ฮอมส์

ฮอมส์

حمص
สมญา: 
มารดาแห่งศิลาดำ (أم الحجار السود)[1]
อัลอะษียะฮ์ (الْعَذِيَّة)[a]
นครของอิบน์ อัลวะลีด (مدينة ابن الوليد)
ฮอมส์ตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย
ฮอมส์
ฮอมส์
ที่ตั้งในประเทศซีเรีย
ฮอมส์ตั้งอยู่ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
ฮอมส์
ฮอมส์
ฮอมส์ (เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก)
ฮอมส์ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
ฮอมส์
ฮอมส์
ฮอมส์ (ทวีปเอเชีย)
พิกัด: 34°43′51″N 36°42′34″E / 34.73083°N 36.70944°E / 34.73083; 36.70944
ประเทศ ซีเรีย
เขตผู้ว่าการฮอมส์
อำเภอฮอมส์
ตำบลฮอมส์
ควบคุมโดยรัฐบาลเปลี่ยนผ่านซีเรีย[4]
ตั้งถิ่นฐาน2000 ปีก่อน ค.ศ.
การปกครอง
 • ผู้ว่าการNamir Habib Makhlouf[5]
 • นายกเทศมนตรีAbdullah Al-Bawab
พื้นที่
 • นคร48 ตร.กม. (19 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง76 ตร.กม. (29 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล104 ตร.กม. (40 ตร.ไมล์)
ความสูง501 เมตร (1,644 ฟุต)
ประชากร
 (2017, est.)
 • นคร775,404[3] คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รหัสพื้นที่รหัสประเทศ: 963
รหัสเมือง: 31
รหัสภูมิศาสตร์C2528
ภูมิอากาศCsa
แผนที่

ฮอมส์ (อังกฤษ: Homs) หรือ ฮิมศ์ (อาหรับ: حِمْص, อักษรโรมัน: Ḥimṣ [ħɪmsˤ]; อาหรับเลอวานต์: حُمْص, อักษรโรมัน: Ḥomṣ [ħɔmsˤ]) หรือสมัยก่อนอิสลามรู้จักในชื่อ เอเมซา (กรีกโบราณ: Ἔμεσα, อักษรโรมัน: Émesa)[6] เป็นนครทางตะวันตกของประเทศซีเรียตะวันตก และเมืองหลักของเขตผู้ว่าการฮอมส์ ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 501 เมตร (1,644 ฟุต) และอยู่ห่างจากกรุงดามัสกัสทางทิศเหนือราว 162 กิโลเมตร (101 ไมล์)[7] บนฝั่งแม่น้ำออรันตีส ฮอมส์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่เชื่อมโยงเมืองภายในกับเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ก่อนสงครามกลางเมืองซีเรีย ฮอมส์เคยเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญที่มีประชากรอย่างน้อย 652,609 คนใน ค.ศ. 2004[8] เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของซีเรีย รองจากอะเลปโปทางเหนือ และเมืองหลวงดามัสกัสทางใต้ ประชากรนับถือศาสนาที่หลากหลายกันไป โดยมากเป็นมุสลิมนิกายซุนนีกับอะละวี และคริสต์ศาสนิกชนเป็นส่วนน้อย มีมัสยิดและโบสถ์เก่าในเมืองหลายแห่ง และตั้งอยู่ใกล้ปราสาทครักเดเชอวาลีเย แหล่งมรดกโลก

ฮอมส์ยังไม่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์จนกระทั่งศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. ในจักรวรรดิซิลูซิด กลายเป็นเมืองหลวงอาณาจักรที่ปกครองโดยราชวงศ์เอเมซีนผู้ประทานชื่อเมือง เมืองนี้เดิมเป็นศูนย์รวมแห่งการบูชาอัลญะบัล รูปเคารพบูชาของลัทธินอกศาสนาที่เชื่อมโยงกับดวงอาทิตย์ ภายหลังจึงได้รับความสำคัญในศาสนาคริสต์ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ฮอมส์ถูกมุสลิมเข้าพิชิตในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และกลายเป็นเมืองหลักของอำเภอที่มีชื่อปัจจุบัน ตลอดสมัยอิสลาม ราชวงศ์มุสลิมที่ต้องการแย่งชิงอำนาจซีเรียมุ่งเป้าไปที่ฮอมส์ เนื่องจากเมืองนี้มีตำแหน่งที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ฮอมส์เริ่มเสื่อมถอยภายใต้จักรวรรดิออตโตมันและเมืองนี้กลับมามีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกครั้งเมื่ออุตสาหกรรมฝ้ายของเมืองเฟื่องฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยอาณัติฝรั่งเศส เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางของการก่อกบฏ และหลังได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1946 ก็กลายเป็นศูนย์กลางฝ่ายต่อต้านพรรคบะอัษต่อรัฐบาลซีเรียชุดแรก

ศัพทมูลวิทยา

ชื่อนครสมัยใหม่เป็นรูปภาษาอาหรับของชื่อในภาษาละตินว่า Emesus ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Émesa หรือ Émesos[9] หรือ Hémesa[10]

ข้อมูลส่วนใหญ่อ้างว่าชื่อ Emesa มาจากชื่อชาวอาหรับร่อนเร่ที่รู้จักกันใในภาษากรีกว่า Emesenoi ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อนหน้าอิทธิพลโรมัน[11][12][13] พลเมืองอาหรับซึ่งหลายคนเข้าตั้งถิ่นฐานก่อนการพิชิตซีเรียของมุสลิม ย่อชื่อ Émesa เป็น Homs หรือ Hims [14][15]

ข้อมูลอีกส่วนอ้างว่าชื่อ Émesa หรือ Hémesa มาจากเมืองแอราเมอัน Hamath-zobah ซึ่งเป็นรูปประสมของ Hamath (ฮีบรู: חֲמָת, อักษรโรมัน: Ḥamāth; ซีรีแอก: ܚܡܬ, อักษรโรมัน: Ḥmṭ; "ป้อมปราการ") และ Sawbah (ฮีบรู: צובָא; ซีรีแอก: ܨܘܒܐ Ṣwba; "ความใกล้")[16][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ดังนั้น ชื่อเมืองมีความหมายว่า "ป้อมปราการล้อมรอบ" ซึ่งสื่อถึงป้อมปราการฮอมส์และที่ราบล้อมรอบ[17]

หลังจากนั้น นครนี้ได้รับการเรียกขานในภาษากรีกสมัยกลางเป็น Χέμψ (Khémps) และ "la Chamelle" (แปลตรงตัวว่า "อูฐเพศเมีย" ในภาษาฝรั่งเศส แต่ René Dussaud กล่าวถึงแนวโน้มว่าจะเป็นการบิดเบือนชื่อภาษาอาหรับ[18]) โดยนักรบครูเสด (เช่น William of Tyre, Historia, 7.12, 21.6) แม้ว่าพวกเขาไม่เคยปกครองนครนี้ก็ตาม[19][20]

ประวัติ

เมืองพี่น้อง

ฮอมส์เป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:

หมายเหตุ

  1. ความหมายคือเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ห่างไกลจากน้ำ ภัยพิบัติ และโรคระบาด[2]

อ้างอิง

  1. Al-Dbiyat 2013, p. 160
  2. Almaany Team. "معنى كلمة عَذية في معجم المعاني الجامع والمعجم الوسيط – معجم عربي عربي – صفحة 1". almaany.com. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.[ลิงก์เสีย]
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ World Population Review
  4. "Syrian Army quits Homs cutting Assad from coast". Reuters.
  5. "President al-Assad issues decrees on appointing new governors for eight Syrian provinces". Syrian Arab News Agency. 20 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2022.
  6. Vailhé, Siméon (1909). "Emesa". Catholic Encyclopedia. Robert Appleton Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2009. สืบค้นเมื่อ 26 February 2009.
  7. "Distance Between Main Syrian Cities". HomsOnline. 16 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2009. สืบค้นเมื่อ 26 February 2009.
  8. 2004 census.
  9. Room, 2006, p. 167.
  10. Raphael Patai (2015). The Jews of Hungary: History, Culture, Psychology. Wayne State University Press. p. 24. ISBN 9780814341926. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2019. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ball
  12. Kropp, Andreas J. M. (2013). Images and Monuments of Near Eastern Dynasts, 100 BC—AD 100. Oxford University Press. ISBN 9780199670727. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2023. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
  13. Michaela Konrad (2017). แปลโดย Mary Wong-Sommer. "The client kings of Emesa: a study of local identities in the Roman East". Syria. 94. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
  14. Dumper, 2007, p. 171.
  15. Gibbon and Ockley, 1870, p. 177.
  16. ܨܘܒܐ in English เก็บถาวร 23 กันยายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน glosbe.com.
  17. Khoury Issa Ahmed (1983). History of Homs – Chapter One, 2300 BCE – 622 AD (PDF) (ภาษาอาหรับ). Al-Sayih Library. p. 38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  18. René Dussaud (1927). Topographie historique de la Syrie antique et médiévale. Le terme « vulgo » indique que Camela est tiré du vocable arabe Ḥimṣ. La transcription de la gutturale initiale par c est fréquente, ainsi Calep (Gautier le chancelier, etc.) pour Ḥaleb. La vocalisation et l’addition de l ont été entraînées pour retrouver un mot considéré comme typique pour la région. [...] Peut-être cet l ne se prononçait-il pas primitivement ou très faiblement, et cela expliquerait sa présence dans le mot amiral, transcription d'amir.
  19. Grousset, René. Histoire des Croisades III. p. 18.
  20. Jackson, Peter (2007). The Seventh Crusade, 1244–1254: Sources and Documents. Ashgate Publishing. p. 83. ISBN 978-0-7546-5722-4.
  21. "Cidades Irmãs de Belo Horizonte". portalbelohorizonte.com.br (ภาษาโปรตุเกส). Belo Horizonte. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
  22. "Humus Kayseri". 2015-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-27.
  23. "پیمان خواهرخواندگی بین شهرهای حمص و یزد". پارسینه (ภาษาเปอร์เซีย). Parsine. 28 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia