อีกา
อีกา[2] หรือ กา[3] (อังกฤษ: jungle crow, large-billed crow, thick-billed crow, ชื่อวิทยาศาสตร์: Corvus macrorhynchos แปลว่านกกาที่มีปากใหญ่) เป็นนกกาที่กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย ปรับตัวได้เก่ง สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัตว์รังควานโดยเฉพาะในเกาะต่าง ๆ มีปากใหญ่ ทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า macrorhynchos ซึ่งเป็นคำกรีกโบราณแปลว่า ปากใหญ่ และมีชื่ออังกฤษว่า large-billed crow (นกกาปากใหญ่) หรือ thick-billed crow (นกกาปากหนา) บางครั้งมองผิดว่าเป็น นกเรเวน นกมีพันธุ์ย่อยถึง 11 ชนิด ที่แตกต่างกันทางเสียงร้อง ทางสัณฐาน และทางพันธุกรรม ทำให้มีแนวคิดว่า จริง ๆ อาจจะเป็นนกหลายพันธุ์[4][5] พันธุ์ตัวอย่างเช่น
ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[6] ลักษณะกาโดยทั่วไปยาวประมาณ 46-59 ซม. แต่จะมีความต่าง ๆ กันตามภูมิภาค เช่นในสุดทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น ที่เกาะคูริลและคาบสมุทรซาฮาลิน จะค่อนข้างใหญ่กว่านกกากินซาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Corvus corone) ในขณะที่ชนิดย่อยในประเทศอินเดียในเขตสุดตะวันตกเฉียงใต้ที่มันอยู่ จะเล็กกว่านั้นพอสมควร นกทุก ๆ พันธุ์ย่อยมีปากยาว โดยปากด้านบนจะหนาและโค้ง ดูใหญ่และทำให้ดูเหมือนนกเรเวน โดยทั่วไปแล้ว นกทุก ๆ พันธุ์จะมีขนดำออกเทา ๆ ที่ด้านหลังของหัว คอ ไหล่ และด้านล่างของตัว ส่วนปีก หาง หน้า และคอจะเป็นสีดำเงา ส่วนที่ออกเทา ๆ จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เช่นในพันธุ์อินเดียจะเกือบดำสนิท การกระจายพันธุ์และที่อยู่เขตที่อยู่ของนกกากว้างขวาง เริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย ไปจนถึงประเทศอัฟกานิสถานและอิหร่านตะวันออกซึ่งเป็นสุดเขตทางตะวันตก ไปจนถึงเอเชียใต้ เอเชียอาคเนย์ ประเทศไทยกับกัมพูชา และหมู่เกาะซุนดาน้อย ซึ่งเป็นเขตสุดทางตะวันออกเฉียงใต้ นกอยู่ทั้งในป่า อุทยาน สวน และเขตเกษตรกรรมที่มีต้นไม้ แต่ในทางทิศใต้ที่ไม่มีนกเรเวนและนกกาอื่น ๆ เป็นคู่แข่ง จะอยู่ในเขตที่โล่ง ๆ กว่าเมื่อเทียบกับทางทิศเหนือ พฤติกรรมอาหารนกกินอะไรได้ง่ายมาก จะหาอาหารทั้งจากที่พื้นและจากต้นไม้ จะพยายามกินทุก ๆ อย่างที่ดูน่าจะกินได้ ตายแล้วหรือยังมีชีวิตก็ดี เป็นพืชหรือสัตว์ก็ดี เป็นพันธุ์นกที่ดื้อและกล้ามาก โดยเฉพาะในเขตเมือง ในประเทศญี่ปุ่น นกจัดว่าเป็นสัตว์รังควาน เนื่องจากจะจิกเปิดถุงขยะ หรือขโมยไม้ลวดแขวนเสื้อผ้าเพื่อทำรัง ในประเทศศรีลังกา นักวิชาการพบว่า นกเป็นสัตว์ล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นตัวสำคัญด้วยซ้ำ ของสัตว์เล็ก ๆ เช่น นกจะชำนาญจับพวกกิ้งก่า คือใช้เวลาเพียงแค่ 45 นาทีเพื่อหา จับ และกินกิ้งก่าประจำถิ่นพันธุ์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติ[7] ส่วนพฤติกรรมการเก็บตุนอาหาร จะพบในนกพันธุ์ย่อย culminatus[8][9] การสืบพันธุ์รังนกสร้างด้วยกิ่งไม้ซี่เล็ก ๆ ตรงง่ามกิ่งไม้ทำเป็นหลุมตื้น ๆ ปกติบนต้นไม้สูงโดยเฉพาะพวกไม้สนสูง ๆ บางครั้งก็ทำเรียบร้อยดี บ้างครั้งก็ไม่ค่อยเรียบร้อยกะรุ่งกะริ่ง และจะปูด้วยรากหญ้า ขนสัตว์ ผ้าขี้ริ้ว ใยพืช และวัสดุที่คล้ายกันอื่น ๆ แต่ก็พบรังนกที่สร้างด้วยเส้นลวดโลหะล้วน จะวางไข่ปกติ 3-5 ฟองและฟักอยู่ 17-19 วัน ลูกนกจะหัดบินโดยปกติภายใน 35 วัน ในประเทศอินเดีย อีกาพันธุ์ต่าง ๆ จะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษจิกายน แต่ในที่ราบต่ำ จะมีนกที่ผสมพันธุ์เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม[10] ไข่แต่ละรังปกติจะมีเพียงแค่ 4-5 ฟอง น้อยครั้งที่จะมีถึง 6-7 ฟอง มีรูปวงรีกว้าง ค่อนข้างจะแหลมที่ปลายข้างหนึ่ง ผิวจะแข็งและละเอียดออกมันหน่อย ๆ พื้นสีจะออกน้ำเงินเขียวด่าง ๆ มีจุดและลายเป็นสีแดงน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน ๆ สีเทา และสีจางค่อนข้างจืดชืดอื่น ๆ ขนาดเฉลี่ยประมาณ 3.19 x 2.32 ซม.[10] อาจจะเป็นสัตว์ถูกเบียนคือถูกไข่ให้เลี้ยงโดยนกกาเหว่า[11] การนอนพักนกจะเกาะกิ่งนอนรวมกันเป็นกลุ่มบางครั้งเป็นพัน ๆ ตัว ซึ่งอาจจะเห็นได้ในเวลาช่วงเย็นเกาะกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่ และไม่ปรากฏว่าลดจำนวนแม้ในฤดูผสมพันธุ์ เพราะว่า จะยังไม่ผสมพันธุ์ในช่วงปีแรกหลังเกิด[10] แม้ว่าในเวลากลางวัน นกที่เป็นคู่อาจจะป้องกันอาณาเขตของตน แต่เวลากลางคืนจะนอนพักรวมกับตัวอื่นเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ นกจัดชั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องตามลำดับ (linear dominance hierarchies) ที่แต่ละตัวจะรู้จำกันได้เอง[12] เสียงร้องเสียงร้องจะคล้ายกับอีแกที่เป็นนกพันธุ์ใกล้ชิดที่สุด แต่จะทุ้มและก้องกว่า ดังกา ๆ แต่ว่า ก็มีเสียงร้องอื่น ๆ ด้วย บางอย่างฟังดูเหมือนเสียงนกหัวขวานเคาะต้นไม้ ปัจจัยการตายมีสัตว์ล่าอีกาไม่กี่อย่าง แต่ก็ยังถูกเบียนโดยพยาธิตัวกลมใน superfamily "Filarioidea" [13] ในประเทศญี่ปุ่น ยังพบพร้อมไข้หวัดนกประเภท H5N1 ที่ทำให้ถึงตายอีกด้วย[14] นอกจากนั้นแล้ว การติดเชื้อ Clostridium และลำไส้เล็กอักเสบ (enteritis) ก็ยังทำให้นกตายเกลื่อนเป็นบางครั้ง[15] เชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Corvus macrorhynchos ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Corvus macrorhynchos ที่วิกิสปีชีส์
|
Portal di Ensiklopedia Dunia