แก้วสรร อติโพธิ

แก้วสรร อติโพธิ
สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
กปปส.
บุพการี
  • ศิริ อติโพธิ (บิดา)
ญาติขวัญสรวง อติโพธิ (ฝาแฝด)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
วิชาชีพ
  • อาจารย์
  • นักกฎหมาย
  • นักการเมือง
ผลงานเด่นวิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร

แก้วสรร อติโพธิ (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และอดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส. และ ประธานมูลนิธิคุ้มครองเด็ก[1]

ประวัติ

แก้วสรร อติโพธิ เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494 บิดาคือ ศิริ อติโพธิ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปป.) โดยแก้วสรรเป็นพี่น้องฝาแฝดกับ ขวัญสรวง อติโพธิ อาจารย์พิเศษประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา

ประวัติการทำงาน

การเมือง

แก้วสรร ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 ประเภทผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน โดยได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 4 ภายหลังแก้วสรรลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดกรุงเทพมหานคร และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 7 จาก 18 สว.กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม

ภายหลังจากครบวาระของ สว. และอยู่ในช่วงก่อนที่จะเลือกตั้งวุฒิสมาชิกชุดใหม่ แก้วสรรลาออกจากตำแหน่งรักษาการสมาชิกวุฒิสภา ลงสมัครเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับการทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. แต่แล้วก็ไม่ได้รับการแต่งตั้ง โดยมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย คปค.ให้เหตุผลว่า เนื่องจากคุณสมบัติของแก้วสรรว่าไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ ซึ่งอาจเป็นข้อโต้แย้งถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช. ในภายหลังได้

แก้วสรร อติโพธิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ คตส. ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ คตส.

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 แก้วสรรลงสมัครรับเลือกตั้งในนามกลุ่มกรุงเทพฯ ใหม่ โดยได้หมายเลข 12 ปรากฎว่าไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนทั้งสิ้น 144,779 ซึ่งเป็นลำดับที่สี่

ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2557 เขาเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.[2] ต่อมาในคราวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาเป็นผู้ยื่นรายชื่อศิษย์เก่าต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อกดดันห้ามการชุมนุมในพื้นที่มหาวิทยาลัย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ครูยุ่น" รับทราบข้อหาคดีทำร้ายเด็ก-ให้การปฏิเสธไทยพีบีเอส. 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 12:55 สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
  2. "อดีต กปปส. "แก้วสรร" โต้รุ่นพี่ธรรมศาสตร์ ไม่เคยกวักมือเรียกทหาร มาปฏิวัติ!". ข่าวสด. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  3. "'แก้วสรร' ยื่นรายชื่อศิษย์เก่า มธ.หนุนอธิการฯห้ามชุมนุม ซัดม็อบลับๆล่อๆ ไม่โปร่งใส ปลุกปั่นจากไซเบอร์". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น


 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia