อำเภอสันติสุข
สันติสุข (ไทยถิ่นเหนือ: ![]() ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอสันติสุขมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
![]() ประวัติท้องที่อำเภอสันติสุขรู้จักกันในชื่อเดิมว่า "เมืองพงษ์" เดิมชื่อเมืองพงษ์ สมัยนั้นมีเชื้อสายเผ่าพันธุ์ได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางประเทศลาว มาตั้งฐานบ้านเรือนอยู่พื้นที่แห่งสุดท้ายได้แก่บ้านดู่พงษ์-บ้านดอนพงษ์ เมื่ออยู่มานานหลาบปีหลายสมัย ปัญหาเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่นปีศาจออกอาละวาดทำให้ชาวบ้านเจ็บไข้ได้ป่วยสงบลงไป วัวป่าตัวดุร้ายกลายเป็นวัวโพง มาอาละวาดกินสัตว์กินคน วัวตัวดังกล่าวก็ตายสงบไป เสือโคร่งตัวหนึ่งดุร้ายออกอาละวาดกินคน เสือตัวดังกล่าวก็ตายสงบไป เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างสงบไปหมดแล้ว ชาวบ้านบางครอบครัวก็แยกย้ายออกจากบ้านดู่พงษ์ไปทำไร่ข้าวอยู่เป็นประจำที่ห้วยกิ่งม่วง ห้วยเก๊าตู้ม ห้วยแฮ้ว ห้วยผึ้ง บางครอบครัวก็แยกย้ายไปอยู่ที่บ้านน้ำโซ้ง พวงพอยม บ้านโป่งคำ ต้นผึ้ง เพราะฉะนั้นจึงมีสำเนียงพูดภาษาลาว เหมือนชาวบ้านดู่พงษ์-ดอนพงษ์ คำว่า ดู่ ได้ชื่อมาจากต้นประดู่ใหญ่อยู่ตรงกลางพื้นที่ที่จะตั้งหมู่บ้านดู่พงษ์ ก่อนจะตั้งเป็นหมู่บ้านชาวบ้านได้ชวยกันตัดโค่นล้มต้นประดู่ใหญ่ดังกล่าวสร้างศาลเจ้าขึ้น 1 หลัง สร้างตรงโคนตอไม้ประดู่ใหญ่ให้ตอไม้ประดู่อยู่ด้านล่างใต้ถุนศาลเจ้านั้น เป็นศาลเจ้าหลวงพ่อฟ้า มาจนปัจจุบัน (ศาลเจ้าพ่อฟ้า) ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลดู่พงษ์ คำว่าพงษ์ ได้ชื่อมาจากวัวป่าตัวดุร้ายกลายเป็นวัวโพง ที่มาจากป่าเขตเมืองอุตรดิตถ์ มาถึงเมืองแล้วมาตายที่เมือง ชาวบ้านสมัยนั้นตั้งชื่อเมืองของเราว่า เมืองโพง ต่อมาเปลี่ยนคำว่าโพง เป็นพงษ์ เพราะฉะนั้นเมืองนี้ก็มีชื่อว่าเมืองพงษ์ หมู่บ้านดู่ก็มีชื่อว่า บ้านดู่พงษ์ ตำบลก็มีชื่อว่าตำบลดู่พงษ์ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอเมืองน่าน[1] ในปี พ.ศ. 2483 ได้ยุบตำบลพงษ์รวมกับท้องที่ตำบลดู่พงษ์ ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ได้แยกพื้นที่หมู่ 7–10 (ในขณะนั้น) ออกมาจากการปกครองของตำบลดู่พงษ์ ตั้งขึ้นเป็นตำบลพงษ์[2] อีกครั้ง ขึ้นอำเภอเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2520 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลดู่พงษ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรในตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอเมืองน่าน รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น ซึ่งต่อมาได้ตั้งตำบลป่าแลวหลวงขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521 โดยแยกหมู่ 4–6, 8, 10 และหมู่ 12 (ในขณะนั้น) ออกมาจากการปกครองของตำบลดู่พงษ์[3] เพื่อเตรียมจัดตั้งกิ่งอำเภอ และเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 จึงประกาศให้แยกท้องที่ตำบลป่าแลวหลวง และตำบลดู่พงษ์ ของอำเภอเมืองน่าน ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสันติสุข[4][5] โดยให้มีผลภายในวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน ขณะจัดตั้งกิ่งอำเภอได้เพียง1 ปี เขตตำบลพงษ์ ของอำเภอแม่จริมได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลพงษ์ ไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอแม่จริม แต่ยังมีพื้นที่ 2 หมู่บ้านที่ยังสะดวกในการติดต่อราชการกับอำเภอแม่จริม ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2525 จึงแยกพื้นที่ 2 หมู่บ้านของตำบลพงษ์ ได้แก่ หมู่ 4 บ้านตอง และหมู่ 9 บ้านนาหมัน (ในขณะนั้น) รวมกับพื้นที่อีก 3 หมู่บ้านในเขตตำบลหนองแดง ตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่จริม[6] เพื่อให้ 2 หมู่บ้านนั้นได้ขึ้นอำเภอสังกัดเดิม ปีถัดมาในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2526 ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลพงษ์ (ส่วนที่เหลือจากการแยกตำบลแม่จริม) ของอำเภอแม่จริม เข้ามาสมทบในการปกครองของทางกิ่งอำเภอ[7] โดยให้มีผลภายในวันที่ 21 เมษายน ปีเดียวกัน และเมื่อถึงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จึงยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสันติสุข[8] จนถึงปัจจุบัน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอสันติสุขแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอสันติสุขประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia