อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค (เยอรมัน: Otto von Habsburg) พระนามเต็ม ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ อ็อทโท โรแบร์ท มารีอา อันโทน คาร์ล มัคส์ ไฮน์ริช ซิคส์ทุส ซาเวอร์ เฟลิคส์ เรนาทุส ลูทวิช กาเอทาน พีอุส อิกนาทซีอุส แห่งออสเตรีย มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรียและฮังการี (Franz Joseph Otto Robert Maria Anton Karl Max Heinrich Sixtus Xaver Felix Renatus Ludwig Gaetan Pius Ignatius von Österreich, Kronprinz von Österreich und Ungarn) ทรงเป็นประมุขแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรีย ฮังการี เช็กเกีย โครเอเชีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย-ฮังการี กับจักรพรรดินีซีตา พระองค์ทรงเป็นอดีตสมาชิกรัฐสภายุโรป สมาคมคริสเตียนแห่งบาวาเรีย พระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์![]() อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 และจักรพรรดินีซีตา (นามเดิม: เจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บง-ปาร์มา) พระราชสมภพเมื่อ 20 พฤศจิกายน 1912 ณ วิลล่าวอร์ทอลล์ซ ในไรเชอเนา จักรวรรดิออสเตรีย พระองค์ทรงเข้าพิธีจุ่มศีลเมื่อ 25 พฤศจิกายน โดยพระคาร์ดินัลอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา บิดาทูนหัวคือพระอัยกาของพระองค์ จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย (แทนพระองค์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์) ส่วนมารดาทูนหัวคือ พระอัยกีของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1916 พระอัยกาของพระองค์เสด็จสวรรคต ทำให้พระบิดาของพระองค์ทรงเถลิงวัลย์ราชสมบัติเป็นจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 ทำให้พระองค์ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี แต่เมื่อปี 1918 ซึ่งเป็นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชวงศ์ถูกล้มล้าง ทำให้เกิดสาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการีขึ้น ทำให้ราชวงศ์จำต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน แต่เมื่อประเทศฮังการีได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่มีราชวงศ์มาเป็นองค์พระประมุข ทำให้มิกโลช โฮร์ตี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนจนถึงปี 1944 ทำให้ฮังการีเป็นราชอาณาจักรโดยปราศจากพระมหากษัตริย์ ช่วงเวลาการลี้ภัยราชวงศ์ได้ใช้เวลาของการลี้ภัยที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเกาะมาไดร่าของประเทศโปรตุเกสซึ่งเกาะนี้เป็นสถานที่ที่จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 พระบิดาเสด็จสรรคตกระทันหันเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1922 ทำให้พระองค์ทรงต้องสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุแค่ 10 พรรษาเท่านั้น ในขณะนั้นทางรัฐบาลออสเตรียได้ประกาศขับไล่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและทำการยึดทรัพย์สินของราชวงศ์มาเป็นสมบัติของชาติ โดยเรียกเหตุการณ์นั้นว่า ฮับส์บูร์เกอร์เกเซตซ์ (Habsburgergesetz) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 1919 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกลอยเวน ประเทศเบลเยี่ยม โดยพระองค์ทรงศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ ช่วงเวลาการต่อต้านนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา หลังจากทรงลี้ภัยจากประเทศเบลเยี่ยมและประเทศฝรั่งเศสกับพระราชมารดา และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ โดยที่พระญาติของพระองค์ เจ้าชายแมกซ์ ดยุกแห่งโฮเฮนเบอร์ก และเจ้าชายเออเนสต์แห่งโฮเฮนเบอร์กทรงถูกจับกุมในกรุงเวียนนา โดยคณะรัฐประหารและถูกนำไปที่ศูนย์บัญชาการจนถึงสงครามสิ้นสุดลง ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆก็เสด็จลี้ภัย หวังจะพึ่งพาประเทศพันธมิตรเช่น เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส แต่เมื่อฝรั่งเศสถูกคุกคาม ราชวงศ์ก็เป็นอันต้องลี้ภัยไปยังประเทศโปรตุเกส โดยมีอริสติเดส เด ซลซา เมนเดส หนึ่งในคณะทูตของโปรตุเกสประจำเมืองบอร์ดูกซ์ ให้การช่วยเหลือ ในความเป็นผู้รักชาติอย่างแรงกล้าของพระองค์ พระองค์ทรงต่อต้านและขับไล่ทหารนาซีอย่างรุนแรงเมือ่ปีพ.ศ. 2481 หลังจากสงคราม พระองค์ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน แนวโน้มการหวนคืนครองบัลลังก์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2017 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการี ขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์ให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 89 Years are enough for the Republic: 89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่ออ็อทโท ฟ็อน ฮับสบูร์ก เสด็จสวรรคตไปแล้วในปี 2011 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย การอภิเษกสมรสอ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์คทรงสมรสกับ เจ้าหญิงเรกีนาแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวม 7 พระองค์ และยังมีพระราชนัดดารวมทั้งหมด 23 พระองค์
สวรรคตภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงเรกีนาแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน พระวรชายาในปี 2010 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็ทรงหยุดการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ ซึ่งพระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุ 98 พรรษา ในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2011 ณ บ้านพักส่วนพระองค์ในพ็อกกิง เยอรมนี ทั้งนี้โฆษกส่วนพระองค์ยังกล่าวด้วยว่าพระองค์สวรรคต "อย่างสงบและไร้ซึ่งความเจ็บปวดขณะบรรทม" โดยพระองค์มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระอนุชาเฟลิกซ์, พระโอรสธิดาอีก 7 พระองค์, พระนัดดาอีก 22 พระองค์ และพระปนัดดาอีก 2 พระองค์[1] ท่ามกลางคำไว้อาลัยจากทั่วทั้งยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย, ไฮน์ซ ฟิสเชอร์ ได้ขนานนามพระองค์ว่าเป็น "ประชาชนผู้ภักดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย" ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์คทุกพระองค์ถูกห้ามเข้าประเทศ จนกระทั่งพระองค์ทรงแถลงสละตำแหน่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี พระราชวงศ์ทุกพระองค์จึงสามารถเสด็จเข้าออกประเทศอีกครั้ง ทั้งนี้นายฟิสเชอร์ยังได้กล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ของพระองค์กับรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม "ได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นในช่วงทศวรรษหลังที่ผ่านมา"[1] ราชตระกูล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค
|
Portal di Ensiklopedia Dunia