เดอะ เมสเซจ
เดอะ เมสเซจ (อังกฤษ: The Message อาหรับ: الرسالة Ar-Risālah; รู้จักกันในชื่อ มูฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลาม) เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสดามุฮัมมัด กำกับโดยมุสตาฟา อักกาด โดยเผยแพร่รุ่นภาษาอาหรับในปี 1976 และรุ่นภาษาอังกฤษในปี 1977 ภาพยนตร์เรื่องนั้ถูกคัดเลือกรางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ของงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 50 กำกับโดยมอริส ฌาร์ แต่เสียรางวัลให้กับสตาร์ วอร์ส (กำกับโดย จอห์น วิลเลียมส์) บทแสดง
การพรรณนาถึงมูฮัมมัดเนื่องจากมีความเชื่อของมุสลิมที่มีต่อการพรรณนาถึงมูฮัมมัด จึงไม่แสดงใบหน้าและเสียงของท่าน เนื่องจากเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงมีคำแนะนำก่อนที่จะฉายภาพยนตร์ว่า:
กฎนี้ได้รวมถึงภรรยาของมูฮัมมัด, ฟาฏิมะฮ์, ลูกเขย, และเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (อะบูบักร์, อุมัร, อุสมาน และอะลี).จึงทำให้เหลือแค่ฮัมซะฮ์ (แอนโทนี ควินน์) ลุงของมูฮัมหมัด และซัยด์ (เดเมียน โทมัส) ลูกบุตรบุญธรรมของท่านเป็นตัวประกอบ ในระหว่างสงครามบะดัร และสงครามอุฮุด ฮัมซะฮ์เป็นคนคุมกองทัพ ถึงแม้ว่าผู้คุมจริงนั้นคือมูฮัมมัดก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่ถึงบทของมูฮัมมัด จะมีการเล่นออร์แกนให้มีเสียงเบา ในขณะที่คำพูดของท่าน จะมีคนอื่นมาพูดแทนเช่น ฮัมซะฮ์ ซัยด์ หรือบิลาล และในขณะที่ในภาพยนตร์ได้เรียกท่านนั้น จะมีการเคลื่อนกล้องไปตามทางเหมือนกับว่ากล้องนั้นคือมูฮัมมัด สิ่งที่พรรณนาถึงมูฮัมมัด หรือครอบครัวของท่านได้มากที่สุดคือ ซุลฟิการ์ ดาบสองแฉกของอะลีในฉากต่อสู้, ไม้เท้าในฉากที่กะอ์บะฮ์ และมะดีนะฮ์ และก็อสวะฮ์อูฐของมูฮัมหมัด การตอบรับในเดือนกรกฎาคม ปี1976 ห้าวันหลังจากมีการฉายภาพยนตร์ในเวสต์เอนด์ออฟลอนดอน มีการโทรไปยังอักกาดให้เปลี่ยนชื่อจาก โมฮัมเหม็ด เมสเซนเจอร์ออฟก้อด ให้เป็น เดอะ เมสเซจ ภายใต้วงเงิน £50,000 ปอนด์[2] ดิลีส์ โพเวลล์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากซันเดย์ทาม ได้บอกว่า "ดูเหมือนภาพยนตร์แบบตะวันตก … ตรงข้ามกับความคิดของชาวคริสต์ยุคแรก"[3] มูนา วัซเซฟได้รับรางวัลในการเล่นบทเป็นฮินด์ในรุ่นภาษาอาหรับ[4] รางวัลภาพยนตร์เรื่องนี้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 1977 สาขาดนตรียอดเยี่ยม[5] ดนตรีเสียงดนตรีประกอบเรื่อง เดอะ เมสเซจ กำกับโดยมอริส ฌาร์ และเล่นดนตรีโดยลอนดอนซิมโฟนีออร์เคสตรา
ฝั่งที่หนึ่ง
ฝั่งที่สอง
ดูเพิ่มอ้างอิง
เว็บที่เชื่อมโยงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เดอะ เมสเซจ |
Portal di Ensiklopedia Dunia