เรซิเดนต์อีวิลเอาต์เบรก: ไฟล์ 2
เรซิเดนต์อีวิลเอาต์เบรก: ไฟล์ #2 (อังกฤษ: Resident Evil Outbreak: File #2)[a] เป็นภาคเสริมแบบสแตนด์อโลนของเรซิเดนต์อีวิลเอาต์เบรก ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2004, ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ เมื่อ 26 เมษายน ค.ศ. 2005 และทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2005 หลังจากความสำเร็จของภาคเอาต์เบรกดั้งเดิมในประเทศญี่ปุ่น ทางบริษัทแคปคอมได้ประกาศภาคไฟล์ #2 ในปลาย ค.ศ. 2004 ตัวละครแปดตัวเดียวกันกับภาคแรกกลับมาพร้อมความสามารถที่คล้ายกัน และเกมจะเกิดขึ้นอีกครั้งในแร็กคูนซิตีที่มีซอมบีอาศัยอยู่ เกมนี้มีสถานการณ์ใหม่ห้าแบบ โดยสี่สถานการณ์แรกสามารถเล่นได้ตั้งแต่เริ่ม ในฉบับสั่งซื้อล่วงหน้าที่ประเทศญี่ปุ่น เกมดังกล่าวได้บรรจุมาพร้อมกับเดโมของเดวิลเมย์คราย 3 ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2014 ได้มีการเปิดเซิร์ฟเวอร์สำรองสู่สาธารณะโดยใช้เซิร์ฟเวอร์แฟนหมุนเวียนกัน ดังนั้น จึงอนุญาตให้เล่นออนไลน์ได้อีกครั้ง พร้อมกับสิ่งใหม่ ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ เช่น รายการแบน และกระดานผู้นำ[1] รูปแบบการเล่นสถานการณ์ผู้เล่นจะเลือกสถานการณ์, ระดับความยาก และตัวละคร แต่ละระดับความยากจะเกี่ยวข้องกับศัตรูและไอเทมที่ผู้เล่นดำเนินไปตามสถานการณ์ เกมนี้มีห้าสถานการณ์ ได้แก่ "ไวลด์ธิงส์", "อันเดอร์เบลลี", "แฟลชแบ็ก", "เดสเพอริตไทมส์" และ "เอนด์ออฟเดอะโรด" แต่ละสถานการณ์มีรายการตรวจสอบเหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการพิเศษที่ผู้เล่นต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทำเช่นนั้น ผู้เล่นจะปลดล็อก "อินฟินิตีโหมด" ซึ่งอาวุธทั้งหมดของผู้เล่นจะไม่มีวันสะดุดหรือกระสุนหมด แต่ละสถานการณ์ยังมีไอเทม "เอสพี" สิ่งเหล่านี้เป็นไอเทมละบหูลับตาที่ซ่อนอยู่ทั่วทั้งเลเวล และสร้างขึ้นแบบสุ่มบนสองเส้นทาง มีไอเทมสถานการณ์ยี่สิบรายการสำหรับแต่ละสถานการณ์ และมีไอเทมยี่สิบรายการเฉพาะสำหรับแต่ละตัวละครที่ซ่อนอยู่ในสถานการณ์ทั้งห้า หากได้มา ไอเทมเหล่านี้จะปลดล็อกเครื่องแต่งกายใหม่ และตัวเลือกในการฟังตัวละครพูดนอกบท เกมนี้มาพร้อมกับสองสถานการณ์โบนัส ได่แก่ "อิลิมิเนชัน" และ "โชว์ดาวน์" โดยทั้งสองแบบได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นแนวทางการฝึก เพื่อการส่งเสริมรูปแบบการเล่น การควบคุมแทนที่จะใช้หูฟังยูเอสบี หรือหรือแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ผู้เล่นใช้ระบบคำสั่ง "พูดนอกบท" ที่ประกอบด้วยวลีคำสั่งหลักสิบคำ ซึ่งใช้โดยการจัดการจอยสติกแบบแอนะล็อกที่ถูกต้องบนคอนโทรลเลอร์เพลย์สเตชัน 2 และปุ่มที่ไวต่อบริบท ผู้เล่นสามารถเลือกและขอไอเทมจากรายการสิ่งของของเพื่อนร่วมทีม หรือขอให้เพื่อนร่วมทีมใช้ไอเทมดังกล่าว การเพิ่มใหม่นี้รวมถึงวลีพูดนอกบท "ซอร์รี" (ขอโทษ) และความเห็นเกี่ยวกับบริบทในหน้าจอแผนที่และไฟล์ ภาคต่อยังมีคุณสมบัติความยากใหม่ และการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในความสมดุลของเกม ซึ่งรวมถึง "โหมดไนต์แมร์" ใหม่ และการปรับเปลี่ยนแผนภูมิความเสียหายก่อนหน้านี้หลายประการ เกมดังกล่าวยังเพิ่มความสามารถในการขยับตัวละครของผู้เล่นในขณะที่อยู่ในท่าโจมตี ทำให้ตัวละครที่มีปืนสามารถเคลื่อนที่และยิงได้ในเวลาเดียวกัน ความแตกต่างระดับภูมิภาคสำหรับเกมเวอร์ชันอเมริกาเหนือ การ 'พูดนอกบท' จากเกมแรกจะถูกเอาออก ต่อจากนั้น เฉพาะเมื่อตัวละครใช้ก้านแอนะล็อกหรือร้องขอเท่านั้น พวกเขาจึงส่งเสียง หากพยายามใช้พูดนอกบท จะไม่มีเสียงใด ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อรูปแบบการเล่น หากผู้เล่นพยายามบอกคนอื่นว่าพวกเขาโดนพิษ โอกาสที่ข้อความจะถูกสังเกตเห็นนั้นต่ำหากพวกเขาอยู่กลางการต่อสู้ ทั้งนี้ เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นมีเสียงเต็มรูปแบบ ในขณะที่เวอร์ชันยุโรปมีเสียง แต่ไม่มีข้อความ เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นมีคำบรรยายภาษาญี่ปุ่นสำหรับคัตซีน ขณะที่ตัวละครยังคงใช้ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับเกมไบโอฮาซาร์ดก่อนหน้า เนื่องจากความหลากหลายของตัวละคร สิ่งนี้นำไปสู่ความต่อเนื่องที่แปลกประหลาด โดยที่คำบรรยายภาษาญี่ปุ่นได้แปลในฐานะตัวละครทั้งหมดที่พูดในสิ่งเดียวกันในบางสถานการณ์ ส่วนตัวละครรองอย่าง "ลินดา" ได้รับการเรียกว่า "รินดา" ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น เกมดังกล่าวดำเนินงานบนบริการเคดีดีไอ เอ็มเอ็มบีบี ส่วนในสหรัฐ บริการนี้ถูกเปลี่ยนเป็นเซกาเน็ตเวิร์กแอปพลิเคชันแพกเกจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้ คุณลักษณะหลายอย่างได้ถูกลบออกจากเวอร์ชันเอ็นทีเอสซี/แพล รวมถึงการส่งข้อความส่วนตัว, ตัวเลือกการค้นหาขั้นสูง และตัวเลือกพิเศษเพื่อจำกัดการจัดอันดับเพื่อค้นหาอันดับที่เฉพาะเจาะจง โหมดหลายผู้เล่นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2007 ทางบริษัทแคปคอมได้ปิดเซิฟเวอร์แพลและเอ็นที่เอสซีสำหรับภาคไฟล์ #2 การเล่นออนไลน์ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่จากเกมภาคก่อน โดยภาคไฟล์ #2 มีระบบล็อบบีใหม่, ระบบกิจกรรมใหม่ ตลอดจนตัวเลือกและโหมดการเล่นที่เพิ่มขึ้น บริษัทจัดกิจกรรมตั้งแต่เดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนิตยสารเกมต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมจากนิตยสารเพลย์สเตชันแมกกาซีน และอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลี เป็นต้น การสะสางกิจกรรมเหล่านี้จะให้รางวัลแก่ผู้เล่นด้วยตัวละครและเครื่องแต่งกาย เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในเลเวลมาตรฐานในความยากที่กำหนดไว้ ในขณะที่บางเหตุการณ์กำหนดผู้เล่นในเลเวลที่เลือกโดยมีตัวเลือกอินฟินิต และไนต์แมร์ เปิดใช้งานก่อนที่ทั้งสองตัวเลือกจะใช้งานได้ฟรี หลังจากกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทั้งหมดสิ้นสุดลง ทางบริษัทแคปคอมได้ดำเนินการสองกิจกรรมในการหมุนเวียน, อีเวนต์โบนัสคะแนน และการล่าไอเทมเอสพี ระบบล็อบบีได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้รวมพื้นที่ 10 แห่งพร้อมตัวเลือกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้การเข้าร่วมเกมกับเพื่อนยากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เล่นเข้าร่วมกับเพื่อนในเกมที่โฮสต์หรือเกมปัจจุบัน ผู้เล่นจำเป็นต้องเข้าสู่เมนูเพื่อค้นหาชื่อของพวกเขา จากนั้นออกจากเมนูนั้น แล้วเลือกพื้นที่ที่พวกเขาอยู่ และค้นหาเกม ซึ่งเมนูนี้ไม่ได้ระบุจำนวนผู้เล่นในเกมเมื่อค้นหา หมายความว่าเกมอาจเต็มก่อนที่ผู้เล่นจะเข้าร่วม ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม[เมื่อไร?] ทางบริษัทแคปคอมได้ปิดเซิร์ฟเวอร์สำรอง โดยเหลือเพียงตัวเลือกเดียวสำหรับผู้เล่นเมื่อพวกเขาเชื่อมต่อ หลายเดือนต่อมา โหมดไนต์แมร์, โหมดอินฟินิต และการเปลี่ยนแปลงระบบแอเรียได้เกิดขึ้น ส่วนการสนับสนุนโทรทัศน์ความละเอียดสูงได้เลิกจากแอเรียสกรีน แต่ผู้เล่นยังคงสามารถโฮสต์เกมโดยเปิดโหมดโทรทัศน์ความละเอียดสูงโดยเปิดใช้งานแบบออฟไลน์ จากภายในเกม หรือโดยลิงก์บนหน้าการขายอย่างเป็นทางการของแคปคอมในเว็บไซต์สหรัฐ ผู้เล่นสามารถดูตำแหน่งของตนบนกระดานจัดอันดับได้ โครงเรื่องภาคไฟล์ #2 เป็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอาต์เบรกภาคแรก ถึงแม้ว่าลำดับที่แน่นอนของสถานการณ์ดังกล่าวจะยังคงไม่ชัดเจน แม้ว่าจะไม่มี "การเริ่มต้น" ที่เป็นรูปธรรมสำหรับเกม แต่ก็จบลงด้วยการใช้รหัสภารกิจ: XX ซึ่งรัฐบาลได้โจมตีแร็กคูนซิตีด้วยอาวุธนิวเคลียนร์ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขจัดภัยคุกคามที่เกิดจากที-ไวรัส สถานการณ์แรกในบัญชีรายชื่อคือ "ไวลด์ธิงส์" ซึ่งซินดี เลนนอกซ์ นำผู้รอดชีวิตที่เหลือไปที่สวนสัตว์แร็กคูนซิตีโดยหวังว่าจะไปถึงเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยที่อีกด้านหนึ่งของสวนสัตว์ ตลอดทั้งสถานการณ์ดังกล่าว ผู้เล่นจะถูกไล่ตามโดยสัตว์ต่าง ๆ ที่ติดเชื้อไวรัส ซึ่งอันตรายที่สุดคือช้างซอมบีที่ชื่อออสการ์ที่ติดตามผู้เล่นจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง จนกระทั่งมันถูกขังอยู่ในเวทีช้างหรือถูกสังหารโดยผู้เล่น หากพวกเขาไปถึงลานด้านหน้าโดยไม่สังหารหรือขังมันไว้ มันจะปรากฏตัวในฐานะบอส มิฉะนั้น สิงโตซอมบีที่ชื่อแมกซ์จะเป็นบอส เมื่อผู้เล่นไปถึงจุดสิ้นสุดของเวทีและขึ้นรถรางแล้ว รถรางก็หยุดลง และเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยก็ถูกไฟไหม้ในระยะไกล โดยนักบินเสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนอกเฮลิคอปเตอร์ที่กำลังลุกไหม้ ส่วนสถานการณ์ที่สองคือ "อันเดอร์เบลลี" จะแสดงตามการเดินทางของผู้เล่นที่ไปยังสถานีรถไฟใต้ดิน และพยายามหลบหนีออกจากเมืองโดยใช้รถไฟใต้ดิน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่พวกเขาจะจากไป รถไฟขบวนอื่นวิ่งเข้าไปในกองเศษซากและระเบิด โดยปลุก "กิกะไบต์" ซึ่งเป็นตัวหมัดขนาดมหึมา ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กันที่ส่วนท้ายของด่าน ครั้นที่จะเริ่มต้นการต่อสู้นี้ ผู้เล่นคนหนึ่งได้ถูกกิกะไบต์ลักพาตัวขณะรอรถไฟออก และหลังจากกำจัดบอสแล้ว หากผู้เล่นกลับรถไฟไม่ทัน พวกเขาต้องหาทางออกอื่นผ่านซับสเตชันทาวเวอร์ ซึ่งก็คือผ่านปล่องระบายอากาศ และในสถานการณ์ที่สามคือ "แฟลชแบ็ก" อลิสซา แอชครอฟต์ ได้นำผู้รอดชีวิตไปยังกระท่อมในป่าที่พวกเขาได้พบกับอัลเบิร์ต เลสเตอร์ (หรือที่รู้จักในชื่ออัล) ซึ่งสัญญาว่าจะพาพวกเขาไปยังเมืองใกล้เคียง ทว่า เขาหายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อผู้เล่นไปถึงสะพานที่นำไปสู่โรงพยาบาลร้าง โดยจะมีสองเส้นทางที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการเล่น ดังนี้;
ในสถานการณ์ที่สี่คือ "เดสเพอเรตไทมส์" จะพบว่าผู้เล่นในกรมตำรวจแร็กคูนซิตีกำลังปกป้องตนเองจากบรรดาซอมบีที่แออัดอยู่นอกสถานีนี้ ครั้นเมื่อค้นพบแผ่นโลหะหลายแผ่น ผู้เล่นจะเปิดทางลับให้ตำรวจคนหนึ่งชื่อริตา เพื่อนำทางและค้นหาความช่วยเหลือ โดยก่อนที่เธอจะกลับมา เหล่าซอมบีได้บุกทะลุประตูกรมตำรวจ และผู้เล่นจะต้องกำจัดพวกมันให้ได้จำนวนหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับความยากที่เลือก) ก่อนที่จะจบสถานการณ์ดังกล่าว ผู้เล่นถูกบังคับให้ทิ้งที่ชื่อมาร์วินไว้ข้างหลังขณะที่พวกเขาขับรถออกไป ในขณะที่มาร์วินขังตัวเองอยู่ในห้อง (ซึ่งต่อมาถูกพบโดยตัวละครที่ผู้เล่นควบคุมในเรซิเดนต์อีวิล 2) และในสถานการณ์สุดท้ายคือ "เอนด์ออฟเดอะโรด" เดวิด คิง ได้นำผู้รอดชีวิตไปที่ห้องทดลองของอัมเบรลลา ซึ่งพวกเขาได้พบกับนักวิทยาศาสตร์สองคน อันได้แก่ลินดาและคาร์เตอร์ ที่กลับมาเพื่อรับการรักษา โดยก่อนที่พวกเขาจะออกไป เสียงสัญญาณเตือนได้ดังขึ้น และชัตเตอร์ก็ปิดทางออก โดยสองนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเปิดได้ ห้องทดลองนี้เต็มไปด้วยนักล่า ซึ่งคาร์เตอร์ป้องกันด้วยการปลุกไทเรนต์ให้ต่อสู้เพื่อเขา และขณะที่กลุ่มนี้กำลังจะออกไป ไทเรนต์ก็หันมาหาผู้เล่น โดยสังหารคาร์เตอร์และโยนลินดาลงมาจากหิ้ง จากนั้น ไทเรนต์จะไล่ตามผู้เล่นไปตลอดสถานการณ์ที่เหลือ โดยผู้เล่นเข้าไปในท่อระบายน้ำใต้ห้องทดลอง และพบว่าลินดายังมีชีวิตอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นสังหารไทเรนต์หรือไม่ พวกเขาจะถูกพัดพาไปในท่อระบายน้ำพร้อมกับลินดา หรือทิ้งไว้ข้างหลังเพื่อขึ้นไปถึงชั้นบนด้วยตนเอง โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เล่นจะต้องเผชิญกับไทเรนต์ที่กลายพันธุ์บนท้องถนนในเมือง ผู้เล่นจะได้รับโอกาสในการช่วยเหลือลินดา ซึ่งถูกยิงโดยพลซุ่มยิง (ซึ่งยิงใส่ผู้เล่นเช่นกัน) และจะต้องให้ผู้เล่นประคองไปจนสุดด่าน พวกเขาสามารถเลือกที่จะหลบหนีโดยรถบรรทุก แต่ก่อนที่จะทำเช่นนั้นต้องต่อสู้กับนิกซ์ซึ่งเป็นบอสตัวสุดท้าย หรือโดยเฮลิคอปเตอร์โดยไม่ต้องต่อสู้กับบอสตัวสุดท้าย และมีตอนจบที่แตกต่างกันสี่แบบ ได้แก่:
อนึ่ง การได้รับตอนจบแบบที่หนึ่งหรือสามจะทำให้ผู้เล่นได้ตอนจบที่ดีรวมถึงมีบทส่งท้ายสำหรับตัวละครที่เลือก และการได้รับตอนจบแบบที่สองหรือที่สี่จะทำให้ผู้เล่นได้ตอนจบที่แย่ หมายเหตุอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia