เขาสามร้อยยอด
เขาสามร้อยยอด เป็นเขาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูน มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ มียอดที่สูงเด่นมาก 2 ยอด ยอดทางทิศเหนืออยู่ในตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด สูง 607 เมตร ยอดทางทิศใต้แบ่งเขตตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี กับตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด สูง 583 เมตร[1] ธรณีสัณฐานลักษณะเด่นของธรณีสัณฐานแบบคาสต์ รองรับด้วยหินปูนเนื้อโดโลไมต์ ในยุคเพอร์เมียน กลุ่มหินราชบุรี อายุประมาณ 245–286 ล้านปี โครงสร้างเป็นชั้นหินโค้งงอ มีขอบเป็นเขาหินปูนผาชัน เกิดจากการกัดกร่อนทางแนวราบของทางน้ำไหลหรือคลื่นกระแสน้ำ ทำให้บริเวณตีนเขาถูกกัดกร่อนและส่วนบนของหินปูนพังลงมาเป็นหน้าผาชัน[2] บริเวณทิศตะวันตกของเขาสามร้อยยอดมีบึงบัวหรือทุ่งสามร้อยยอดซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศในลำดับที่ 11 ของประเทศไทย ชื่อที่มาของชื่อเขา มีตำนานเล่าว่า แต่เดิมบริเวณนี้เคยเป็นทะเล มีหมู่เกาะน้อยใหญ่เรียงรายกัน ครั้งหนึ่งเคยมีเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา แต่ประสบเหตุลมพายุรุนแรงจนเรือใกล้อับปาง จึงแวะหลบภัยเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะ แต่เรือได้ชนจนอับปางลง ผู้คนจมน้ำตายจำนวนมาก ที่เหลือรอดตายขึ้นมาอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า "เกาะสามร้อยรอด" ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง เกาะกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น "เขาสามร้อยยอด" ชาวบ้านตั้งข้อสันนิษฐานว่าบริเวณที่เรือจมเรียกว่า "อ่าวทะเลสาบ" เคยมีผู้พบซากเสากระโดงเรือโบราณในบริเวณนี้ด้วย แต่อีกข้อสันนิษฐานของชื่อเขา สันนิษฐานว่า เป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300 ยอด[3] แหล่งโบราณคดีศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอดเมื่อวันที่ 13–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ดีน สมาร์ต (Dean Smart) นักวิจัยถ้ำชาวอังกฤษทำการสำรวจถ้ำต่าง ๆ ในบริเวณเทือกเขาสามร้อยยอด เพื่อดำเนินการวางแผนจัดการและศึกษาผลกระทบจากท่องเที่ยว ได้พบหลักฐานภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภาพเขียนสีบนเพิงผาใกล้กับปากถ้ำสภาพโดยทั่วไปลบเลือน ใช้สีแดงเป็นหลักในการเขียนภาพ ภาพบางส่วนเป็นภาพนามธรรม รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเรียงเป็นแนวต่อกัน รูปคล้ายตัววีเขียนเลียนแบบกันคล้ายภาพที่สะท้อนออกมาจากกระจกใช้สี 3 สีเขียนภาพนี้ (ดำ,แดง และขาว) และบางส่วนเป็นภาพคล้ายจริง เช่น ภาพ red girl ภาพผู้หญิงผมยาว ภาพคน ภาพลายเส้นรูปควาย สันนิษฐานว่าภาพเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ราว 2,000 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว[4] ถ้ำนี้อยู่บนยอดเขาสามร้อยยอด สภาพของภาพเขียนถูกน้ำฝนสาดทำให้ภาพเลือนหายไปมาก ภาพอื่นสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ได้พบ ถ้ำภาพเขียนสีบึงบัว ที่บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติบึงบัว ซึ่งมีการสำรวจและคัดลอกลายไปแล้วเมื่อปี 2545 ภาพประกอบไปด้วยภาพไล่ต้อนฝูงวัว ภาพหน้ากาก และภาพลายเส้นต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นความเกี่ยวข้องกับเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชน และพิธีกรรมของชุมชน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์[5] ต่อมาได้พบ ถ้ำหุบตาโคตร ตัวถ้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เพดานถ้ำเป็นช่องขนาดใหญ่แสงสว่างส่องลอดเข้ามาได้ ตำแหน่งที่พบภาพเขียนสีอยู่บริเวณผนังด้านข้างทางด้านขวาของปากถ้ำ ภาพเขียนสีที่พบมีทั้งภาพบุคคล และภาพสัญลักษณ์[6] พ.ศ. 2563 พบ ถ้ำดิน บริเวณหมู่ 4 บ้านพุน้อย อำเภอสามร้อยยอด ถ้ำดิน” มีลักษณะเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ต่อเนื่องกัน 4 โถงถ้ำ ตัวถ้ำอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 125 เมตร ตำแหน่งที่พบภาพเขียนสีอยู่บริเวณโถงถ้ำแรกใกล้กับปากถ้ำ บริเวณผนังและเพดานถ้ำด้านขวา ภาพที่พบส่วนใหญ่เป็นภาพบุคคลจำนวนมาก มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ บางภาพเป็นคนแต่งกายคล้ายมีเครื่องประดับร่างกาย และคนกำลังล่าสัตว์อยู่ในท่าคล้ายง้างคันธนู ภาพเขียนสีที่เป็นสัตว์ที่พบเห็นค่อนข้างชัดคือเลียงผา[7] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia