เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
|
---|
![](//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1e/To_Bunnak.jpg/220px-To_Bunnak.jpg) | เกิด | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2395 |
---|
ถึงแก่กรรม | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452 (57 ปี) เมืองเพชรบุรี |
---|
ตำแหน่ง | สมุหราชองครักษ์ |
---|
ภรรยาเอก | ท่านผู้หญิงตลับ สุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (สกุลเดิม โอสถานนท์) |
---|
บุตร | พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) ฯลฯ |
---|
บิดามารดา | |
---|
ตระกูล | บุนนาค |
---|
ยศทหาร | พลโท |
---|
นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (นามเดิม: โต บุนนาค; 25 มิถุนายน พ.ศ. 2395 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452) เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม สุรวงษ์ไวยวัฒน์ จบการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่จากประเทศอังกฤษ
ประวัติ
เริ่มรับราชการเมื่อ พ.ศ. 2421 ในรัชกาลที่ 5 เป็นที่พระอมรวิสัยสรเดช ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่ และ เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสีหราชเดโชชัย ถือศักดินา 10000 พร้อมกับรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2431 จากนั้นในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2432 จึงได้รับพระราชทานยศทหารเป็น พลตรี [1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ได้รับสถาปนาเป็น เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ อรรคยโสดมบรมนารถ วรุตมามาตยมหาเสนาบดี ยุทธวิธีสมันตเวท อนีกเดชกิติกำจร สุจริตสาธรมหาสวามิภักดิ ราชานุรักษธุรนิพัทธ ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อุดมเมตยาชวาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ[2] ดำรงตำแหน่งสุดท้ายที่สมุหราชองครักษ์และยศสุดท้ายทางทหารที่ พลโท[3]
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ มีบุตรธิดารวม 27 คน
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ ป่วยเป็นโรคหัวใจอ่อนมาหลายเดือน ถึงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2452 ระหว่างตามเสด็จฯ เมืองเพชรบุรี ท่านเกิดอาการแน่นหน้าอก แพทย์ชาวตะวันตกจึงจัดยารักษา อาการก็สงบลง แล้วกลับกำเริบขึ้นเป็นระยะ จนเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452 เวลา 7 ทุ่ม 15 นาที อาการกลับทรุดลงอีก ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลา 7 ทุ่ม 40 นาที สิริอายุได้ 58 ปี วันต่อมาจึงเคลื่อนย้ายศพทางรถไฟกลับไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ของท่าน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมบรรจุศพ[4] และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2455 ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร[5]
ยศและบรรดาศักดิ์
- พระอมรวิไสยสรเดช
- พ.ศ. 2431 พันเอก[6]
- พ.ศ. 2431 พระยาสีหราชเดโชไชย[7]
เกียรติยศ
เครื่องยศ
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้
- โต๊ะกาทอง
- พานทอง
- เต้านํ้า
- หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา[8]
- ตราอักษรพระนาม จ.ป.ร. หีบ[8]
- มาลาเครื่องทองคำ[8]
- สำรับ กระบี่ฝักทองคำ[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญ และเข็มของไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, 100 ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก 123, ดำรงวิทยา, 2548 ISBN 974-93740-5-3
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือนและทหาร (หน้า 10)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมแลตั้งกรมพระองค์เจ้า เจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 17, ตอนที่ 35, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 481
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวอสัญกรรม, เล่ม 26, ตอนที่ 0 ง, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2452, หน้า 1561-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระราชทานเพลิงศพ นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์, เล่ม 29, ตอนที่ ง, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2455, หน้า 277-9
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน (หน้า 163)
- ↑ การพิธีฉัตรมงคล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 311)
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องยศที่พระราชทานในเวลารับ พระสุพรรณบัตรและสุพรรณบัตร, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๔๙๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๐, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๒, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒ หน้า ๓๙, ๑๑ เมษายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลาที่ประเทศยุโรป เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๔๖๓, ๓๑ ตุลาคม ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๔, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๕๗๗, ๑๒ ตุลาคม ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๗, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๔๔, ๒๔ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต, เล่ม ๔ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๓๖๑, ๑๑ มีนาคม ๑๒๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๑๖, ๘ ธันวาคม ๑๐๙
- ↑ 21.0 21.1 21.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๘, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๗, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
|