เก็บแผ่นดิน
เก็บแผ่นดิน เป็นละครที่สร้างจากงานเขียนที่ชื่อว่า ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ[1][2] ประพันธ์โดย นายพันดี ซึ่งพูดถึงการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยที่ชื่อว่า เผ่าคาเซ ที่ปกป้องรักษาดินแดนจากรัฐบาลสหพันธรัฐซาวิน ซึ่งดินแดนทั้งสองมีอาณาเขตติดกับแผ่นดินประเทศไทย ละครถูกสร้างขึ้น 2 ครั้ง ในครั้งแรกกำกับโดย นพพล โกมารชุน[3] ออกอากาศทางช่อง 7 เอชดี ในปี พ.ศ. 2544 และถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้งเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของช่อง 3 เอชดี [4] เมื่อปี พ.ศ. 2563 กำกับโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ[5] แต่ปัจจุบันถอนตัวทั้งนักแสดงเรื่องนี้แต่อย่างใด เนื่องจากช่อง 3 ยังมีละครน้อย 2567 อาทิ มือปราบมหาอุตม์ ดวงใจเทวพรหม ฯลฯเป็นอุปสรรคในการถ่ายทำ[6] ต่อมาทางผู้จัดได้ยุติโครงการที่จะถ่ายทำ และนักแสดงถอนตัวหมด เรื่องย่อบริเวณพรมแดนประเทศไทย มีชนเผ่าชื่อว่า คาเซ ที่มีผู้นำชื่อว่า ละยี เป็นแกนนำในการต่อสู้เพื่อปกป้องชนเผ่าของตนเองจากรัฐบาล สหพันธรัฐซาวิน โดยละยี มีลูกชายชื่อว่า นาคา ซึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ และ มินทะดา ทหารของเผ่าที่รักและศรัทธาในตัวของละยี โดยหลังจากสงครามระหว่างเผ่าและรัฐบาลสงบลง มินทะดาถูกส่งมาเรียนที่ประเทศไทยพร้อมกับเพื่อนที่ชื่อว่า สิพราย และได้พบกับ อองดี นักศึกษาสัญชาติซาวินที่หลบหนีอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากมีอุดมการเช่นเดียวกับชาวคาเซ มินทะดาได้พบรักกับ พันพัสสา นักศึกษาชาวไทย แต่ถูกกีดกันจากครอบครัวของพันพัสสาเนื่องจากต้องการให้รักกับ ชลชาติ ทหารบกที่มีอนาคตหน้าที่การงานที่ดี ต่อมามินทะดาถูกเรียกตัวกลับไปยังคาเซ พันพัสสาจึงหนีจากครอบครัวตามมินทะดากลับไปที่คาเซด้วย พิพัช พ่อของพันพัสสาจึงขอให้เพื่อนของตนที่เป็นทหารป้องกันไม่ให้ลูกสาวของตนข้ามชายแดนไทยไปยังคาเซได้ และถูกพากลับมายังประเทศไทยหลังจากการปะทะโดยคิดว่ามินทะดาได้เสียชีวิตลงไปแล้ว แต่อันที่จริงมินทะดายังไม่เสียชีวิต และกลับไปพบกับหมู่บ้านของตนที่ถูกโจมตีจนเสียหายจากรัฐบาลซาวิน จากเหตุการณ์นั้น มินทะดา สิพราย และยะโพ จึงจัดตั้งกองกำลังของเผ่าตนเองขึ้นมาด้วยวิธีการต่อสู้แบบใหม่ ในขณะเดียวกันภายในเผ่าก็มีความคิดที่หลากหลายในการเอาชนะรัฐบาลซาวินจนเกิดการทะเลาะกัน ซึ่งนาคาได้เตือนสติให้ทุกคนอย่าทะเลาะกันเองและทำให้รัฐบาลซาวินได้เปรียบไปกว่านี้ วันหนังนาคาได้พบกองทัพของรัฐบาลซาวินกำลังวางแผนที่จะโจมตีหมู่บ้าน จึงได้เตือนทุกคนและช่วยให้ทุกคนในหมู่บ้านหนีรอดมาได้ ทำให้หลังจากนั้นชาวคาเซสนับสนุนให้นาคาเป็นหัวหน้าของชนเผ่า ซึ่งเขาได้ประกาศว่า "ต่อไปนี้ คาเซจะมีประเทศ" โดยในฝั่งของชลชาติเองก็ได้มาประจำการในพื้นที่ใกล้เคียงในฝั่งไทย และทำงานแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยจนมีชื่อเสียง ในฝั่งของพิพัช พ่อของพันพัสสาได้มอบหมายให้พันพันสาไปเจรจาเพื่อรับงานรับเหมาก่อสร้างถนนเพื่อไปยังสถานีเรดาร์ทางการทหารในพื้นที่ของชลชาติ เพื่ออยากให้ทั้งสองคนได้ใกล้ชิดกัน และพันพัสสาได้เห็นการทำงานที่จริงใจของชลชาติต่อชาวบ้านในพื้นที่ทำให้เริ่มเปิดใจให้กับชลชาติ ทางของเผ่าคาเซ ยะโพได้หักหลังกลุ่มคาเซเพื่อไปสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลซาวิน โดยวางแผนจับตัวนาคาในพื้นที่ฝั่งไทยขณะข้ามไปเที่ยวงานวัด ซึ่งแผนของเขาสำเร็จ ทำให้หมู่บ้านถูกโจมตีเนื่องจากขาดผู้นำ จนเกิดการบาดเจ็บอย่างหนัก มินทะดาและพวกจึงตัดสินใจข้ามมายังฝั่งไทยเพื่อปล้นยาที่ค่ายผู้อพยพ ทำให้พันพัสสาทราบว่ามินทะดายังมีชีวิตอยู่ และยอมใช้ตัวเองเป็นตัวประกัน เพื่อข้ามกลับไปยังหมู่บ้านคาเซ และได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง จากนั้นมินทะดาได้ช่วยเหลือนาคากลับมาจากการจับกุมของรัฐบาลซาวิน จึงได้มีการรวมตัวอีกครั้งเพื่อต่อสู้ โดยมีอองดี และกลุ่มนักศึกษาร่วมต่อสู้ในครั้งนี้ ซึ่งเวลาเดียวกันชลชาติได้นำกำลังทหารไทยมาช่วยเหลือพันพัสสากลับไปยังฝั่งไทย ในเช้าวันรุ่งขึ้น รัฐบาลซาวินได้ปฏิบัติการครั้งใหญ่เพื่อกวาดล้างชนเผ่าคาเซ ทำให้นาคาเจ็บหนัก มินทะดาจึงต้องตัดสินใจปฏิบัติการอีกครั้งด้วยการข้ามไปปล้นในฝั่งไทย และถูกปิดล้อมโดยกองกำลังของชลชาติ มินทะดามีโอกาสในการตอบโต้ชลชาติแต่เลือกที่จะไม่ยิง เนื่องจากทราบว่าชลชาติจะเป็นคนที่ดูแลพันพันสาได้ดีกว่าตนเอง ขณะเดียวกันกองทัพเผ่าคาเซของนาคาได้ถอยร่นจากการโจมตีของรัฐบาลซาวินข้ามลำน้ำเข้ามายังฝั่งไทย ชลชาติจึงจำเป็นต้องสั่งให้ยิงสกัดกองกำลังติดอาวุธของนาคา พันพัสสาจึงขอร้องให้มินทะดาลี้ภัยเข้ามายังฝั่งไทย แต่มินทะดารู้ดีว่าชลชาติจะดูแลพันพัสสาได้ดีกว่า จนกระทั่งนาคาถูกทหารรัฐบาลซาวินยิงเสียชีวิตกลางลำน้ำแบ่งเขตประเทศไทยและซาวิน มินทะดาจึงอุ้มศพนาคากลับไปยังฝั่งของตน และหันกลับไปมองภาพของพันพัสสาคู่กับชลชาติไว้ในความทรงจำเป็นครั้งสุดท้าย[7] นักแสดงรายชื่อนักแสดงหลัก
ตัวละครหลักตัวละครหลักของละครเก็บแผ่นดิน[7] ประกอบไปด้วย
เพลงประกอบละครพ.ศ. 2544เพลงประกอบละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2544 และถูกจัดจำหน่ายรวมอยู่ในในรูปแบบซีดีรวมเพลงละคร เป่าจินจง[11] ประกอบไปด้วย
การตอบรับหลังออกอากาศในเวอร์ชันปี พ.ศ. 2544 ละครเก็บแผ่นดิน ถือเป็นละครที่สร้างเรทติ้งที่สูงมากให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศขณะนั้น คือช่อง 7 สี[12] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2561 ละครเก็บแผ่นดิน พ.ศ. 2544 ยังได้รับการยกย่องจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ละครเก็บแผ่นดิน เป็น 1 ใน 99 สุดยอดละครไทย สมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากกว่า 2,649 เรื่อง[13] รางวัลพ.ศ. 2544ละครเก็บแผ่นดินหลังจากออกอากาศในปี พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลประกอบไปด้วย[14]
บทวิจารณ์ละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2544 ถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นละครที่พูดถึงการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่ออธิปไตยของตนเอง ผ่านชนเผ่าและประเทศสมมุติ[15] ซึ่งผู้เขียนบทประพันธ์เปิดเผยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งหลังจากสร้างละครและออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ทำให้สังคมมีความเข้าใจถึงปัญหาชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น[16] ในขณะที่ อัจฉรา รัศมีโชติ เจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวในงาน อาเซียนป๊อปคัลเจอร์ ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ว่าประเทศไทยนิยามชาวพม่าผ่านละครด้วยภาพลักษณ์ในอดีตของชาวพม่า ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของละครไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท จำนวน 6 เรื่อง โดยละครเก็บแผ่นดินนั้นอยู่ในประเภทของละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนชายขอบ มีการแสดงออกถึงความเป็นพม่าผ่านลักษณะท่าทาง และชื่อของตัวละครที่ให้ความรู้สึกว่าไม่ใช่คนไทย อาทิ มินทะดา อองดี[17] ต่อมาหลังจากการประกาศจัดทำละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่เบื้องหลังการถ่ายทำในชื่อว่า ก่อนไปเก็บแผ่นดิน 2020[18] ทางยูทูปแชแนลของผู้ผลิต จนกระทั่งเลยกำหนดการออกฉายมาจนถึงปี พ.ศ. 2565 ก็ยังไม่มีการออกอากาศละครแต่อย่างใด โดยทางผู้ผลิตประกาศว่ามีความล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19[6] แต่ในสังคมออนไลน์พันทิปกลับมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจมาจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศพม่าหลังจากการรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 ซึ่งเนื้อหาของละครพูดถึงการลุกขึ้นต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยคล้ายคลึงสถานการณในประเทศพม่า อาจจะทำให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[19] ในขณะที่ตัวผู้กำกับละครและนักแสดงนำละครเก็บแผ่นดิน พ.ศ. 2563 ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ช่องทางการรับบริจาคสิ่งของต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศพม่าบริเวณใกล้ชายแดนไทย ภายในการเสวนาออนไลน์ เรื่อง มนุษยธรรมริมฝั่งสาละวินโดยสำนักข่าวเดอะรีพอร์ตเตอร์[20] ละครเรื่องนี้ดองนานมากแล้วมา 4 ปี จนกระทั่งเลยออกอากาศวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2567 ต่อจากน่านฟ้าชลาลัย และต่อมาเขาประกาศทางเพจช่อง 3 ว่าเรื่องนี้ดองไว้นาน จะมาฉาย ในปี พ.ศ. 2567 เท่านั้น แต่ว่าช่อง 3 เปิดไปลบ ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 ว่าจะไม่มีการออกอากาศ เพราะว่าช่อง 3 ได้ถูกวางแผนนานมาก จนล่าสุดไม่ได้ออกอากาศสักปี แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia