เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง
เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง เป็นอีพีอัลบั้มที่สองของอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข นักร้อง นักแต่งเพลง และสถาปนิกชาวไทย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และออกจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอลดาวโหลดผ่านไอทูนส์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[1] สังกัดค่ายเลิฟอีส ดูแลการจัดจำหน่ายโดยโซนี่มิวสิค (ประเทศไทย) ชื่ออัลบั้ม เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง มาจากความรู้สึกของอภิวัชร์เมื่อได้ฟังเพลงที่ไม่ได้ฟังนานแล้ว จะทำให้นึกถึงเหตุผลที่ชอบเพลงนั้น เมื่อผ่านไปอีก 20 ปี กลับมาฟังก็ยังคงภูมิใจ[2] เพลงในอัลบั้มเป็นแนวเพลงโฟล์กร็อกสะท้อนชีวิตเมืองที่ทะเยอทะยานสู่ความเป็นตะวันตก เนื้อหาในบทเพลงเป็นการเล่าเรื่องโดยส่วนใหญ่ ในส่วนของดนตรีได้ใช้นักดนตรีจริงในการบรรเลง มิได้ใช้เสียงสังเคราะห์ เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง มีเพลงที่ได้รับความนิยมหลายเพลง อาทิ "บ้านเล็ก" "ครั้งสุดท้าย" และ "เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลซี้ดอะวอร์ดครั้งที่ 6 ใน 3 สาขา คือ "ศิลปินชายยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี" "อัลบั้มยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี" และ "เพลงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี" จากเพลง "ครั้งสุดท้าย" และได้รับรางวัลในงานเดียวกันนี้หนึ่งสาขาคือ "โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี" จากอัลบั้มนี้เอง นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอะวอร์ดใน 2 สาขาคือ "เพลงยอดเยี่ยม" จากเพลง "ภาษาไทย" และ "ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม" จากอัลบั้มนี้เอง การประพันธ์และอำนวยการผลิตอภิวัชร์เริ่มต้นโครงการทำอีพีอัลบั้มที่สองภายหลังการทำอัลบั้มแรก มิลเลียนเวส์ทูไรท์พาร์ต 1 ซึ่งเขาเองรู้สึกกดดันกับการทำงาน แต่ภายหลังได้แนวคิดของอัลบั้มว่าจะทำทุกอย่างที่อยากทำ โดยออกมาเป็นเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ซึ่งเขาได้อธิบายถึงชื่ออัลบั้มไว้ว่า "...เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง ว่าเวลาที่เราไปฟังเพลงที่นานมาแล้วที่ตัวเองไม่ได้ฟัง ก็เหมือนมีอะไรมาปิ๊งให้เราคิดว่าตอนเด็กๆ เราชอบเพลงแบบนี้ ตอนเด็กๆ เราเคยฝันว่าเราอยากจะทำเพลง อยากจะแต่งเพลงในแบบที่ไม่มีเรื่องอื่นมาบดบัง เหมือนเป็นชื่อที่เตือนตัวเองว่า อยากให้ 20 ปีต่อไปผมกลับมาฟัง เป็นเพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง ผมได้ยินอีก 20 ปีข้างหน้าแล้วผมภูมิใจกับมัน..."[3] ด้านดนตรีมีการปรับปรุงดนตรีโดยใช้นักดนตรีจริงมาบรรเลงอาทิ วงออเคสตรา ซึ่งแตกต่างจากอัลบั้มก่อนที่ใช้ดนตรีสังเคราะห์[3] ส่วนของแนวเพลงจะเป็นแนวโฟล์กร็อก และเน้นในด้านดนตรีมากขึ้น ความหมายเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเป็นการบรรยายถึงความทะเยอทะยานของคนในสังคมเมืองสู่แบบตะวันตก[2] เพลง "บ้านเล็ก" ซึ่งอภิวัชร์ได้อธิบายว่าเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความอยากมีอยากได้ของคน แต่สุดท้ายต้องตือนตัวเองว่ามีความจำเป็นกับเราหรือไม่[3] ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ ลอนดอนไดอารี่ ของนิ้วกลม ในเพลง "ครั้งสุดท้าย" เขาได้แต่งให้กับพ่อที่ออกจากบ้านโดยไม่ได้บอกให้เขาทราบ[2] ส่วนเพลง "แอนิเมชั่น" เป็นการสื่อว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ยั่งยืนเป็นนิรันดร์ ในอัลบั้มนี้เขาโปรดิวซ์ด้วยตนเอง และมีศิลปินและนักดนตรีอื่นๆ ร่วมงานในอัลบั้มนี้ ได้แก่ เควิน บิดเดิล มือกลองจากวงเดอะบีกินส์, ฟักกลิ้ง ฮีโร่ ในเพลง "Karma" และ "สองยกกำลังยี่สิบ" และ ชินพัฒน์ หงส์อัมพร มือกีตาร์วงเครสเชนโด้ ในเพลง "ครั้งสุดท้าย"[2] เพลง "สองยกกำลังยี่สิบ" ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ระหว่าง บอย โกสิยพงษ์ และ David Vasquez และท่อนแรปโดยฟักกลิ้ง ฮีโร่ ซึ่งมีภพธร สุนทรญาณกิจ (ตู่) มาร่วมขับร้องในเพลงนี้ เป็นเพลงแนวร็อก อาร์แอนด์บี และแรป ความหมายคือการส่งต่อความสนุกสนานคือยกกำลังไปเรื่อยๆจนกลายเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รายชื่อเพลง
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia