เว็บตูน

เว็บตูน (เกาหลี: 웹툰) เป็นประเภทของการ์ตูนดิจิทัลแบบแบ่งเป็นตอนที่มีต้นกำเนิดในประเทศเกาหลีใต้โดยทั่วไปจะใช้สำหรับอ่านบนสมาร์ทโฟน

แม้ว่าเว็บตูนส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศเกาหลีใต้ในช่วงแรกเริ่ม แต่เว็บตูนกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลกเนื่องมาจากเข้าถึงได้ง่ายและมีเนื้อหาการ์ตูนออนไลน์ฟรีหลากหลาย[1] ปัจจุบัน เว็บตูนทำรายได้ประมาณ 5.91 พันล้านเหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว[2]ในประเทศที่มันฮวาแบบดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้นแต่การตีพิมพ์การ์ตูนกลับลดน้อยลง ปริมาณเนื้อหาที่เผยแพร่ในรูปแบบเว็บตูนในปัจจุบันมีจำนวนเท่ากับที่เผยแพร่แบบออฟไลน์[3]

รูปแบบ

เว็บตูนมักจะมีลักษณะทั่วไปบางอย่าง: แต่ละตอนจะตีพิมพ์แบบแนวตั้งยาวหนึ่งแถบ (โดยใช้อินฟินิทแคนวาสแทนที่จะมีหลายหน้าเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้นบนสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์); บางตอนจะมีเพลงประกอบและแอนิเมชันที่เล่นในแต่ละบท; และแตกต่างจากการ์ตูนในเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่ ตรงที่เว็บตูนมักจะเป็นสีแทนที่จะเป็นขาวดำ เนื่องจากเว็บตูนจะเผยแพร่ทางดิจิทัลบนเว็บไซต์หรือแอพแทนที่จะเผยแพร่ในนิตยสาร ในกรณีของเกาหลีใต้ ยังมีกฎหมายการเซ็นเซอร์เนื้อหาที่เผยแพร่ทางออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้มีการผลิตและเผยแพร่การ์ตูนแนวอีโรติกและมีเนื้อหาทางเพศอย่างชัดเจนในรูปแบบเว็บตูน[4]

รูปแบบรายได้

เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์ออนไลน์อื่น ๆ มีรูปแบบการชำระเงินหลากหลายที่ใช้สำหรับเว็บตูน บางแห่งจำกัดจำนวนบทให้อ่านฟรี และเรียกเก็บเงินสำหรับบทที่เหลือ บางแห่งอนุญาตให้อ่านได้เพียงบางบทต่อวันโดยไม่ต้องชำระเงิน

ผู้สร้างเว็บตูนสามารถสร้างรายได้จากโฆษณาที่แสดงในซีรีส์ของพวกเขาได้ จนถึงปี 2019 ผู้สร้างมือสมัครเล่นสามารถสร้างรายได้จากเครดิตที่แฟน ๆ มอบให้ เงินที่ผู้สร้างมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้รับขึ้นอยู่กับการเข้าชม[5]

ต้นกำเนิดและประวัติ

แม้ว่าจะมีเว็บคอมิคที่ถูกอัปโหลดและนำเสนอโดยผู้สร้างรายบุคคลมาตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1990 แต่การถือกำเนิดของเว็บตูนนั้นย้อนกลับไปในปี 2000 เมื่อ Lycos Korea เวอร์ชันภาษาเกาหลีของเครื่องมือค้นหาของอเมริกาที่ชื่อว่า Lycos เปิดตัวส่วน Manhwa Bang บนพอร์ทัลไซต์ของพวกเขา Yahoo! Korea ก็เปิดตัวบริการคล้าย ๆ กันที่ชื่อว่า Cartoon Sesang ตามมาในอีกสองปีต่อมา ในปี ค.ศ. 2002 องค์การวัฒนธรรมและสารัตถะเกาหลีได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และเริ่มให้การสนับสนุนการ์ตูนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยรวม

เว็บพอร์ทัลของเกาหลี Daum ได้สร้างบริการเว็บตูนที่รู้จักกันในชื่อ Daum Webtoon ในปี ค.ศ. 2003 และต่อมาก็ตามมาด้วย Naver ในการเปิดตัว Naver Webtoon ในปี ค.ศ. 2004[6] บริการเหล่านี้เผยแพร่เว็บตูนที่สามารถเข้าถึงได้ฟรี ตามข้อมูลของเดวิด เวลช์ จาก Bloomberg หนังสือการ์ตูนมีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของยอดขายหนังสือทั้งหมดในเกาหลีใต้ ในขณะที่ผู้ใช้ชาวเกาหลีมากกว่า 3 ล้านคนจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงมันฮวาออนไลน์ และมีผู้ใช้ 10 ล้านคนอ่านเว็บตูนฟรี[7]

เว็บตูนเรื่องแรกของเกาหลีใต้คือ Uninhabited Island (เกาหลี무인도; ฮันจา無人島; อาร์อาร์Muindo) โดย ฮัน ฮี-จัก ในปี ค.ศ. 1996[8]

ในอดีตนั้นจะแบ่งเรทติ้งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทั้งหมด (เว็บตูนเหมาะกับทุกวัย) และ 18 (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่สามารถอ่านเว็บตูนเรื่องนี้ได้) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 ระบบเรตติ้งเว็บตูนได้ถูกนำมาใช้งาน มีรายงานว่าจะมี 10 แพลตฟอร์มรวมถึง Naver และ Daum เข้าร่วม เรตติ้งคาดว่าจะแบ่งเป็น △ ทั้งหมด △ 12 ปีขึ้นไป △ 15 ปีขึ้นไป △ 19 ปีขึ้นไป (18 ปีขึ้นไป) หรือมากกว่านั้น[9]

รุ่น 0

เค้าโครงของเว็บตูนในยุคแรก ๆ ปุ่มช่วยให้พลิกหน้าได้

เว็บตูนยุคแรก ๆ จะถูกสแกนมาจากการ์ตูนต้นฉบับแล้วอัพโหลดขึ้นไปบนอินเทอร์เน็ตโดยปกติจะจัดรูปแบบหน้าเดียว

อ้างอิง

  1. Harper, David (March 3, 2020). "The Rise of Webtoon". article. SKTCHD. สืบค้นเมื่อ 29 October 2024.
  2. Tanna, Shreyas (July 5, 2023). "Revenue of USD 5.91 Bn in 2022; says Absolute Markets Insights". article. EIN Presswire. Industry Global News 24. สืบค้นเมื่อ 29 October 2024.
  3. Noh, Sueen. ""To Be or Not to Be, That Is the Question": What Is Happening with Korean manga, (Manhwa), Today?" International Journal of manga Art (IJOCA) 9.2 (2007): n. pag. International Journal of manga Art (IJOCA). John A. Lent, Sept. 2007. Web. 3 Dec. 2015.
  4. "Watchdog hit for excessive digital censorship". 30 March 2015.
  5. "Creators 101 :: MAKE MONEY". www.webtoons.com. สืบค้นเมื่อ 2020-04-24.
  6. Herald, The Korea (2014-05-25). "Korean webtoons going global". www.koreaherald.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-27.
  7. Welsh, David (23 April 2007). "Forget Manga. Here's Manhwa". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-27.
  8. "숫자로 보는 만화산업" [Cartoon industry in numbers]. Etnews (ภาษาเกาหลี). 2016-06-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
  9. "웹툰 속 '극단적 선택' 표현…네이버·다음 등 '웹툰 등급제' 시행 예정". Segyeilbo. 2019-05-14.

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia