แขวงหลวงพระบาง
หลวงพระบาง[1] หรือ หลวงพะบาง[1] (ลาว: ຫຼວງພະບາງ, ຫລວງພະບາງ) เป็นแขวงหนึ่ง ของประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคาน และมีเมืองเอกซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก ประวัติศาสตร์หลวงพระบาง เป็นเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักรซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า เมืองชวา และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ลาว ได้ทรงตั้งเมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เชียงทอง เมื่อเจ้าฟ้างุ้มเสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเสียมราฐ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรขึ้น[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา การแบ่งเขตการปกครอง
ประชากรมีชาวลาวลุ่มและไทลื้อเป็นส่วนมาก ทั้งยังมีชาวลาวสูงเผ่าต่าง ๆ เช่น ขมุ, เย้า, อีก้อ, ม้ง อาศัยอยู่ตามภูเขาสูง ประชาชนส่วนใหญ่ของที่นี่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์[2] และยังมีพวกที่นับถือความเชื่อดั้งเดิมบ้างในกลุ่มชาวเขาบางส่วน เศรษฐกิจ
ปัจจุบันลาวได้มีโครงการที่จะพัฒนาเมืองทั้ง 3 เมืองของแขวงหลวงพระบาง อันได้แก่ เมืองโพนทอง, จอมเพชร และโพนชัย เพื่อเป็นแหล่งผลิตและค้าขายเป็นแหล่งทำมาหากินของประชาชนในท้องถิ่น แต่ยังไม่มีนักลงทุนสนใจเท่าที่ควร[3] สถานที่ท่องเที่ยวการศึกษาเมืองหลวงพระบางเป็นแหล่งที่ตั้งของสถานศึกษา อันได้แก่ วิทยาลัยครูหลวงพระบางและมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia