยังเกิดขึ้นในเอเชีย แปซิฟิกตะวันตกและทวีปอเมริกา[4] พบการเกิดโรคในประเทศต่างๆ มากกว่า 32 ประเทศ [5] ในแต่ละปีจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ ห้าถึงหกพันราย [4] ยังพบว่าโรคนี้นอกจากจะเกิดขึ้นมนุษย์แล้วยังเกิดขึ้นสัตว์ด้วยเช่นกัน [4] อัลเบิร์ต รัสกิน คุก เป็นบุคคลแรกที่อธิบายเกี่ยวกับโรคแผลบูลูรีในปี 1897[5] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia