เดกซ์โทรเมทอร์แฟน ข้อมูลทางคลินิก การอ่านออกเสียง DEK-stroh -məth-or -fan ชื่อทางการค้า โรบิทัสซิน, Delsym เป็นต้น ชื่ออื่น DXM, 3-methoxy-N-methylmorphinan AHFS /Drugs.com โมโนกราฟ MedlinePlus a682492 ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ Addiction liability น้อย – ปานกลาง ช่องทางการรับยา รับประทาน ประเภทยา ยาแก้ไอ[ 1] [ 2] ,
ยาแก้ซึมเศร้า [ 3] ,
NMDA receptor antagonists, dissociative, สารหลอนประสาท,ยาระงับประสาท ,สารกระตุ้น รหัส ATC กฏหมาย สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ ชีวประสิทธิผล 11%[ 4] การเปลี่ยนแปลงยา เอนไซม์ จากตับ —หลัก : CYP2D6, รอง : CYP3A4 และ CYP3A5 สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา
Dextrorphan
3-methoxymorphinan
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ เมแทบอลิซึม ดี : 2–4 ชม. ,เมแทบอลิซึม ไม่ดี : 24 ชม. [ 5] การขับออก ไต ตัวบ่งชี้
(4bS ,8aR ,9S ) -3-Methoxy-11-methyl-6,7,8,8a,9,10-hexahydro-5H -9,4b-(epiminoethano) phenanthrene
เลขทะเบียน CAS PubChem CID IUPHAR/BPS DrugBank ChemSpider UNII KEGG ChEBI ChEMBL ECHA InfoCard 100.004.321 ข้อมูลทางกายภาพและเคมี สูตร C 18 H 25 N O มวลต่อโมล 271.404 g·mol−1 แบบจำลอง 3D (JSmol ) ไครัลลิตี Dextrorotatory enantiomer จุดหลอมเหลว 111 องศาเซลเซียส (232 องศาฟาเรนไฮต์)
CN1CC[C@@]23CCCC[C@@H]2[C@@H]1Cc4c3cc (cc4)OC
InChI=1S/C18H25NO/c1-19-10-9-18-8-4-3-5-15(18)17(19)11-13-6-7-14(20-2)12-16(13)18/h6-7,12,15,17H,3-5,8-11H2,1-2H3/t15-,17+,18+/m1/s1
Y Key:MKXZASYAUGDDCJ-NJAFHUGGSA-N
Y
7 Y (what is this?) (verify) สารานุกรมเภสัชกรรม
เดกซ์โทรเมทอร์แฟน [ 6]
(Dextromethorphan , DXM )
ซึ่งจำหน่ายในชื่อการค้า โรบิทัสซิน และอื่น ๆ เป็นยาแก้ไอ โดยอาจพบในยาแก้หวัด ด้วย[ 7]
ในปี 2022 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติให้ใช้ยาผสม DXM/บูโพรพิออน เป็นยาแก้ซึมเศร้า ที่ออกฤทธิ์เร็วสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [ 8]
ยาอยู่ในกลุ่มมอร์ฟิแนน (morphinan) ที่มีฤทธิ์ระงับประสาท ทำให้รู้สึกว่าแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม (dissociative) และกระตุ้นประสาท (เมื่อใช้ในขนาดต่ำ)
ยาไม่มีสัมพรรคภาพ (affinity) อย่างมีนัยสำคัญกับตัวรับ μ-opioid receptor ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของสารประกอบมอร์ฟิแนน แต่มีฤทธิ์รักษาผ่านตัวรับอื่น ๆ หลายชนิด[ 9]
ในรูปแบบบริสุทธิ์ ยาจะเป็นผงสีขาว[ 10]
เมื่อใช้เกินขนาดที่อนุมัติ ยาออกฤทธิ์เป็นสารหลอนประสาทที่ทำให้รู้สึกว่าแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม (dissociative)
ยามีกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง รวมถึงการเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมกลับของเซโรโทนินแบบไม่จำเพาะ (SRI )[ 11]
และเป็นตัวเริ่มการทำงานของตัวรับซิกมา-1 (sigma-1 receptor agonist)[ 12] [ 13]
DXM และเมแทบอไลต์ ของมันคือ เดกซ์โทรแฟน (dextrorphan) เมื่อใช้ในขนาดมากทั้งสองจะระงับการทำงานของตัวรับ NMDA receptor แล้วก่อผลเหมือนกับยาสลบที่ให้ความรู้สึกแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม ชนิดอื่น ๆ เช่น เคตามีน ไนตรัสออกไซด์ และเฟนไซคลิดีน
ยาได้จดสิทธิบัตร ในปี 1949 และได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในปี 1953[ 14]
การแพทย์
ยาน้ำแก้ไอที่ขายตามร้าน
การระงับอาการไอ
เดกซ์โทรเมทอร์แฟนใช้หลัก ๆ เป็นยาแก้ไอ เพื่อบรรเทาอาการไอชั่วคราวที่เกิดจากการระคายเคืองของคอและหลอดลมแบบเล็กน้อย (เช่นที่มักพบในไข้หวัดใหญ่ และหวัด ธรรมดา) หรือจากการสูดสิ่งระคายเคืองเข้าไป และบรรเทาอาการไอเรื้อรังเมื่อใช้ในขนาดที่สูงขึ้น[ 15] [ 16]
มีจำหน่ายเป็นยาน้ำแก้ไอ ยาเม็ด และยาผสม
ภาวะซูโดบัลบาร์
ในปี 2010 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติยาผสม DMX กับควินิดีน ซึ่งมีชื่อทางการค้า Nuedexta เพื่อรักษาภาวะซูโดบัลบาร์ (อาการหัวเราะ/ร้องไห้ที่ควบคุมไม่ได้)[ 17]
DMX เป็นยาออกฤทธิ์หลัก ส่วนควินิดีนใช้ยับยั้งการย่อยสลาย DMX ที่ใช้เอนไซม์ และดังนั้น จึงเพิ่มความเข้มข้นของ DMX ในเลือดโดยยับยั้งเอนไซม์ CYP2D6[ 18]
โรคซึมเศร้า
ยาผสม DMX กับบูโพรพิออน ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โดยมีชื่อการค้า Auvelity[ 19] [ 20]
ข้อห้ามใช้
เพราะยาสามารถกระตุ้นการหลั่งฮิสตามีน เด็กที่มีภาวะภูมิแพ้กรรมพันธุ์ ซึ่งไวต่อปฏิกิริยาภูมิแพ้เป็นพิเศษ ควรได้รับยาเฉพาะเมื่อจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น โดยมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด[ 21]
ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
ผลข้างเคียงของยาในขนาดรักษาตามปกติอาจรวมถึง[ 5] [ 16] [ 21]
ผลข้างเคียงที่พบน้อยคือ การกดการหายใจ[ 16]
พิษต่อระบบประสาท
ยาเคยถูกเข้าใจว่าทำให้เกิดรอยโรค Olney's lesions เมื่อให้ทางหลอดเลือดดำ
แต่ภายหลังพบว่ายังสรุปได้ไม่แน่ชัดเพราะขาดการวิจัยในมนุษย์
มีการทดสอบในหนูโดยให้ยาขนาด 50 มก. หรือมากกว่าทุกวันอาจจนถึงหนึ่งเดือน
แม้จะพบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่แสดงพิษต่อระบบประสาทรวมถึงการเกิดช่องว่างในเซลล์ (vacuolation)
ในสมองส่วน posterior cingulate และ retrosplenial cortices ของหนูที่ได้รับสารต่อต้านตัวรับ NMDA อื่น ๆ เช่นเฟนไซคลิดีน แต่ก็ไม่พบในกรณีของ DMX[ 22] [ 23]
การติดและการขาดยา
ในกรณีที่ได้บันทึก ยาอาจทำให้ติดทางจิตใจสำหรับผู้ใช้เพื่อนันทนาการ
ยามีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่ายาแก้ไอสามัญอื่น ๆ เช่น โคดีอีน ซึ่งเป็นยากลุ่มโอปิออยด์ [ 5]
เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมกลับของเซโรโทนิน (serotonin reuptake inhibitor)
ผู้ใช้รายงานว่าการใช้เพื่อนันทนาการเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน
สามารถก่ออาการขาดยาคล้ายกับกลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า
อนึ่ง ยังเกิดความผิดปกติในการนอนหลับ การรับรู้ การเคลื่อนไหว อารมณ์ และความคิด
การได้ยาเกิน
อันตรกิริยาของยา
กลุ่มอาการเซโรโทนิน เป็นพิษ อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาร่วมกับยาแก้ซึมเศร้าที่มีผลต่อเซโรโทนิน เช่น selective serotonin re-uptake inhibitors (SSRIs) หรือ monoamine oxidase inhibitor (MAOIs)[ 24]
จะต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อกำหนดว่าต้องใช้ DMX ในขนาดที่สูงกว่าขนาดการรักษาปกติหรือไม่จึงจะเกิดผลดังกล่าว[ 11]
ในทุกกรณี DMX ไม่ควรใช้ร่วมกับยา MAOIs เพราะเหตุนี้[ 21]
อาการนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากจากการสะสมเซโรโทนินในร่างกายมากเกิน
ผู้ที่รับประทานยา DMX ควรระมัดระวังเมื่อดื่มน้ำเกรปฟรูต หรือรับประทานเกรปฟรูต
เนื่องจากสารประกอบของผลไม้มีผลต่อยาหลายชนิดรวมถึง DMX
โดยยับยั้งระบบเอนไซม์ไซโตโครม P450 ในตับ จึงเกิดการสะสมยามากเกินไปซึ่งทำให้ฤทธิ์ของยาเพิ่มขึ้นและยาวนานขึ้น
แนะนำให้หลีกเลี่ยงเกรปฟรูตและน้ำเกรปฟรูต (โดยเฉพาะน้ำเกรปฟรูตขาว แต่รวมถึงผลไม้สกุลส้ม อื่น ๆ เช่น ส้มเบอร์กามอตและมะนาว รวมทั้งผลไม้ที่ไม่ใช่ตระกูลส้มบางชนิด) ในขณะที่ใช้ยา DMX และยาอื่น ๆ อีกหลายชนิด[ 25]
เภสัชวิทยา
เภสัชพลศาสตร์
เดกซ์โทรเมทอร์แฟนและเมแทบอไลต์[ 26] [ 18] [ 27] [ 28]
ตำแหน่ง
DXM
DXO
สปีชีส์
อ้างอิง
NMDAR (MK-801)
2,120–8,945
486–906
หนู
[ 18]
σ1
142–652
118–481
หนู
[ 18]
σ2
11,060–22,864
11,325–15,582
หนู
[ 18]
MOR
1,280ND
420 >1,000
หนู มนุษย์
[ 18] [ 29]
DOR
11,500
34,700
หนู
[ 18]
KOR
7,000
5,950
หนู
[ 18]
SERT
23–40
401–484
หนู
[ 18]
NET
≥240
≥340
หนู
[ 18]
DAT
>1,000
>1,000
หนู
[ 18]
5-HT1A
>1,000
>1,000
หนู
[ 18]
5-HT1B / 1D
61% ที่ 1 μM
54% ที่ 1 μM
หนู
[ 18]
5-HT2A
>1,000
>1,000
หนู
[ 18]
α1
>1,000
>1,000
หนู
[ 18]
α2
60% ที่ 1 μM
>1,000
หนู
[ 18]
β
>1,000
35% ที่ 1 μM
หนู
[ 18]
D2
>1,000
>1,000
หนู
[ 18]
H1
>1,000
95% ที่ 1 μM
หนู
[ 18]
mAChRs
>1,000
100% at 1 μM
หนู
[ 18]
nAChRs
700–8,900 (IC50 )
1,300–29,600 (IC50 )
หนู
[ 18]
VDSCs
>50,000 (IC50 )
ND
หนู
[ 30] [ 31]
ค่าที่แสดงเป็นค่า Ki (nM) เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น ยิ่งค่าน้อย ยายิ่งจับกับตำแหน่งได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อทดสอบในเนื้อเยื่อหนู พบว่า DMX (ความเข้มข้น <1 μM) มีฤทธิ์ดังต่อไปนี้[ 18] [ 32]
เป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (uncompetitive antagonist) ของตัวรับ NMDA ผ่านตำแหน่ง MK-801/PCP [ 32]
เป็นตัวยับยั้งตัวขนส่งเซโรโทนิน (SERT ) และตัวขนส่งนอร์อีพิเนฟริน (NET ) (เปรียบเทียบกับสารยับยั้งการดูดกลับของเซโรโทนิน-นอร์อีพิเนฟริน)
เป็นตัวเริ่มการทำงานตัวรับซิกมา σ1 (Sigma σ1 receptor agonist)
เป็น negative allosteric modulator ของตัวรับ nicotinic acetylcholine receptor
เป็นลิแกนด์ของตัวรับ serotonin 5-HT1B / 1D receptor, histamine H1 receptor, α2 -adrenergic receptor และ muscarinic acetylcholine receptor
DMX เป็น prodrug ของเดกซ์โทรแฟน ซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์จริงให้เกิดผลรู้สึกว่าแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม (dissociative) เป็นตัวยับยั้งตัวรับ NMDA ที่แรงกว่า DMX เอง[ 33]
ส่วนบทบาทของเมแทบอไลต์หลักอีกอย่างของ DMX คือ (+)-3-methoxymorphinan ยังไม่ชัดเจน[ 34]
เภสัชจลนศาสตร์
เมื่อรับประทานเข้าไป ยาจะดูดซึมอย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหาร เข้าสู่กระแสเลือด แล้วผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง เข้าไปในสมอง[ต้องการอ้างอิง ]
ในขนาดรักษา ยาจะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง (ที่สมอง ) ไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ณ ระบบทางเดินหายใจ
โดยเพิ่มระดับเกณฑ์การไอ และไม่ยับยั้งการทำงานของขนซิเลีย ในทางเดินหายใจ (ที่ขนเสมหะ และสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา)
ยาจะดูดซึมอย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหารแล้วเปลี่ยนเป็นเมแทบอไลต์ออกฤทธิ์คือเดกซ์โทรแฟนในตับด้วยเอนไซม์ไซโตโครม P450 CYP2D6
ขนาดยาเฉลี่ยที่รักษาอาการไอได้ผลอยู่ระหว่าง 10–45 มิลลิกรัม โดยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
สมาคมนานาชาติเพื่อการศึกษาเรื่องการไอแนะนำว่า "ผู้ป่วยควรได้รับยาครั้งแรกให้มีขนาดที่เพียงพอ คือ 60 มิลลิกรัม ในผู้ใหญ่ โดยให้กินซ้ำไม่บ่อย แทนที่จะเป็นวันละ 4 ครั้งตามที่แนะนำ"[ 35]
ยามีค่าครึ่งชีวิตในการกำจัดประมาณ 4 ชั่วโมง ในบุคคลที่มีฟีโนไทป์ แบบมีเอนไซม์สลายยามาก (extensive metabolizer)
ค่านี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 13 ชั่วโมง เมื่อให้ DMX ร่วมกับควินิดีน[ 28]
ระยะการออกฤทธิ์หลังการรับประทานอยู่ที่ประมาณ 3–8 ชม. สำหรับเดกซ์โทรเมทอร์แฟนไฮโดรโบรไมด์
และ 10–12 ชม. สำหรับเดกซ์โทรเมทอร์แฟนโพลิสไทเร็กซ์ (dextromethorphan polistirex)[ต้องการอ้างอิง ]
ประมาณ ⅒ ของประชากรผิวขาวมีเอนไซม์ CYP2D6 ที่ออกฤทธิ์น้อยมากหรือไม่มีเลย ส่งผลให้ยาคงระดับสูงในร่างกายเป็นเวลานาน[ 35]
เมแทบอลิซึม
วิถีเมแทบอลิซึม ของการสลาย DMX ซึ่งเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ cytochrome P450 monooxygenases (CYP3A4 และ CYP2D6) และ UDP-glucuronosyl-transferase (UGT)[ 36]
เมื่อยาดำเนินผ่านหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ เป็นครั้งแรก ก็จะย่อยสลายผ่านกระบวนการ O-demethylation (คือการแยกกกลุ่มเมทิล [CH3 ] ออกจากออกซิเจน ของโมเลกุลยา)
มีผลเป็นเมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของยาคือ เดกซ์โทรแฟน ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ชนิด 3-hydroxy ของ DMX
เชื่อว่าฤทธิ์การรักษาของยาเกิดจากทั้งตัวยาและสารเมแทบอไลต์นี้
ยายังย่อยสลายผ่านกระบวนการ N-demethylation (คือการแยกกกลุ่มเมทิล [CH3 ] ออกจากไนโตรเจน ) มีผลเป็นเมแทบอไลต์ 3-methoxymorphinan (MEM)
แล้วผ่านกระบวนการ partial conjugation กับกรดกลูคิวโรนิก (glucuronic acid) และไอออนของซัลเฟต[ 37]
หลายชั่วโมงหลังจากการรักษาด้วยยาในมนุษย์ ก็จะสามารถตรวจพบสารเมแทบอไลต์ (+)-3-hydroxy-N-methylmorphinan, (+)-3-morphinan และร่องรอยยาที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงในปัสสาวะ[ 21]
เอนไซม์ตัวเร่งปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมที่สำคัญคือ cytochrome P450 ที่รู้จักในชื่อ 2D6 หรือ CYP2D6
ในประชากรสัดส่วนสำคัญ เอนไซม์นี้ทำงานบกพร่อง จึงจัดว่า เป็นผู้แยกสลายยาด้วย CYP2D6 ได้ไม่ดี (poor CYP2D6 metabolizer)
กระบวนการ O-demethylation ของยา มีผลเป็น 80% ของเดกซ์โทรแฟนที่สร้างขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึมของยา[ 37]
เนื่องจาก CYP2D6 เป็นวิถีเมแทบอลิซึมหลักในการระงับฤทธิ์ยา ระยะเวลาของการออกฤทธิ์และผลของยาจึงอาจเพิ่มถึง 3 เท่าสำหรับผู้แยกสลายยาได้ไม่ดี[ 38]
การศึกษากับชาวอเมริกัน 252 คนพบว่า 84.3% เป็นผู้ที่แยกสลายยาได้เร็ว, 6.8% ได้ปานกลาง และ 8.8% ได้ช้า[ 39]
มีอัลลีล จำนวนหนึ่งของ CYP2D6 ที่รู้ รวมถึงรูปแปรที่ไม่ทำงานเลยหลายตัว
การกระจายของอัลลีลจะไม่แน่นอนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ยาจำนวนมากเป็นสารยับยั้ง CYP2D6 ที่มีประสิทธิภาพสูง
ยาบางประเภทที่ทราบว่ายับยั้ง CYP2D6 ได้แก่ ยาแก้ซึมเศร้า กลุ่ม SSRI และ tricyclic บางชนิด, ยาระงับอาการทางจิต บางชนิด และไดเฟนไฮดรามีน ซึ่งเป็นสารต้านฮิสตามีน ที่มีขายทั่วไป
ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่าง DMX กับยาที่ยับยั้งเอนไซม์นี้ โดยเฉพาะผู้ที่แยกสลายยาได้ช้า
DMX ยังแยกสลายอาศัยเอนไซม์ CYP3A4 ด้วย
การแยกกกลุ่มเมทิล (CH3 ) ออกจากไนโตรเจน (N-demethylation) โดยหลักเกิดอาศัย CYP3A4 และมีผลสร้าง MEM ถึง 90% ที่เป็นเมแทบอไลต์หลักของ DMX[ 37]
ยังมีเอนไซม์ชนิด CYP อื่น ๆ ที่ได้ระบุว่าเป็นวิถีเมแทบอลิซึมรองของ DMX
แม้เอนไซม์ CYP2D6 จะมีประสิทธิภาพมากกว่า CYP3A4 ในกระบวนการ N-demethylation
แต่เนื่องจากคนทั่วไปมีปริมาณ CYP2D6 ในตับน้อยกว่า CYP3A4 มาก กระบวนการ N-demethylation ของยาส่วนใหญ่จึงเกิดอาศัย CYP3A4[ 37]
ทางเคมี
ยาเป็น dextrorotatory enantiomer ของ levomethorphan ซึ่งก็เป็นอีเทอร์ ชนิดเมทิลของ levorphanol ทั้งคู่เป็นยาแก้ปวด กลุ่มโอปิออยด์
DMX มีชื่อตาม IUPAC ว่า (+)-3-methoxy-17-methyl-9α,13α,14α-morphinan
ในรูปแบบบริสุทธิ์ ยาเป็นผงสีขาวเหลือบและไม่มีกลิ่น
ละลายได้ดีในคลอโรฟอร์ม แต่ไม่ละลายน้ำ
รูปแบบที่เป็นเกลือไฮโดรโบรไมด์จะละลายน้ำได้ถึง 1.5 ก./100 มล. ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส [ 40]
DMX มักขายในรูปแบบเกลือไฮโดรโบรไมด์เป็นโมโนไฮเดรต โดยมีในรูปแบบที่ออกฤทธิ์นาน คือ dextromethorphan polistirex
อันประกอบด้วย DMX ที่จับกับเรซินแลกเปลี่ยนไอออน ที่ได้มาจาก polystyrene sulfonic acid[ต้องการอ้างอิง ]
การหมุนจำเพาะ (specific rotation) ของ DMX ในน้ำคือ +27.6° (20 °C, Sodium D-line)[ต้องการอ้างอิง ]
การสังเคราะห์
Racemate separation
Racemate separation for synthesis of Dextromethorphan
การสังเคราะห์ดั้งเดิม
Grewe's cyclization
วิธีนี้ง่ายกว่าในแง่ของสารเคมีที่ใช้ ให้ผลผลิตที่สูงกว่า และได้ผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์กว่า[ 41]
Grewe's cyclization แบบปรับปรุง
ประวัติ
ในสหรัฐ
บริษัท ฮอฟฟ์แมน-ลา โรช ได้ระบุสารตั้งต้นของยาที่เป็นสารประกอบ racemic คือ ราซีมอร์แฟน (racemorphan) เป็นครั้งแรกเมื่อยื่นขอสิทธิบัตร ในสวิตเซอร์แลนด์ ปี 1946 และในสหรัฐอเมริกา ปี 1947
ต่อมาจึงได้สิทธิบัตรในปี 1950
การแยกไอโซเมอร์ ทั้งสองของราซีมอร์แฟนด้วย กรดทาร์ทาริก ได้ตีพิมพ์ในปี 1952[ 42]
ต่อมาในปี 1954 DMX จึงผ่านการทดสอบเป็นสารทดแทนโคดีอีน ที่ไม่ก่อการเสพติดโดยอาศัยทุนวิจัยจากกองทัพเรือสหรัฐ และซีไอเอ [ 43]
ต่อมาในปี 1958 องค์การอาหารและยาสหรัฐ จึงอนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ไอที่แพทย์ไม่ต้องสั่ง[ 42]
ยาประสบความสำเร็จตามที่หวัง เพราะแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดเมื่อใช้ โคดีอีนฟอสเฟต เป็นยาแก้ไอ ปัญหาเช่นทำให้ง่วงซึม และทำให้ติดเหมือนยาอื่น ๆ ในกลุ่มโอปิออยด์
แต่ก็เหมือนกับยาระงับความรู้สึกที่ทำให้รู้สึกแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม (dissociative) เช่น เฟนไซคลิดีน และเคตามีน เพราะต่อมา DMX ก็ถูกนำไปใช้เพื่อนันทนาการ[ 42] [ 44]
ในช่วงปี 1960–1970 DMX มีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ในชื่อการค้า โรมิลาร์
ในปี 1973 โรมิลาร์ก็เลิกขายหลังจากยอดขายพุ่งสูงขึ้นเพราะการใช้ผิด ๆ
ในไม่กี่ปีต่อมาก็มีการวางขายผลิตภัณฑ์ที่รสไม่ดี (เช่น โรบิทัสซิน และวิคส์-44) แต่ต่อมาผู้ผลิตเดียวกันก็เริ่มผลิตสินค้าที่มีรสชาติดีขึ้น[ 44]
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลายในทศวรรษ 1990 ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับยาเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว มีกลุ่มสนทนาออนไลน์เกี่ยวกับการใช้และการซื้อหายา
อาจเริ่มตั้งแต่ปี 1996 ผงเดกซ์โทรเมทอร์แฟนไฮโดรโบรไมด์ สามารถซื้อได้มาก ๆ จากร้านค้าออนไลน์
ทำให้ผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคยาในรูปแบบน้ำเชื่อม[ 42]
คณะกรรมการ FDA ได้พิจารณาเปลี่ยน DMX ให้เป็นยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์เพราะเสี่ยงถูกนำไปใช้ผิด ๆ แต่ได้ลงมติคัดค้านข้อเสนอแนะนี้ในเดือนกันยายน 2010 โดยอ้างว่าไม่มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนสถานะจะช่วยลดการใช้ในทางที่ผิด[ 45]
รัฐบางรัฐได้จำกัดการขายยาให้แก่ผู้ใหญ่เท่านั้นหรือมีข้อจำกัดอื่น ๆ ในการซื้อคล้ายกับยาซูโดอีเฟดรีน
ยาห้ามจำหน่ายให้แก่ผู้เยาว์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ณ วันที่ 1 มกราคม 2012 และรัฐโอเรกอน ณ วันที่ 1 มกราคม 2018 ยกเว้นเมื่อมีใบสั่งแพทย์[ 46]
รัฐอื่น ๆ อีกหลายรัฐก็ได้เริ่มออกกฎควบคุมการขายยาให้แก่ผู้เยาว์เช่นกัน
ในอินโดนีเซีย
ในประเทศอินโดนีเซีย สำนักงานควบคุมยาและอาหารแห่งชาติ (BPOM-RI ) ห้ามขายยา DMX แบบมียาออกฤทธิ์เดี่ยว ไม่ว่าจะมีใบสั่งยาหรือไม่ก็ตาม
เป็นประเทศเดียวที่ยาเช่นนี้ผิดกฎหมาย[ 47]
และผู้ฝ่าฝืนอาจถูกดำเนินคดี
ส่วนสำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (BNN RI ) ได้ขู่ว่าจะเพิกถอนใบอนุญาตร้านขายยาที่ยังขาย DMX และจะแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีอาญา[ 48]
ด้วยเหตุนี้ มียา 130 รายการถูกถอนออกจากตลาด แต่ยา DMX ที่เป็นส่วนประกอบร่วมกับยาออกฤทธิ์อื่น ๆ ก็ยังขายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์[ 49] [ 50]
การใช้เพื่อความบันเทิง
ยาแบบแคปซูลเจล
ยาที่มี DMX และขายโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ได้นำไปใช้อย่างไม่ตรงกับฉลากยา โดยมักใช้เป็นยาเสพติดเพื่อความบันเทิง[ 44]
เมื่อใช้ในขนาดซึ่งสูงกว่าที่แนะนำทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ยาและเมแทบอไลต์หลักคือเดกซ์โทรแฟน จะออกฤทธิ์เป็นตัวต้านตัวรับ NMDA (NMDA receptor antagonist)
ซึ่งทำให้ประสาทหลอนแบบแยกออกจากตน/สิ่งแวดล้อมคล้ายกับยาเคตามีน และเฟนไซคลิดีน [ 51]
ยาอาจทำให้เห็นผิดปกติ รู้สึกแยกจากตน/สิ่งแวดล้อม รู้สึกทางกายที่ผิดเพี้ยน ตื่นเต้น และไม่รู้เวลา
ผู้ใช้บางรายรายงานความเคลิบเคลิ้มคล้ายกับเมื่อใช้ยากระตุ้นประสาท โดยเฉพาะเมื่อฟังเพลง
ยามักให้ผลทางความบันเทิงแบบเป็นขั้น ๆ / ระยะ ๆ
มีตั้งแต่ระยะ 1–4 ระยะแรกจะเบาสุด ระยะสุดท้ายจะแรงสุด
แต่ละขั้นจะก่อประสบการณ์ต่าง ๆ กันไป[ 52]
ระยะแรกกล่าวกันว่าทำให้เคลิบเคลิ้มกับเสียงดนตรีและสิ่งเร้าเบา ๆ คล้ายกับฤทธิ์ของ MDMA/เอ็กส์ทาซี
ระยะสองคล้ายกับภาวะทีเกิดเมื่อดื่มแอลกอฮอล์และใช้กัญชา ในขนาดพอสมควรในเวลาเดียวกัน มีอาการเคลิบเคลิ้ม ง่วงซึม และประสาทหลอนเล็กน้อย
ระยะที่สามทำให้รู้สึกแยกจากตนเอง/สิ่งแวดล้อม ซึ่งมักก่อความวิตกกังวล
เมื่อถึงระยะที่สี่ กล่าวกันว่าจะทำให้เกิดอาการง่วงซึมอย่างรุนแรงและประสาทหลอนอย่างสำคัญ รวมถึงการแยกตัวออกจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง
วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะใช้ยาที่มี DMX เพราะหาได้ง่ายกว่า โดยเยาวชนที่มีปัญหาทางจิตเวช มีโอกาสเสี่ยงใช้ยาผิด ๆ มากกว่า[ 53]
การวิจัย
ยาผสม DXM/ควินิดีน (AVP-923)[ 54] [ 55]
ซึ่งเดิมใช้รักษาอาการซูโดบัลบาร์ (การควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้) กำลังวิจัยเพื่อรักษาภาวะทางระบบประสาทและทางประสาทจิตเวชหลากหลายชนิด
เช่น ภาวะกายใจไม่สงบในโรคอัลไซเมอร์ [ 18] [ 56]
การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มปี 2013 พบว่า DMX อาจลดความไม่สบายโดยรวมและระยะเวลาของอาการขาดยาเมื่อรักษาการติดสารกลุ่มโอปิออยด์
เมื่อใช้ร่วมกับคลอนิดีน (clonidine) ยาลดระยะเวลาที่อาการขาดยาจะถึงจุดรุนแรงสุดลงได้ 24 ชั่วโมง
ในขณะที่ลดความรุนแรงของอาการเมื่อเทียบกับการใช้คลอนิดีนเพียงอย่างเดียว[ 57]
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ "Dextromethorphan Monograph for Professionals" . Drugs.com .
↑ Windhab, LG; Gastberger, S; Hulka, LM; Baumgartner, MR; Soyka, M; Müller, TJ; และคณะ (2020). "Dextromethorphan Abuse Among Opioid-Dependent Patients" . Clinical Neuropharmacology . 43 (5): 127–133. doi :10.1097/WNF.0000000000000403 . PMID 32947422 . S2CID 221798401 .
↑ McCarthy, Brian (2023-11-30). "Dextromethorphan-bupropion (Auvelity) for the Treatment of Major Depressive Disorder" . Clinical Psychopharmacology and Neuroscience . 21 (4): 609–616. doi :10.9758/cpn.23.1081 . PMC 10591164 . PMID 37859435 .
↑ Kukanich, B; Papich, MG (October 2004). "Plasma profile and pharmacokinetics of dextromethorphan after intravenous and oral administration in healthy dogs". Journal of Veterinary Pharmacology and Therapeutics . 27 (5): 337–341. doi :10.1111/j.1365-2885.2004.00608.x . PMID 15500572 .
↑ 5.0 5.1 5.2 "Balminil DM, Benylin DM (dextromethorphan) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more" . Medscape Reference . WebMD. สืบค้นเมื่อ 2014-04-15 .
↑ "ยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) และการนำไปใช้ ในทางที่ผิด" . โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-02. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02 .
↑ Dicpinigaitis, P (2022-09-12). "The Current and Emerging Treatment Landscape for Chronic Cough" . The American Journal of Managed Care . Uncovering the Economic Burden of Chronic Cough and the Promising Role of Emerging Targeted Therapies (ภาษาอังกฤษ). 28 (9): S159–S165. doi :10.37765/ajmc.2022.89244 . PMID 36198074 . S2CID 252736111 . By sales, dextromethorphan is the most widely used OTC antitussive drug in the United States, and approximately 85% to 90% of OTC cough medicines contain dextromethorphan
↑ Majeed, A; Xiong, J; Teopiz, KM; Ng, J; Ho, R; Rosenblat, JD; และคณะ (March 2021). "Efficacy of dextromethorphan for the treatment of depression: a systematic review of preclinical and clinical trials". Expert Opinion on Emerging Drugs . 26 (1): 63–74. doi :10.1080/14728214.2021.1898588 . PMID 33682569 . S2CID 232141396 .
↑ Taylor, CP; Traynelis, SF; Siffert, J; Pope, LE; Matsumoto, RR (August 2016). "Pharmacology of dextromethorphan: Relevance to dextromethorphan/quinidine (Nuedexta®) clinical use". Pharmacology & Therapeutics . 164 : 170–182. doi :10.1016/j.pharmthera.2016.04.010 . PMID 27139517 .
↑ "Reference Tables: Description and Solubility - D" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06 .
↑ 11.0 11.1 Schwartz, AR; Pizon, AF; Brooks, DE (September 2008). "Dextromethorphan-induced serotonin syndrome". Clinical Toxicology . 46 (8): 771–773. doi :10.1080/15563650701668625 . PMID 19238739 . S2CID 37817922 .
↑
Shin, EJ; Nah, SY; Chae, JS; Bing, G; Shin, SW; Yen, TP; และคณะ (May 2007). "Dextromethorphan attenuates trimethyltin-induced neurotoxicity via sigma1 receptor activation in rats". Neurochemistry International . 50 (6): 791–799. doi :10.1016/j.neuint.2007.01.008 . PMID 17386960 . S2CID 43230896 .
↑
Shin, EJ; Nah, SY; Kim, WK; Ko, KH; Jhoo, WK; Lim, YK; และคณะ (April 2005). "The dextromethorphan analog dimemorfan attenuates kainate-induced seizures via sigma1 receptor activation: comparison with the effects of dextromethorphan" . British Journal of Pharmacology . 144 (7): 908–918. doi :10.1038/sj.bjp.0705998 . PMC 1576070 . PMID 15723099 .
↑ Fischer, J; Ganellin, CR (2006). Analogue-based Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 527. ISBN 9783527607495 .
↑
Young, EC; Smith, JA (June 2011). "Pharmacologic therapy for cough". Current Opinion in Pharmacology . Elsevier BV. 11 (3): 224–230. doi :10.1016/j.coph.2011.06.003 . PMID 21724464 .
↑ 16.0 16.1 16.2
Rossi, S, บ.ก. (2013). Australian Medicines Handbook . Adelaide: The Australian Medicines Handbook Unit Trust. ISBN 978-0-9805790-9-3 . [ต้องการเลขหน้า ]
↑ "Nuedexta- dextromethorphan hydrobromide and quinidine sulfate capsule, gelatin coated" . DailyMed . 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-10-23 .
↑ 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 18.12 18.13 18.14 18.15 18.16 18.17 18.18 18.19 18.20 18.21 18.22 Nguyen, L; Thomas, KL; Lucke-Wold, BP; Cavendish, JZ; Crowe, MS; Matsumoto, RR (March 2016). "Dextromethorphan: An update on its utility for neurological and neuropsychiatric disorders". Pharmacology & Therapeutics . 159 : 1–22. doi :10.1016/j.pharmthera.2016.01.016 . PMID 26826604 .
↑ "Auvelity (dextromethorphan hydrobromide/bupropion hydrochloride)" (PDF) . Axsome Therapeutics . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19 .
↑ Keam, SJ (November 2022). "Dextromethorphan/Bupropion: First Approval" . CNS Drugs . 36 (11): 1229–1238. doi :10.1007/s40263-022-00968-4 . PMID 36301443 . S2CID 253158902 .
↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 "Dextromethorphan" . National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-08-01.
↑
Olney, JW; Labruyere, J; Price, MT (June 1989). "Pathological changes induced in cerebrocortical neurons by phencyclidine and related drugs". Science . 244 (4910): 1360–1362. Bibcode :1989Sci...244.1360O . doi :10.1126/science.2660263 . PMID 2660263 .
↑
Carliss, RD; Radovsky, A; Chengelis, CP; O'Neill, TP; Shuey, DL (July 2007). "Oral administration of dextromethorphan does not produce neuronal vacuolation in the rat brain". Neurotoxicology . 28 (4): 813–818. Bibcode :2007NeuTx..28..813C . doi :10.1016/j.neuro.2007.03.009 . PMID 17573115 .
↑ Dy, P; Arcega, V; Ghali, W; Wolfe, W (August 2017). "Serotonin syndrome caused by drug to drug interaction between escitalopram and dextromethorphan" . BMJ Case Reports . 2017 : bcr–2017–221486. doi :10.1136/bcr-2017-221486 . PMC 5747823 . PMID 28784915 .
↑ "Inhibitors of CYP3A4" . ganfyd.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-23 .
↑
Roth, BL; Driscol, J. "PDSP Ki Database" . Psychoactive Drug Screening Program (PDSP) . University of North Carolina at Chapel Hill and the United States National Institute of Mental Health. สืบค้นเมื่อ 2017-08-14 .
↑
Werling, LL; Keller, A; Frank, JG; Nuwayhid, SJ (October 2007). "A comparison of the binding profiles of dextromethorphan, memantine, fluoxetine and amitriptyline: treatment of involuntary emotional expression disorder". Experimental Neurology . 207 (2): 248–257. doi :10.1016/j.expneurol.2007.06.013 . PMID 17689532 . S2CID 38476281 .
↑ 28.0 28.1
Taylor, CP; Traynelis, SF; Siffert, J; Pope, LE; Matsumoto, RR (August 2016). "Pharmacology of dextromethorphan: Relevance to dextromethorphan/quinidine (Nuedexta®) clinical use". Pharmacology & Therapeutics . 164 : 170–182. doi :10.1016/j.pharmthera.2016.04.010 . PMID 27139517 .
↑ Raynor, K; Kong, H; Mestek, A; Bye, LS; Tian, M; Liu, J; และคณะ (January 1995). "Characterization of the cloned human mu opioid receptor". The Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics . 272 (1): 423–428. PMID 7815359 .
↑ Lee, JH; Shin, EJ; Jeong, SM; Lee, BH; Yoon, IS; Lee, JH; และคณะ (June 2007). "Effects of dextrorotatory morphinans on brain Na+ channels expressed in Xenopus oocytes". European Journal of Pharmacology . 564 (1–3): 7–17. doi :10.1016/j.ejphar.2007.01.088 . PMID 17346698 .
↑ Gao, XF; Yao, JJ; He, YL; Hu, C; Mei, YA (2012). "Sigma-1 receptor agonists directly inhibit Nav1.2/1.4 channels" . PLOS ONE . 7 (11): e49384. Bibcode :2012PLoSO...749384G . doi :10.1371/journal.pone.0049384 . PMC 3489664 . PMID 23139844 .
↑ 32.0 32.1 Burns, JM; Boyer, EW (2013). "Antitussives and substance abuse" . Substance Abuse and Rehabilitation . 4 : 75–82. doi :10.2147/SAR.S36761 . PMC 3931656 . PMID 24648790 .
↑ Chou, YC; Liao, JF; Chang, WY; Lin, MF; Chen, CF (March 1999). "Binding of dimemorfan to sigma-1 receptor and its anticonvulsant and locomotor effects in mice, compared with dextromethorphan and dextrorphan" . Brain Research . 821 (2): 516–519. doi :10.1016/S0006-8993(99)01125-7 . PMID 10064839 . S2CID 22762264 .
↑ Schmider, J; Greenblatt, DJ; Fogelman, SM; von Moltke, LL; Shader, RI (April 1997). "Metabolism of dextromethorphan in vitro: involvement of cytochromes P450 2D6 and 3A3/4, with a possible role of 2E1" . Biopharmaceutics & Drug Disposition . 18 (3): 227–240. doi :10.1002/(SICI)1099-081X(199704)18:3<227::AID-BDD18>3.0.CO;2-L . PMID 9113345 . S2CID 5638973 .
↑ 35.0 35.1 Morice, AH. "Cough" . International Society for the Study of Cough. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-09. Patients should take an adequate first dose of medication ie 60 mg in the adult and repeat dosing should be infrequent rather than the qds recommended.
↑ Strauch, K; Lutz, U; Bittner, N; Lutz, WK (August 2009). "Dose-response relationship for the pharmacokinetic interaction of grapefruit juice with dextromethorphan investigated by human urinary metabolite profiles". Food and Chemical Toxicology . 47 (8): 1928–1935. doi :10.1016/j.fct.2009.05.004 . PMID 19445995 .
↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 Yu, A; Haining, RL (November 2001). "Comparative contribution to dextromethorphan metabolism by cytochrome P450 isoforms in vitro: can dextromethorphan be used as a dual probe for both CTP2D6 and CYP3A activities?" . Drug Metabolism and Disposition . 29 (11): 1514–1520. PMID 11602530 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-03-12. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26 .
↑ Capon, DA; Bochner, F; Kerry, N; Mikus, G; Danz, C; Somogyi, AA (September 1996). "The influence of CYP2D6 polymorphism and quinidine on the disposition and antitussive effect of dextromethorphan in humans" . Clinical Pharmacology and Therapeutics . 60 (3): 295–307. doi :10.1016/S0009-9236(96)90056-9 . PMID 8841152 . S2CID 10147669 .
↑ Woodworth, JR; Dennis, SR; Moore, L; Rotenberg, KS (February 1987). "The polymorphic metabolism of dextromethorphan". Journal of Clinical Pharmacology . 27 (2): 139–143. doi :10.1002/j.1552-4604.1987.tb02174.x . PMID 3680565 . S2CID 37950361 .
↑ "Dextromethorphan (PIM 179)" . www.inchem.org . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-10. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24 .
↑ Meuzelaar, GJ; Neeleman, E; Maat, L; Sheldon, RA (2010-06-17). "ChemInform Abstract: A Novel Synthesis of Substituted 1-Benzyloctahydroisoquinolines by Acid-Catalyzed Cyclization of N-[2-(Cyclohex-1-enyl) ethyl]-N-styrylformamides". ChemInform . 30 (5): no. doi :10.1002/chin.199905129 . ISSN 0931-7597 .
↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 Morris, H; Wallach, J (2014). "From PCP to MXE: a comprehensive review of the non-medical use of dissociative drugs". Drug Testing and Analysis . 6 (7–8): 614–632. doi :10.1002/dta.1620 . PMID 24678061 .
↑ "Memorandum for the Secretary of Defense" (PDF) . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-16. สืบค้นเมื่อ 2013-07-28 .
↑ 44.0 44.1 44.2 "Dextromethorphan (DXM)" . Cesar.umd.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-01-06. สืบค้นเมื่อ 2013-07-28 .
↑ Nordqvist C. FDA panel: cough meds should stay over the counter. Sept. 14, 2010. Medical News Today Website. http://www.medicalnewstoday.com/articles/201227.php . Accessed May 18, 2020.
↑ "Senate Bill No. 514" (PDF) . An act to add Sections 11110 and 11111 to the Health and Safety Code, relating to nonprescription drugs . State of California, Legislative Counsel. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-08.
↑ "BPOM Tetap Batalkan Izin Edar Obat Dekstrometorfan" [BPOM Still Cancels Dextromethorphan Drug Distribution Permit]. VIVAnews (ภาษาIndonesian). 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-05-28.{{cite web }}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์ )
↑ "SINDOnews | Berita Daerah Dan Provinsi Di Indonesia" . daerah.sindonews.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2017-12-10 . [ลิงก์เสีย ]
↑
"Pimpinan dan Apoteker Penanggung Jawab" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-08-10.
↑
"Badan Pengawas Obat dan Makanan - Republik Indonesia" . www.pom.go.id (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-03. สืบค้นเมื่อ 2017-12-10 .
↑ "Dextromethorphan" (PDF) . Drugs and Chemicals of Concern . Drug Enforcement Administration. August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2012-10-16.
↑ Giannini, AJ (1997). Drugs of abuse (2nd ed.). Los Angeles: Practice Management Information Corp. ISBN 1570660530 . [ต้องการเลขหน้า ]
↑ Akerman, SC; Hammel, JL; Brunette, MF (2010-12-20). "Dextromethorphan Abuse and Dependence in Adolescents". Journal of Dual Diagnosis . 6 (3–4): 266–278. doi :10.1080/15504263.2010.537515 . S2CID 70666093 .
↑ Olney, N; Rosen, H (April 2010). "AVP-923, a combination of dextromethorphan hydrobromide and quinidine sulfate for the treatment of pseudobulbar affect and neuropathic pain". IDrugs . 13 (4): 254–265. PMID 20373255 .
↑ Khoury, R; Marx, C; Mirgati, S; Velury, D; Chakkamparambil, B; Grossberg, GT (May 2021). "AVP-786 as a promising treatment option for Alzheimer's Disease including agitation". Expert Opinion on Pharmacotherapy . 22 (7): 783–795. doi :10.1080/14656566.2021.1882995 . PMID 33615952 . S2CID 231987025 .
↑ Murrough, JW; Wade, E; Sayed, S; Ahle, G; Kiraly, DD; Welch, A; และคณะ (August 2017). "Dextromethorphan/quinidine pharmacotherapy in patients with treatment resistant depression: A proof of concept clinical trial". Journal of Affective Disorders . 218 : 277–283. doi :10.1016/j.jad.2017.04.072 . PMID 28478356 . S2CID 46777150 .
↑ Malek, A; Amiri, S; B, Habibi Asl (2013). "The therapeutic effect of adding dextromethorphan to clonidine for reducing symptoms of opioid withdrawal: a randomized clinical trial" . ISRN Psychiatry . 2013 : 546030. doi :10.1155/2013/546030 . PMC 3706070 . PMID 23864983 .
แหล่งข้อมูลอื่น