อำเภอคำเขื่อนแก้ว |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Kham Khuean Kaeo |
---|
พระธาตุกู่จาน สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือพร้อมกับพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม |
คำขวัญ: เมืองโบราณ ธารสองสาย ไก่รสเด็ด เมล็ดข้าวหอม |
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอคำเขื่อนแก้ว |
พิกัด: 15°39′11″N 104°18′32″E / 15.65306°N 104.30889°E / 15.65306; 104.30889 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ยโสธร |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 538.25 ตร.กม. (207.82 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 65,703 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 122.07 คน/ตร.กม. (316.2 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 35110, 35180 (เฉพาะตำบลแคนน้อย ดงแคนใหญ่ นาแก และนาคำ) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3504 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ถนนแจ้งสนิท) ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110 |
---|
|
คำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอคำเขื่อนแก้วมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ บ้านลุมพุก เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองลุมพุกใกล้กับวัดบูรพาราม ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ได้รวมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบ้านลุมพุกจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) เป็นนายอำเภอคนแรก
ในปี พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสว่า นามอำเภอในมณฑลอุบลซึ่งเรียกใช้ในราชการอยู่เวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอเหล่านี้ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ซึ่งนำชื่อของเมืองคำเขื่อนแก้วเดิม อยู่ในฐานะการปกครองของเมืองเขมราฐมาตั้งเป็นนามอำเภอ)
- วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุไทยยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอลุมพุก[2]
- วันที่ 7 กันยายน 2467 โอนพื้นที่ตำบลหนองหิน อำเภอลุมพุก ไปขึ้นกับอำเภอยโสธร[3]
- วันที่ 6 ธันวาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 1,3 และ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลย่อ และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลกระจาย อำเภอลุมพุก ไปขึ้นกับตำบลตาดทอง อำเภอยโสธร[4]
- วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพนทัน ไปขึ้นกับตำบลสงเปือย[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโพนทัน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลลุมพุก ตั้งตำบลทุ่งมน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลกู่จาน ตั้งตำบลนาคำ แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่ และตำบลกู่จาน[6]
- วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[7]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลลุมพุก[8]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโคกนาโก แยกออกจากตำบลโพธิ์ไทร[9]
- วันที่ 1 กันยายน 2509 แยกพื้นที่ตำบลโพธิ์ไทร ตำบลโคกนาโก และตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอป่าติ้ว[10] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- วันที่ 26 ธันวาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลป่าติ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพธิ์ไทร[11]
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็น อำเภอป่าติ้ว[12]
- วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2515 แยกพื้นที่อำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดยโสธร[13]
- วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งตำบลทุ่งมน ตำบลกู่จาน และตำบลดงแคนใหญ่ เป็นสภาตำบลทุ่งมน สภาตำบลกู่จาน และสภาตำบลดงแคนใหญ่[14] ตามลำดับ
- วันที่ 24 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนาแก แยกออกจากตำบลนาคำ ตั้งตำบลกุดกุง แยกออกจากตำบลสงเปือย[15]
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลเหล่าไฮ แยกออกจากตำบลกู่จาน[16]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแคนน้อย แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่[17]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลดงเจริญ แยกออกจากตำบลโพนทัน[18]
- วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลลุมพุก (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว) สภาตำบลนาแก สภาตำบลทุ่งมน สภาตำบลย่อ สภาตำบลกุดกุง สภาตำบลสงเปือย สภาตำบลดงแคนใหญ่ สภาตำบลเหล่าไฮ สภาตำบลแคนน้อย และสภาตำบลกู่จาน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย องค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน[19]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลโพนทัน สภาตำบลดงเจริญ และสภาตำบลนาคำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ[20]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว เป็น เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว[21] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ เป็น เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่[22]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอคำเขื่อนแก้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
|
ลุมพุก
|
|
|
(Lumphuk)
|
|
|
15 หมู่บ้าน
|
|
2.
|
ย่อ
|
|
|
(Yo)
|
|
|
11 หมู่บ้าน
|
|
3.
|
สงเปือย
|
|
|
(Song Pueai)
|
|
|
09 หมู่บ้าน
|
|
4.
|
โพนทัน
|
|
|
(Phon Than)
|
|
|
05 หมู่บ้าน
|
|
5.
|
ทุ่งมน
|
|
|
(Thung Mon)
|
|
|
09 หมู่บ้าน
|
|
6.
|
นาคำ
|
|
|
(Na Kham)
|
|
|
06 หมู่บ้าน
|
|
7.
|
ดงแคนใหญ่
|
|
|
(Dong Khaen Yai)
|
|
|
13 หมู่บ้าน
|
|
8.
|
กู่จาน
|
|
|
(Ku Chan)
|
|
|
12 หมู่บ้าน
|
|
9.
|
นาแก
|
|
|
(Na Kae)
|
|
|
08 หมู่บ้าน
|
|
10.
|
กุดกุง
|
|
|
(Kud Kung)
|
|
|
07 หมู่บ้าน
|
|
11.
|
เหล่าไฮ
|
|
|
(Lao Hai)
|
|
|
06 หมู่บ้าน
|
|
12.
|
แคนน้อย
|
|
|
(Khaen Noi)
|
|
|
07 หมู่บ้าน
|
|
13.
|
ดงเจริญ
|
|
|
(Dong Charoen)
|
|
|
07 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงแคนใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก เฉพาะหมู่ที่ 3–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนทันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่จานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดกุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าไฮทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเจริญทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|