ฮันบก (เกาหลี : 한복 ; ฮันจา : 韓服 ; อาร์อาร์ : hanbok ; แปล เครื่องแต่งกายเกาหลี ; ศัพท์ที่ใช้ในเกาหลีใต้ ) หรือ โชซ็อน-อต (เกาหลี : 조선옷 ; ฮันจา : 朝鮮옷 ; อาร์อาร์ : Joseon-ot ) เป็นเครื่องแต่งกายพื้นเมืองเกาหลี โดยไม่เพียงแค่ชาวเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ เท่านั้นที่สวมใส่เครื่องแต่งกายนี้ แต่ยังมีโชซ็อน-จก (เกาหลี-จีน) ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ที่สวมใส่ด้วย[ 1] [ 2] ศัพท์ ฮันบก มีความหมายตรงตัวว่า “เครื่องแต่งกายเกาหลี”[ 3] มีรายละเอียดชุดฮันบกบนฝาผนังสมัยโคกูรยอ ในเกาหลี[ 4] เนื่องจากความโดดเดี่ยวระหว่างกันประมาณ 50 ปี ทำให้รูปแบบฮันบก ในเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และโชซ็อน-จก ที่กลุ่มชนเกาหลีจากทั้งสามประเทศสวมใส่ ได้รับการพัฒนาแตกต่างกัน[ 5] : 246 [ 6] นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ชุดแบบเกาหลีใต้กับแบบเกาหลีเหนือดูคล้ายคลึงกันมากขึ้น[ 7] เช่นเดียวกันกับชุดในประเทศจีน นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างทั้งสองเกาหลีมากขึ้น นำไปสู่ทั้งการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงโชซ็อน-อต แบบโชซ็อน-จกในประเทศจีน[ 8] โชซ็อน-อต แบบโชซ็อน-จกบางรูปแบบได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากแบบฮันบก ทั้งเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ[ 5] : 246
ภาพฮันบก ยุคแรกสุดสามารถสืบได้ถึงสมัยสามราชอาณาจักรเกาหลี (57 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 668) โดยมีต้นตอจากกลุ่มชนเกาหลีดั้งเดิม ในบริเวณที่ปัจจุบันคือเกาหลีตอนเหนือและแมนจูเรีย ชุดนี้ยังพบในงานศิลปะที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังสุสานอาณาจักรโคกูรยอ ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 6[ 4] โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของฮันบก จักตั้งขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไปเป็นอย่างน้อย ฮันบก สมัยโบราณประกอบด้วย ชอโกรี (เสื้อ), พาจิ (กางเกง), ชิมา (กระโปรง) และ po (เสื้อคลุม) โครงสร้างหลักของฮันบก ได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และผสมผสานหลายแม่ลายของลัทธิมู [ 9] คุณสมบัติโครงสร้างพื้นฐานฮันบก เหล่านี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ฮันบก ที่มีการสวมใส่ในปัจจุบัน มีลวดลายจากฮันบก ในสมัยราชวงศ์โชซ็อน [ 9] โดยเฉพาะชุดที่ชนชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์สวมใส่[ 10] : 104 [ 11] อย่างไรก็ตาม ในอดีต สามัญชน (seomin ) ไม่ได้รับอนุญาตให้สวมสิ่งที่ปัจจุบันรู้จักกันในฐานะฮันบก และสวมได้เฉพาะมินบก (เครื่องแต่งกายสามัญชน) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีขาวหรือสีขาวนวล สามัญชนสามารถสวมชุดฮันบก ได้เฉพาะในวันแต่งงานและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ[ 10] : 104 [ 11] [ 12] การใช้เสื้อผ้าสีขาวอย่างกว้างขวางในหมู่คนทั่วไปทำให้เกาหลีได้รับการกล่าวขานเป็น "คนนุ่งห่มขาว"[ 12] ปัจจุบัน ชาวเกาหลีสมัยใหม่สวมฮันบก ในโอกาสและเหตุการณ์ที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ เช่น งานแต่งงาน เทศกาล งานเฉลิมฉลอง และงานพิธีต่าง ๆ ใน ค.ศ. 1996 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ของเกาหลีใต้ จัดตั้ง "วันฮันบก " ขึ่้น เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองเกาหลีใต้สวมฮันบก [ 13]
การใช้งานในสมัยใหม่
เกาหลีใต้
เกาหลีเหนือ
ชุดฮันบก ของสตรีในเกาหลีเหนือนั้น ชุดจะเป็นสีเดียวกันทั้งชุด ทั้งท่อนบน และท่อนล่าง ปกเสื้อจะมีขนาดเล็กกว่า คอลึกกว่า ชุดฮันบกในเกาหลีใต้ ส่วนชุดฮันบกของบุรุษนั้นในงานพิธีการต่าง ๆ จะใส่ชุดสูทสากลแทน
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ Zang, Yingchun (2007). Zhongguo shao shu min zu fu shi . 臧迎春. (Di 1 ban ed.). Beijing: Wu zhou chuan bo chu ban she. ISBN 978-7-5085-0379-0 . OCLC 57675221 .
↑ "| Minority Ethnic Clothing : Korean (Chaoxianzu) Clothing" . baoku.gmu.edu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-08-23 .
↑ Korean Culture and Information Service, 2018, Ministry of Culture, Sports and Tourism of the Republic of Korea
↑ 4.0 4.1 The Dreams of the Living and the Hopes of the Dead-Goguryeo Tomb Murals, 2007, Ho-Tae Jeon, Seoul National University Press
↑ 5.0 5.1 Women entrepreneurs : inspiring stories from emerging economies and developing countries . Mauro F. Guillén. New York: Routledge. 2014. ISBN 978-1-136-32459-8 . OCLC 857463468 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ Lin, Huishun (2020). "A study on the Alteration of traditional costume of Korean Chinese (I) - Focused on the daily wear" 중국 조선족 전통복식의 변화연구 (I) - 일상복을 중심으로 - . 한국의상디자인학회지 (ภาษาเกาหลี). 22 (4): 63–78.
↑ Chang, In-Woo (2006). "Change in Hanbok of South and North Korea after the Division and the Interexchange -Focusing on Women's Jeogori-" . Journal of the Korean Society of Clothing and Textiles . 30 (1): 106–114. ISSN 1225-1151 .
↑ Jin, Wenlian (2020). Chaoxianzu's Traditions of Dress: An Exploration of Identity Within Contemporary Fashion Contexts (วิทยานิพนธ์ Thesis) (ภาษาอังกฤษ). Auckland University of Technology.
↑ 9.0 9.1 Flags, color, and the legal narrative : public memory, identity, and critique . Anne Wagner, Sarah Marusek. Cham, Switzerland: Springer. 2021. p. 125. ISBN 978-3-030-32865-8 . OCLC 1253353500 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ 10.0 10.1 Passport to Korean culture . Haeoe Hongbowŏn (2009 ed.). Seoul, Korea: Korean Culture and Information Service. 2009. ISBN 978-89-7375-153-2 . OCLC 680802927 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ 11.0 11.1 Gwak, Sung Youn Sonya (2006). Be(com)ing Korean in the United States: Exploring Ethnic Identity Formation Through Cultural Practices . Cambria Press . ISBN 9781621969723 .
↑ 12.0 12.1 Lopez Velazquez, Laura (2021). "Hanbok during the Goryeo and Joseon dynasty" . www.korea.net . สืบค้นเมื่อ 2022-08-21 .
↑ 쿠키뉴스 (2014-09-15). "한복데이, 전국 5개 도시서 펼쳐진다" . 쿠키뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-03-11 .
ข้อมูล
An, Myung Sook (안명숙); Kim, Yong Ser (김용서) (ในภาษาเกาหลี) 1998. Hanʼguk poksiksa (한국복식사). Seoul. Yehaksa (예학사) ISBN 978-89-89668-11-4
Kim, Ki Sun (김기선). (ในภาษาเกาหลี) 2005. Information about Mongolian pigtail 몽골의 辮髮에 대하여 . The Institute of Asian Ethno-Forms and Culture. v. 5, 81-97
Kim, Moon Ja (ในภาษาเกาหลี) , 2004. A study on the Source of Hanbok in ancient times and the position of Hanbok on the Globalism เก็บถาวร 2 มกราคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (고대 한복의 원류 및 세계화 속의 한복의 위치), Society of Korean Traditional Costume, v. 7.1, 7-15
Lee, Kyung-Ja (이경자) (ในภาษาเกาหลี) , 2003, Uri ot ŭi chŏnt'ong yangsik (우리옷의 전통양식 The Traditional Style of Korean Clothes) Ewha Womans University Press. ISBN 89-7300-514-6
Levinson, David (2002). Encyclopedia of modern Asia, Volume 2 . Charles Scribner's Sons. pp. 120–121. ISBN 978-0-684-80617-4 .
McCallion, Aleasha; Condra, Jill. 2008. The Greenwood Encyclopedia of Clothing Through World History . Greenwood Publishing Group . p. 221 - 228, ISBN 0-313-33664-4
Nelson, Sarah. 1993. The archaeology of Korea . Cambridge University Press . ISBN 0-521-40783-4
You, Soon Lye (유순례) (ในภาษาเกาหลี) 2006, Comparative Research on the Costume Aesthetic Korean & Mongolia (몽골과 한국의 전통복식 미의식 비교에 대한 연구), Society of Korean Traditional Costume, v. 6, 183-185
แหล่งข้อมูลอื่น