เรียม เพศยนาวิน
จิกปวนมาเรียม บินตี อับดุลละฮ์ (มลายู: Che’ Puan Mariam Binti Abdullah) หรือพระนามเดิมคือ เรียม เพศยนาวิน (23 เมษายน พ.ศ. 2465 – 29 กันยายน พ.ศ. 2529) เป็นนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2482 เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับตำแหน่งในนาม นางสาวไทย เพราะก่อนหน้านี้ใช้ชื่อการประกวดว่า นางสาวสยาม[1] เป็นสตรีไทยมุสลิมคนแรกและคนเดียวที่ครองตำแหน่งดังกล่าว[2][3] ภายหลังได้เสกสมรสกับรายาฮารุน ปูตราแห่งปะลิสเมื่อ พ.ศ. 2495 มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกันสี่พระองค์ พระประวัติพระชนม์ชีพช่วงต้น![]() จิกปวนมาเรียม มีพระนามเดิมว่ามาเรียม เพศยนาวิน แต่รัฐบาลรณรงค์ให้ใช้ชื่อเป็นภาษาไทยจึงเปลี่ยนเป็นเรียม ประสูติเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2465 ณ อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนโตจากทั้งหมดเจ็ดคนของสุมิต เพศยนาวิน ชาวไทยมุสลิม กับจำรัส ภริยาที่เป็นจีนอพยพ[4] เบื้องต้นพระองค์เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหัสดัมอิสลามวิทยาลัย[2] ในยุคนโยบายชาตินิยมได้มีการออกพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2485 ให้ใช้ชื่อให้เหมาะสมกับเพศสภาพ พระองค์จึงเปลี่ยนพระนามเป็น "เรียมรมย์" พักหนึ่ง หลังผ่านยุคนั้นก็กลับมาใช้ชื่อ "เรียม" ตามเดิม[2][5] ประกวดนางสาวไทยจิกปวนมาเรียมได้เข้าร่วมการประกวดนางสาวไทยส่งเข้าประกวดในนามของอำเภอยานนาวา ระหว่างการฉลองรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อการประกวดจากเดิมคือนางสาวสยามเป็นนางสาวไทยตามชื่อใหม่ของประเทศ[6] นอกจากนี้การประกวดนางสาวไทยยังให้ผู้เข้าประกวดสวมชุดเสื้อกระโปรงติดกันเปิดแผ่นหลังครึ่งหลัง ตัวกระโปรงยาวถึงหัวเข่าเพื่อความทันสมัย จากเดิมที่ผู้ประกวดจะสวมชุดไทยสไบเฉียง[2] ซึ่งจากการประกาศผลในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ได้ประกาศให้เรียม เพศยนาวินวัย 16 ปี จากอำเภอยานนาวาครองตำแหน่งนางสาวไทย[1][3] โดยมีมาลี พันธุมจินดา, เทียมจันทร์ วนิชขจร, เจริญศรี ปาศะบุตร และลำยอง สู่พานิชย์ เป็นรองนางสาวไทยอันดับที่ 1-4 ตามลำดับ โดยพระองค์ได้รับรางวัลที่นับว่ามีค่าในขณะนั้น เช่น พานรอง, ขันน้ำ, จักรยาน หรือโต๊ะเครื่องแป้ง เป็นอาทิ หลังรับตำแหน่งแล้วพระองค์จะมีหน้าที่สำหรับการประชาสัมพันธ์นโยบายการสร้างชาติของรัฐบาล หรือมีบทบาทสำคัญต่อการรังสรรค์ประเทศ อย่างเช่นช่วงประเทศกำลังประสบปัญหาในสงครามอินโดจีน พระองค์ได้นำถ้วยเงินออกขายเพื่อนำเงินมาบำรุงประเทศ[6] เสกสมรส![]() ในปี พ.ศ. 2494 รายาปูตราแห่งปะลิสได้เสด็จมาประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์และมีพระประสงค์ที่จะประทับในบ้านมุสลิมเพื่อหลีกเลี่ยงการต้อนรับอย่างเอิกเกริกรวมทั้งต้องการทอดพระเนตรมุสลิมผู้รับตำแหน่งนางสาวไทยด้วย โดยเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลจึงให้พระองค์ประทับ ณ บ้านของนิพนธ์ สิงห์สุมาลี ซึ่งขณะนั้นเรียมก็ประทับอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวด้วย แต่ทว่าเรียมหลบเลี่ยงที่พบปะกับรายาเสมอ จนกระทั่งวันหนึ่งเรียมทรงแบตมินตันกับบุตรสาวของนิพนธ์ องค์รายาได้ออกมาทอดพระเนตรพอดีและทรงพอพระทัยยิ่ง[2] วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 รายาได้นำพระธำมรงค์ 10 กะรัต และเงิน 10,000 บาท มาทำพิธีหมั้นที่บ้านของนิพนธ์อย่างเรียบง่าย โดยมีต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี หลังจากนั้นอีกสองเดือน จึงได้จัดพิธีเสกสมรสอย่างเรียบง่ายเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมปีนั้นโดยมีจุฬาราชมนตรีมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และมีแขกมาร่วมงานราว 50 คน[2] หลังจากนั้นเป็นต้นมา เรียมจึงมีตำแหน่งเป็นจิกปวน (Che’ Puan) หรือพระมเหสีรอง เพราะรายามีพระมเหสีอยู่ก่อนแล้วคือราจาเปอเริมปวนบูดรียะฮ์ (Raja Perempuan Budriah) ซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามแล้วผู้ชายจะมีภรรยาได้สี่คน ทั้งนี้รายาและจิกปวนมาเรียมมีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ ได้แก่
โดยจิกปวนมาเรียมทรงสอนให้พระราชโอรส-ธิดาพูดภาษาไทย ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในรัฐปะลิส เสด็จกลับประเทศไทยปีละสามครั้ง บ้างก็เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสที่กำลังศึกษาในประเทศอังกฤษ สิ้นพระชนม์จิกปวนมาเรียมสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2529 ด้วยพระอาการพระหทัยวายเฉียบพลัน สิริชันษา 64 ปี พระศพถูกฝัง ณ สุสานหลวงประจำราชวงศ์จามาลูไลล์ รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย[2] เชิงอรรถ
ก ได้รับพระราชทานพระนามภาษาไทยจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[2]
|
Portal di Ensiklopedia Dunia