ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสี่จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม
มกราคม
- 11 มกราคม – เกิดเหตุโจมตีชุดคุ้มครองตำบล อาสารักษาดินแดน บ้านไอร์แยง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากการคุ้มครองครู ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 นาย ได้แก่ นาย ฮัมดี มะกาแซะ และบาดเจ็บสาหัส 2 นาย[1]
- 21 มกราคม – เกิดเหตุปะทะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ บริเวณเทือกเขาตะเว ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 คน[2]
กุมภาพันธ์
- 17 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุระเบิดรถตำรวจสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ผู้ก่อความไม่สงบลงมือลอบวางเพลิง และวางวัตถุระเบิด เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ส่งผลให้ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ได้แก่ พันตำรวจตรี ประสาน คงประสิทธิ์ และบาดเจ็บ 4 นาย[3]ได้แก่ ส.ต.ท.สุทัศน์ มูลเงิน ส.ต.อ. ภาสกร คำดี ส.ต.ท. ไกรสีห์ โรจโนตม และ จ.ส.ต. สุวิทย์ ธนะวงค์
- 21 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุปะทะผู้ก่อความความไม่สงบที่ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ส่งผลให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 คน[6]
มีนาคม
- 2 มีนาคม – เกิดเหตุโจมตีพลเมืองที่ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ นาย ยาการียา ลาเต๊ะ เสียชีวิต 1 คน ภายในวันเดียวกัน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4906 บ้านไอร์กาแซ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส กลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบขว้างไปป์บอมบ์และอาวุธปืนเอเค 47[7]
- 3 มีนาคม – เกิดเหตุระเบิดรถยนต์คณะรองแม่ทัพภาคที่ 4 บริเวณถนนบ้านไอร์กาแซ ตำบลศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบวางระเบิดประกอบถังแก๊สหุงต้ม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย ได้แก่ พันตรี ลิขิต วิทยประภารัตน์ และ จ่าสิบเอก อิสระ เลิกนอก มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 นาย ได้แก่ ส.อ.ศักย์ศรณ์ สายน้ำ
เมษายน
- 13 เมษายน – คนร้ายก่อเหตุกราดยิงและขว้างระเบิดที่หมู่ 1 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี ตำรวจได้รับบาดเจ็บสามราย ได้แก่ ส.ต.ต.กิตติพงษ์ พรมเจียม ส.ต.ต.ชวัลวิทย์ อันต๊ะวิชา และ ส.ต.ต.พีรวิทย์ ดวงแก้ว [8]
- 14 เมษายน – เกิดเหตุโจมตีหลายจุดชายแดนภาคใต้; เหตุระเบิดสะพานรถไฟสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา, เหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษ 21 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส, เหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษสถานีรถไฟวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี, เหตุโจมตีเจ้าหน้าที่บริเวณสถานีรถไฟโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี, เหตุโจมตีขว้างไปป์บอมบ์ฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4107 อำเภอรามัน จังหวัดยะลา, และเหตุโจมตีฐานหน่วยปฏิบัติการพิเศษ 31 สถานีรถไฟเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส[9] ไม่มีการรายงานบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่[10]
- 19 เมษายน – เกิดเหตุโจมตีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป้องกันเหตุ ในพื้นที่บ้านทุ่ง–บางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้ตำรวจบาดเจ็บ 8 นาย ในวันต่อมา เกิดเหตุปะทะฐานปฏิบัติการหมวดเฉพาะกิจหน่วยปฏิบัติการพิเศษยะลา 12 ไม่มีการรายงานบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่[11]
พฤษภาคม
"Demokrasi = Perdamaian Patani ประชาธิปไตย = สันติภาพปาตานี DEMOCRACY = PATANI PEACE"
ข้อความบนป้ายผ้าโดยกลุ่มผู่ก่อความไม่สงบกับธงขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีในจังหวัดยะลา
- 3 พฤษภาคม – เกิดเหตุโจมตีรถตำรวจสถานีตำรวจภูธรทุ่งยางแดงบริเวณทางแยกปากู ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้ตำรวจบาดเจ็บ 4 นาย[12]ได้แก่ ร.ต.อ.เชาว์ รอดสวัสดิ์ ด.ต.อิทธิพัฒน์ บัวอนนท์ ส.ต.ท.พิธี ศรีอ่อน และ ส.ต.ต.มุสตากีน สันบากอ
- 12 พฤษภาคม – เกิดเหตุระเบิดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนบริเวณโรงเรียนบ้านเตาปูน ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ส่งผลให้ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ได้แก่ ส.อ.สมหมาย นาคสืบวงศ์ และบาดเจ็บสาหัส 3 นาย ได้แก่อาสาสมัครทหารพราน ณัฐพล อุปาทา อาสาสมัครทหารพราน โกมินทร์ สารภี และ อาสาสมัครทหารพราน พรเจริญ หยกพูลผลดี[13] ในขณะเดียวกัน มีเหตุก่อความไม่สงบ 23 จุดในชายแดนภาคใต้ อาทิ การวางเพลิงเสาไฟฟ้า การวางเพลิงเสาสัญญาณ และการแสดงออกทางสัญลักษณ์การเรียกร้องเอกราชของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[14]
มิถุนายน
- 10 มิถุนายน – เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติพิทักษ์พื้นที่กองร้อยทหารพรานที่ 4812 โดนกับระเบิดแบบเหยียบที่ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เจ้าหน้าที่อาสาสมัครทหารพราน อาสือรี บูงอตันหยง ได้รับบาดเจ็บขาขวาขาด[15]
- 11 มิถุนายน – ที่หมู่ 6 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ผู้ร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงถล่มเป็นเหตุให้ ส.ต.ท.พิจักษณ์ บัวแก้ว อายุ 22 ปี ผบ.หมู่ นปพ.ปัตตานี สภ.นาประดู่ เสียชีวิตทันที
- 18 มิถุนายน – เกิดเหตุระเบิดบริเวณถนนอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ประชาชนถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิต 1 คน ได้แก่นาย เด่น หลีเหล็บ และบาดเจ็บ 2 คน[16]
- 21 มิถุนายน – เกิดเหตุระเบิดชุดคุ้มครองตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่ทหารและอาสาสมัครรักษาดินแดนบาดเจ็บ 4 นาย[17]
กรกฎาคม
- 4 กรกฎาคม – ที่หมู่ที่ 3 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี คนร้ายปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและลงมือสังหารนาย อาหมะกอซี หะยีเลาะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 จนถึงแก่ความตาย[18]ในขณะที่คนร้ายเสียชีวิตในเหตุการณ์หนึ่งราย
- 15 กรกฎาคม – ที่ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา คนร้ายลอบวางระเบิดส่งผลให้ อาสาสมัครทหารพราน วันชัย มุทาสุขไพศาล เสียชีวิต[19]มีผู้ได้รับบาดเจ็บสองราย ได้แก่อาสาสมัครทหารพราน วิมล จันทะคุณ และ สิบเอก วิเชียร ปัญโญ
สิงหาคม
- 17 สิงหาคม – ที่หมู่ที่ 2 ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เกิดเหตุโจมตีอาสาสมัครทหารพราน อุดมศักดิ์ เราตะพงษ์ เสียชีวิตและมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บสี่ราย[20]
- 26 สิงหาคม – ที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เกิดเหตุลอบสังหาร นาย อาลียะ โวะ[21]จนถึงแก่ความตาย
- 28 สิงหาคม – บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลยะรัง หมู่ 3 อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี คนร้ายได้สังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 รายและอาสาสมัคร 2 ราย[22]ด.ต.ตุแวเลาะ ลอมะ อส.ทพ.ชาญวิทย์ ดอเล็าะ อส.ทพ.ณรงค์ หระแก้ว และ ส.ต.ท.บุญนี ดือเระ มีตำรวจบาดเจ็บสาหัสสี่รายได้แก่ ส.ต.ท.อิสมาแอ็น จิตหลัง ส.ต.ท.ศราวุฒิ สูสัน ส.ต.ต.ธนทัต โชคมาก และ ส.ต.ต.ธวัช เส็นฤทธิ์ อายุ 25 ปี
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
- 9 พฤศจิกายน – ที่หมู่ 1 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายลอบวางระเบิดส่งผลให้อาสาสมัครทหารพราน แวหามะ วานิ เสียชีวิตและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ได้แก่ อาสาสมัครทหารพราน อัสรี สะแลแม และ อาสาสมัครทหารพราน ซอบรี มะสา[26]
- 12 พฤศจิกายน - ที่หมู่ 1 ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ คนร้ายดักยิง อาสาสมัครทหารพราน เสรี หะซา [27]จนถึงแก่ชีวิต
ธันวาคม
อ้างอิง